พันธบัตรออมทรัพย์พิเศษรุ่นเราชนะ เปิดเสนอขายแล้ววันนี้!!
พันธบัตรออมทรัพย์พิเศษรุ่นเราชนะ...
- ช่วงที่ 1 เสนอขาย 5-15 ก.พ. 64 (หรือจนกว่าจะเต็มวงเงินจัดจำหน่าย) ผ่านโมบายแบงก์กิ้ง จากธนาคารกรุงเทพ บัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง และธนาคารกรุงเทพทุกสาขา
- ช่วงที่ 2 เสนอขาย 16-19 ก.พ. 64 (หรือจนกว่าจะเต็มวงเงินจัดจำหน่าย) ที่ธนาคารกรุงเทพทุกสาขา
พันธบัตรออมทรัพย์รุ่นนี้เป็นแบบไร้ใบตราสาร ผู้ซื้อจะต้องลงทะเบียนก่อนการซื้อ ซึ่งธนาคารกรุงเทพเปิดให้ผู้สนใจลงทะเบียนเพื่อขอมีเลขที่ผู้ถือพันธบัตรได้ที่ธนาคารกรุงเทพทุกสาขา สำหรับลูกค้าที่เคยลงทะเบียนเพื่อซื้อพันธบัตรออมทรัพย์ของกระทรวงการคลัง แบบไร้ใบตราสาร กับธนาคารกรุงเทพไว้แล้ว ไม่ต้องลงทะเบียนใหม่ สามารถใช้เลขที่ผู้ถือพันธบัตรเดิมซื้อพันธบัตรรุ่นนี้ได้
สรุปสาระสำคัญจาก
หนังสือชี้ชวน การลงทะเบียนและการฝากหลักทรัพย์ผู้จองซื้อพันธบัตรออมทรัพย์แบบไร้ใบตราสาร (Scripless) รายใหม่ที่ไม่เคยลงทะเบียนและเปิดบัญชีฝากหลักทรัพย์มาก่อน ผู้จองซื้อสามารถลงทะเบียนได้ทุกวันทำการที่ธนาคารกรุงเทพทุกสาขา เพื่อฝากพันธบัตรไว้กับธนาคารกรุงเทพ โดยธนาคารกรุงเทพจะนำฝากพันธบัตรของผู้ถือกรรมสิทธิ์ภายใต้บัญชีฝากหลักทรัพย์ของธนาคารเพื่อลูกค้า ที่บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด ทั้งนี้ ชื่อเจ้าของพันธบัตรที่ลงทะเบียนจะต้องตรงกันกับชื่อเจ้าของบัญชีเงินฝากเพื่อรับโอนดอกเบี้ยและเงินต้น ใช้หลักฐานดังนี้
- บัตรประจำตัวประชาชนตัวจริง (กรณีบุคคลธรรมดา) หรือเอกสารหลักฐานการแสดงตนที่ออกโดยหน่วยงานราชการ (กรณีนิติบุคคล) และสำเนาเอกสารดังกล่าว พร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง
- สมุดบัญชีเงินฝาก (ยกเว้น บัญชีเงินฝากออมทรัพย์พิเศษ และบัญชีเงินฝากประจำ) เพื่อรับเงินค่าดอกเบี้ยและเงินต้นพันธบัตรของผู้ซื้อที่เปิดบัญชีไว้กับธนาคารกรุงเทพ พร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง ในกรณีที่ไม่มีบัญชีเงินฝาก ผู้ซื้อต้องเปิดบัญชีใหม่
กรณีผู้ซื้อประสงค์ซื้อพันธบัตรผ่านโมบายแบงก์กิ้ง จากธนาคารกรุงเทพ
ผู้ซื้อจะต้องลงทะเบียนเพื่อขอมีเลขที่ผู้ถือพันธบัตรที่สาขาธนาคารกรุงเทพ และสมัครใช้โมบายแบงก์กิ้ง จากธนาคารกรุงเทพก่อน แล้วจึง Log on เข้าสู่โมบายแบงก์กิ้ง จากธนาคารกรุงเทพ เพื่อผูกบัญชีพันธบัตร จากนั้นจึงจะสามารถใช้บริการจองซื้อพันธบัตรผ่านโมบายแบงก์กิ้ง จากธนาคารกรุงเทพ ด้วยตนเอง
กรณีผู้ซื้อประสงค์ซื้อพันธบัตรผ่านบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง
ผู้ซื้อจะต้องลงทะเบียนเพื่อขอมีเลขที่ผู้ถือพันธบัตรที่สาขาธนาคารกรุงเทพ และสมัครใช้บัวหลวง ไอแบงก์กิ้งก่อน แล้วจึง Log on เข้าสู่บัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง ทางเว็บไซต์ธนาคารกรุงเทพ เพื่อสมัครใช้บริการจองซื้อพันธบัตรผ่านบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง ด้วยตนเอง
การจัดจำหน่าย
จำหน่ายผ่านเคาน์เตอร์ธนาคารกรุงเทพทุกสาขา โมบายแบงก์กิ้ง จากธนาคารกรุงเทพ และบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง ตั้งแต่เวลา 8.30 น. ของวันที่ 5 ก.พ. 64 จนถึงเวลา 15.00 น. ของวันที่ 19 ก.พ. 64 (หรือจนกว่าจะเต็มวงเงินจัดจำหน่าย)
วันที่ลงในพันธบัตร (วันที่เริ่มคิดดอกเบี้ย)กรณีซื้อผ่านเคาน์เตอร์สาขา - กรณีชำระเงินด้วยเงินสดหรือหักบัญชีเงินฝาก เริ่มคิดดอกเบี้ย ณ วันที่ซื้อพันธบัตร ยกเว้นกรณีที่ชำระหลังเวลา 15.00 น. ของวันทำการ หรือซื้อในวันเสาร์-อาทิตย์ หรือวันหยุดทำการของธนาคาร ดอกเบี้ยจะเริ่มนับในวันทำการถัดไป
- กรณีชำระด้วยเช็ค ดอกเบี้ยจะเริ่มนับในวันทำการที่ทราบผลว่าเช็คสามารถเรียกเก็บได้
กรณีซื้อผ่านโมบายแบงก์กิ้ง จากธนาคารกรุงเทพ / บัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง
เริ่มคิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ทำธุรกรรม ยกเว้นกรณีซื้อหลังเวลา 15.00 น. ของวันทำการ หรือซื้อในวันเสาร์-อาทิตย์ หรือวันหยุดทำการของธนาคาร ดอกเบี้ยจะเริ่มนับตั้งแต่วันทำการถัดไป ทั้งนี้ วงเงินซื้อสูงสุดผ่านโมบายแบงก์กิ้ง จากธนาคารกรุงเทพ และบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง จะต้องไม่เกินยอดเงินคงเหลือในบัญชีเงินฝากและไม่เกินวงเงินซื้อขั้นสูงที่กระทรวงการคลังกำหนด
*ผู้ซื้อที่ได้ดำเนินการซื้อพันธบัตรดังกล่าวข้างต้นแล้ว จะยกเลิกการซื้อและขอเงินคืนไม่ได้
การชำระเงินกรณีซื้อผ่านเคาน์เตอร์สาขา - ชำระด้วยเงินสดหรือหักบัญชีเงินฝาก
- ชำระด้วยเช็ค
- สั่งจ่าย
"บัญชีจองซื้อพันธบัตรออมทรัพย์พิเศษของกระทรวงการคลัง รุ่นอายุ 5 ปี"
"บัญชีจองซื้อพันธบัตรออมทรัพย์พิเศษของกระทรวงการคลัง รุ่นอายุ 10 ปี"
"บัญชีจองซื้อพันธบัตรออมทรัพย์พิเศษของกระทรวงการคลัง รุ่นอายุ 15 ปี"
- ลงวันที่ไม่เกินวันที่ซื้อ (วันที่ 12-15 และ 19 ก.พ. 64 ไม่รับชำระด้วยเช็ค)
- เรียกเก็บได้ในสำนักหักบัญชีเดียวกับสาขาที่รับชำระเงินค่าพันธบัตร
กรณีซื้อผ่านโมบายแบงก์กิ้ง จากธนาคารกรุงเทพ / บัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง
ธนาคารจะหักเงินจากบัญชีผู้มีสิทธิ์ซื้อทันทีเมื่อสิ้นสุดการทำรายการ โดยผู้มีสิทธิ์ซื้อสามารถเรียกดูประวัติการทำรายการเพื่อใช้เป็นหลักฐานยืนยันการซื้อพันธบัตร
หลักฐานที่ได้รับจากการซื้อพันธบัตรสมุดพันธบัตรรัฐบาลที่แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับพันธบัตร โดยมีข้อกำหนดและเงื่อนไขดังนี้
- ผู้ถือกรรมสิทธิ์สามารถนำไปใช้อ้างอิงสำหรับการทำธุรกรรมได้
- ผู้ถือกรรมสิทธิ์สามารถนำสมุดพันธบัตรไปปรับปรุงให้เป็นปัจจุบันได้หลังวันทำรายการซื้อ 2 วันทำการ (กรณีชำระด้วยเงินสดหรือหักบัญชีเงินฝาก ภายในเวลา 15.00 น. ของวันทำการ) ผ่านสาขา และเครื่องปรับสมุดของธนาคารกรุงเทพ ทั้งนี้ เว้นแต่กรณีมีเหตุสุดวิสัย
- รายการที่ปรากฏอยู่ในสมุดพันธบัตร เป็นรายการที่แสดงมูลค่าตามราคาตราในวันที่จดทะเบียน และ/หรือมูลค่าตามราคาตลาดของธนาคารกรุงเทพในวันทำรายการ
- รายการที่ปรากฏในสมุดพันธบัตร จะถือว่าถูกต้องเมื่อรายการดังกล่าวตรงกันกับรายการที่บันทึกไว้ที่ธนาคารกรุงเทพ
- รายการที่อยู่ในสมุดพันธบัตร จะปรากฏเฉพาะพันธบัตรที่เป็นรุ่นไร้ใบตราสาร ที่ซื้อผ่านธนาคารกรุงเทพ
ทั้งนี้ ผู้ซื้อที่เคยซื้อพันธบัตรออมทรัพย์ของกระทรวงการคลัง แบบไร้ใบตราสาร และเคยได้รับสมุดพันธบัตรรัฐบาลจากธนาคารกรุงเทพแล้ว สามารถใช้สมุดพันธบัตรเล่มเดิมเพื่อซื้อพันธบัตรออมทรัพย์พิเศษรุ่นเราชนะ ของกระทรวงการคลัง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ได้
วิธีจัดสรร
ผู้จองซื้อที่มี "คำเสนอขอซื้อพันธบัตร" ณ สาขาธนาคารกรุงเทพ หรือทำรายการซื้อผ่านโมบายแบงก์กิ้ง จากธนาคารกรุงเทพ หรือบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง และชำระเงินสมบูรณ์ก่อน จะได้รับการจัดสรรก่อน
ธุรกรรมหลังการซื้อพันธบัตรของผู้ถือกรรมสิทธิ์
การโอนกรรมสิทธิ์
พันธบัตรรุ่นอายุ 5 ปี และรุ่นอายุ 10 ปี ทำได้ตั้งแต่วันที่ 5 ส.ค. 64 เป็นต้นไป พันธบัตรรุ่นอายุ 15 ปี ทำได้ตั้งแต่วันที่ 16 ส.ค. 64 เป็นต้นไป ยกเว้น การโอนทางมรดก การแบ่งทรัพย์สินอันเนื่องมาจากการหย่า การล้มละลาย การชำระบัญชี การจำนำสิทธิในพันธบัตรเพื่อเป็นหลักประกัน ให้ทำได้หลังจากวันที่ทำรายการซื้อแล้ว 2 วันทำการ ทั้งนี้ การโอนกรรมสิทธิ์และการจำนำจะกระทำในระหว่างระยะเวลา 30 วันก่อนครบกำหนดชำระคืนต้นเงินมิได้ การโอนกรรมสิทธิ์พันธบัตรแบบไร้ใบตราสาร สามารถทำได้โดยอาจเป็นการโอนกรรมสิทธิ์ให้กับลูกค้ารายใหม่หรือลูกค้าเดิมภายในกลุ่มผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ซื้อผ่านธนาคารตัวแทนจำหน่ายเดียวกัน แต่ไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ระหว่างธนาคารตัวแทนจำหน่ายได้ โดยผู้ถือกรรมสิทธิ์จะต้องนำสมุดพันธบัตรไปติดต่อธนาคารตัวแทนจำหน่ายที่ได้ฝากพันธบัตรไว้
การใช้พันธบัตรเป็นหลักประกัน
ผู้ถือกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรสามารถใช้พันธบัตรเป็นหลักประกันให้กับหน่วยงานราชการและองค์กรของรัฐ เช่น การประกันทางศาล หรือการประกันไฟฟ้า และสามารถใช้พันธบัตรเป็นหลักประกันกับสถาบันการเงิน หรือบุคคลอื่นได้ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับระเบียบหลักเกณฑ์การรับหลักประกันของหน่วยงานหรือบุคคลนั้นๆ โดยจะต้องติดต่อธนาคารกรุงเทพ เพื่อขอถอนพันธบัตรจากระบบ Scripless
ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมภายหลังการซื้อพันธบัตรของผู้ซื้อกรรมสิทธิ์
ตรวจสอบได้ที่หนังสือชี้ชวนการจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์พิเศษรุ่นเราชนะ ของกระทรวงการคลัง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
ข้อกำหนดอื่นๆ - ธนาคารแห่งประเทศไทย ในฐานะนายทะเบียนพันธบัตร จะโอนดอกเบี้ยเข้าบัญชีเงินฝากสะสมทรัพย์หรือกระแสรายวันของผู้ถือพันธบัตรที่ฝากไว้กับธนาคารกรุงเทพตามที่แจ้งไว้ตอนลงทะเบียน
- หากวันจ่ายดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดธนาคาร จะชำระดอกเบี้ยในวันทำการถัดไป
- ธนาคารแห่งประเทศไทย จะหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ทุกครั้งที่มีการจ่ายดอกเบี้ย ตามอัตราที่ประกาศในประมวลรัษฎากร
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 1333