ประเมินวงเงินรู้ผลใน 3 นาที
กับ กรุงศรี ออโต้ พร้อมสตาร์ท

เริ่มประเมินวงเงินพร้อมสตาร์ท
ผ่านมือถือ สแกนเลย

ดูวงเงินพร้อมสตาร์ทที่ได้รับ

  • อยากใช้เงินทำงานผ่านกองทุนรวม ต้องทำยังไง? ที่นี่มีคำตอบ!!

    20 เม.ย. 60 11,817

    อยากใช้เงินทำงานผ่านกองทุนรวม ต้องทำยังไง? ที่นี่มีคำตอบ!!

    ความมั่งคั่ง ร่ำรวย ที่หลายคนต้องการนั้น แน่นอนว่าไม่ได้มาจากแค่การทำงานประจำแล้วนั่งรอเงินเดือนทุกเดือนเพียงอย่างเดียวแน่ๆ แต่มันต้องมาจากการวางแผนการใช้เงินของเราด้วย ถ้าเรามีเงินแล้วเอาไปใช้ให้เกิดประโยชน์ด้วยการทำให้เงินนั้นงอกเงย หรือมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นก็จะทำให้เรามีความมั่นคงทางการเงินมากขึ้นตามไปด้วย และวิธีที่ทาง CheckRaka.com จะขอแนะนำในครั้งนี้ คือ การให้เงินทำงานผ่าน "กองทุนรวม" ซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดในการเริ่มต้นใช้เงินทำงาน เพราะมันสามารถทำให้เงินของเรางอกเงยมีผลต่อเนื่องได้ในระยะยาว แถมเรายังคงสามารถทำงานประจำได้เหมือนเดิมโดยไม่ต้องเสียเวลาอีกด้วย
    5 ขั้นตอนสร้างความมั่งคั่งผ่านกองทุนรวม
    1. กำหนดเป้าหมายการสร้างความมั่งคั่ง
    การตั้งเป้าหมายระยะสั้นนั้นควรบริหารรายรับ-รายจ่ายให้เหมาะสม หาโอกาสเพิ่มรายรับให้ได้มากที่สุด ขณะเดียวกันก็พยายามลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นเพื่อเพิ่มเงินออม ส่วนในระยะยาวควรมีการวางแผนการเงิน และการลงทุนให้มีเงินใช้ได้อย่างเพียงพอในยามเกษียณ โดยคำนวณว่าเราจะต้องใช้เงินหลังเกษียณเท่าไหร่ และหากเริ่มออมเงินตั้งแต่วันนี้ ต้องออมเดือนละกี่บาทเพื่อนำเงินออมไปลงทุนให้ได้ตามผลตอบแทนที่คาดหวัง จนสามารถบรรลุเป้าหมายได้ใช้ชีวิตสบายในวัยเกษียณ
    2. ศึกษาประเภทกองทุนรวม และความเสี่ยงต่างๆ
    เนื่องจากกองทุนนั้นมีหลากหลายประเภท ความเสี่ยง และนโยบายการลงทุน ก็ไม่เหมือนกัน โดยปกติแล้วกองทุนรวมหุ้นจะมีความเสี่ยงสูง และให้ผลตอบแทนสูงเฉลี่ยปีละ 10 - 15% ต่อปี ในขณะที่กองทุนรวมตราสารหนี้จะให้ผลตอบแทนต่ำกว่าเฉลี่ยปีละประมาณ 2 - 5% แต่ความเสี่ยงไม่มากก็มีโอกาสขาดทุนน้อยกว่า
    3. ประเมินระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้
    ดูว่ารับขาดทุนได้มากขนาดไหน และควรกระจายความเสี่ยงด้วยการจัดพอร์ตการลงทุนในกองทุนรวมแต่ละประเภทในสัดส่วนที่เหมาะสมกับตนเอง หากรับความเสี่ยงได้สูงอาจจะจัดพอร์ตการลงทุนโดยเน้นไปในกองทุนตราสารทุนมากกว่าตราสารหนี้ เช่น จัดสรรเงินลงทุน 10,000 บาท (100%) แบ่งลงทุนในกองทุนรวมหุ้น 7,000 บาท (70%) และลงทุนในกองทุนรวมตราสารหนี้ 3,000 บาท (30%) เป็นต้น
    4. เลือกลงทุนในกองทุนรวมที่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีด้วย
    เพราะจะได้ประโยชน์ 2 เด้ง เด้งแรกคือ ได้ประหยัดภาษีทันที เด้งที่สองคือ มีโอกาสได้ผลตอบแทนจากการลงทุน ทั้งส่วนต่างราคาและเงินปันผลอีกด้วย เช่น กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) และกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ซึ่งมีเงื่อนไขให้ลงทุนได้ไม่เกิน 15% ของรายได้ที่ต้องเสียภาษี แต่ไม่เกิน 500,000 บาท เช่น หากมีรายได้ที่ต้องเสียภาษีปีละ 600,000 บาท ก็สามารถซื้อ LTF และ RMF ได้อย่างละไม่เกิน 90,000 บาท เป็นต้น
    5. ตรวจสอบผลตอบแทนและผลการดำเนินงานของกองทุนรวม
    เปรียบเทียบหลายๆ กองทุน ทั้งในระยะสั้นประมาณ 1 ปี และระยะยาวประมาณ 3 - 5 ปี เพื่อติดตามความคืบหน้าว่าผลตอบแทนจากพอร์ตการลงทุนจะช่วยให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้หรือไม่ และควรปรับเปลี่ยนพอร์ตการลงทุนให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปอย่างไร
    การสร้างความมั่งคั่ง มั่นคงทางการเงินให้กับชีวิตนั้น มีหลากหลายวิธี การลงทุนในกองทุนรวมที่ทางเราแนะนำนั้นก็เป็นแค่วิธีหนึ่งเท่านั้น ทั้งนี้ ก่อนการตัดสินใจลงทุนในรูปแบบไหน เพื่อนๆ อย่าลืมที่จะศึกษารายละเอียดในสิ่งนั้นๆ ก่อนนะคะ ควรประเมินความเหมาะสม และวางแผนให้ดีเพื่อผลประโยชน์ระยะยาวของตัวเราเองค่ะ
    ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.set.or.th

    บทความเกี่ยวกับหุ้นอื่นๆ

เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)