ประเมินวงเงินรู้ผลใน 3 นาที
กับ กรุงศรี ออโต้ พร้อมสตาร์ท

เริ่มประเมินวงเงินพร้อมสตาร์ท
ผ่านมือถือ สแกนเลย

ดูวงเงินพร้อมสตาร์ทที่ได้รับ

  • หุ้นตกเงินหมดหน้าตัก และวิกฤตตลาดหุ้นจะรับมืออย่างไรดี ?

    9 เม.ย. 63 7,351
    ในภาวะตลาดหุ้นช่วงต้นปี 2020 นักลงทุนต้องประสบพบเจอกับวิกฤต ที่แม้แต่อาจารย์ ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรกร ยังต้องบอกว่ามันคือ Perfect Strom โดยแท้ ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น?
    สาเหตุเป็นเพราะ เหตุการณ์สงครามการค้าที่กดดันตลาดมาตลอดทั้งปี 2019 เพิ่งจะสงบจบเฟสแรกได้ไม่นาน ก็มีเรื่องราวของ "โควิดไวรัส" เข้ามาแทรก และหลายคนดูเหมือนจะดูเบาเจ้าโรคร้ายนี้เกินไป พอมีเรื่องเข้ามาแทรกซ้อนอีกเรื่อง นั่นคือ "สงครามราคาน้ำมัน" ทำให้ตลาดหุ้นไทย รวมทั้งทั่วโลกถล่มลงมาอย่างรุนแรง และรวดเร็วอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน
    ด้วยเหตุการณ์ดังกล่าว ทำให้ตลาดหุ้นไทยต้องหยุดการซื้อขายชั่วคราว หรือ circuit breaker ถึงสองครั้งติดๆ กันในสองวัน และแม้แต่ตลาดหุ้นอเมริกา ยังต้องใช้ circuit breaker หยุดการซื้อขายชั่วคราว เพราะตลาดหุ้นตกลงมาอย่างหนัก
    สำหรับนักลงทุนรายย่อยอย่างพวกเรา เวลาหุ้นตกลงมาแรงๆ มักมีหุ้นที่พื้นฐานดีราคาถูก เทกระจาดออกมาเต็มไปหมด เวลามีหุ้นถูกๆ ลดราคาแบบนี้ เงินเรามักจะหมดหน้าตักพอดี แล้วเราจะรับมืออย่างไรในภาวะแบบนี้ ไปติดตามกันครับ

    ประการแรก ... "อยู่เฉย ๆ ไม่ต้องทำอะไร"

    สิ่งที่เรียกว่า สงบสยบความเคลื่อนไหว ใช้ได้ดีเสมอยามตลาดผันผวน ... หากตลาดตกลงมารุนแรงเท่าไหร่ ว่าที่จริงด้านตรงข้าม ก็คือ การเด้งขึ้นอย่างรุนแรง ก็จะตามมาเช่นกัน เหมือนอย่างที่เราเห็นในวันนี้ ทว่า ... ไม่มีใครรู้จริงว่ามันจะตกต่อไปอีก อาจจะต่ำกว่า 800 จุด หรือมันจะขึ้นทะยาน และมีพักเบรกบ้างเป็นพักๆ
    สำหรับนักลงทุนที่คิดว่าหุ้นในมือเป็นหุ้นคุณค่า เราเลือกมาอย่างดีแล้ว ผมเข้าใจว่า เราก็ไม่ต้องทำอะไรเลย อยู่เฉยๆ นิ่งให้เป็น เพราะหุ้นพื้นฐานดีจริงๆ ย่อมกลับมาได้ ถ้าเราทำการบ้านมาดีแล้ว สิ่งที่ถูกต้องย่อมเกิดขึ้นอย่างแน่นอน

    ประการที่สอง ... "ขายตัวที่ไม่มั่นใจ ไปซื้อตัวที่มั่นใจกว่า"

    วิธีการที่สองก็คือ การเปลี่ยนตัวหุ้น ยกตัวอย่างเช่น ถ้าผมมีหุ้นในพอร์ต 4 ตัว กระจายการลงทุนเท่ากันทุกตัว คือ ถือไว้ตัวละ 25% ของพอร์ต เมื่อตลาดหุ้นตกอย่างรุนแรง หุ้นแต่ละตัวย่อมตกลงมาไม่เท่ากัน
    วิธีการก็คือ หากเราคัดเลือกหุ้นด้วยปัจจัยเชิงคุณภาพ หุ้นทั้ง 4 ตัวเราย่อมรู้พื้นฐานเป็นอย่างดี ถ้าทั้ง 4 ตัวตกลงมาพร้อมๆ กัน ตัวละ 20-30% เป็นผมอาจจะเลือกขายตัวที่พื้นฐานแย่ที่สุด ย้ายไปเพิ่มน้ำหนักให้กับตัวที่พื้นฐานดีกว่า โดยสิ่งที่นำมาคิดพิจารณาก็คือ โอกาสในการเติบโต และหนี้สินต่อทุนควรจะต่ำ เพราะในยามวิกฤตกิจการที่มีหนี้สินต่ำ กระแสเงินสดสม่ำเสมอ จะอยู่รอดปลอดภัยกว่ากิจการที่มีหนี้เยอะอย่างไม่ต้องสงสัย
    เมื่อเศรษฐกิจหรือตลาดหุ้นกลับมาดี ผลของการเลือกหุ้นจะส่งผลออกมา หุ้นที่ดีจริงๆ จะกลับมาเร็วมาก ส่วนหุ้นคุณภาพต่ำจะกลับมาช้า หรือบางตัวอาจจะไม่กลับมาเลยก็ได้นะครับ

    ข้อสรุป และข้อคิดก็คือ ... ถ้าเรากระสุนหมด หรือหมดเงินที่จะซื้อหุ้นในยามที่ลดกระหน่ำแบบนี้แล้ว เราอาจจะเลือกที่จะอยู่เฉย ๆ ไม่ต้องทำอะไร รอตลาดกลับมาฟื้น หรือเปลี่ยนตัวหุ้น ขายตัวที่ไม่แน่ใจ ไปซื้อตัวที่มั่นใจ ผมเชื่อว่าทุกวิกฤต ย่อมเปิดโอกาสใหม่ ๆ ออกมาเสมอ อยู่ที่การกระทำของเราวันนี้แล้วว่าจะทำอย่างไร เพราะอย่างไรก็ตาม สำหรับนักลงทุนแนวเน้นคุณค่า เราเลือกหุ้นด้วยปัจจัยพื้นฐานกันตั้งแต่แรกอยู่แล้ว สิ่งนี้แหละที่จะเป็นเกราะคุ้มกันเราในยามวิกฤต เป็นกำลังใจให้ทุกท่านนะครับ
    สนับสนุนบทความโดย #นายแว่นลงทุน

    บทความเกี่ยวกับหุ้นอื่นๆ

เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)