"ประกันอุบัติเหตุ" ตัวช่วยบริหารความเสี่ยง จากเหตุที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด

icon 4 ต.ค. 64 icon 8,035
"ประกันอุบัติเหตุ" ตัวช่วยบริหารความเสี่ยง จากเหตุที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด
 

"ประกันอุบัติเหตุ" ตัวช่วยบริหารความเสี่ยง จากเหตุที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด

การดำเนินชีวิตประจำวันของคนเมืองยุคนี้ ต้องแข่งขันกับเวลา มีแต่ความเร่งรีบ เช่น ในเรื่องการเดินทาง ที่เราเห็นกันทั่วไปตามหน้าข่าวต่างๆ ถ้าไม่เกิดจากความประมาทของตัวเรา ก็เกิดจากความประมาทของผู้อื่น หรือแม้แต่ในชีวิตการทำงานก็อาจเกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิดได้อยู่เสมอ ทั้งเรื่องเล็กๆ น้อยๆ หรืออุบัติเหตุที่อาจทำให้เราต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลก็ตาม ซึ่งเมื่อมองรอบๆ ตัวแล้ว โอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุมีได้ตลอดเวลาเลยค่ะ และ...หากเกิดเหตุแบบไม่ทันตั้งตัว เราจะมีวิธีรับมืออย่างไร? วันนี้...เราจะพามาบริหารความเสี่ยงจากเหตุที่เกิดโดยไม่คาดคิด ด้วย "ประกันอุบัติเหตุ" กันนะคะ

รู้ก่อนเลือก รูปแบบ ความคุ้มครอง "ประกันอุบัติเหตุ"

การประกันภัยอุบัติเหตุ หรือ ประกัน PA เป็นการประกันภัยที่ "ให้ความคุ้มครองต่อผู้เอาประกันภัย" ในกรณีที่ผู้เอาประกันภัย ประสบอุบัติเหตุได้รับความบาดเจ็บทางร่างกาย และหากผลของการบาดเจ็บนั้นส่งผลให้ผู้เอาประกันภัยต้องเข้ารับการรักษาพยาบาล หรือเป็นการบาดเจ็บรุนแรงถึงขั้นทุพพลภาพ สูญเสียอวัยวะ หรือเสียชีวิต บริษัทประกันภัยจะเข้ามารับภาระค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการรักษาพยาบาลของผู้เอาประกันภัย หรือจ่ายค่าทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัย ตามวงเงิน และความคุ้มครองที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ เช่น ค่ารักษาพยาบาล วงเงินคุ้มครองกรณีทุพพลภาพ หรือ เสียชีวิต ค่าห้อง ค่าชดเชยรายวัน ทั้งในรูปแบบของผู้ป่วยนอก (OPD) และ ผู้ป่วยใน (IPD)

รูปแบบของกรมธรรม์ประกันอุบัติเหตุ

รูปแบบของกรมธรรม์ประกันอุบัติเหตุมีทั้งกรมธรรม์แบบส่วนบุคคล และประกันแบบกลุ่ม ซึ่งแยกการให้ความคุ้มครองกับบุคคล และกลุ่มบุคคล ดังนี้

รูปแบบความคุ้มครองสำหรับกรมธรรม์ประกันอุบัติเหตุ

สำหรับกรมธรรม์ประกันอุบัติเหตุ จะมีการให้ความคุ้มครองอยู่ 2 รูปแบบด้วยกัน คือ แบบ อบ.1 และ อบ.2 ซึ่งทั้ง 2 แบบให้ความคุ้มครองที่แตกต่างกัน ดังนี้
หมายเหตุ : การประกันอุบัติเหตุ โดยปกติแล้วจะให้ความคุ้มครองรวมถึงการถูกฆ่า หรือถูกทำร้ายร่างกายด้วย ไม่ว่าการถูกฆ่าหรือถูกทำร้ายร่างกายจะเป็นโดยเจตนาหรือไม่ก็ตาม อย่างไรก็ตามหากผู้เอาประกันภัยเห็นว่า ตนเองไม่มีความเสี่ยงภัยในการถูกฆ่า หรือถูกทำร้ายร่างกาย ก็สามารถที่จะไม่เอาประกันภัยในส่วนนี้ได้ โดยผู้เอาประกันภัยก็จะได้รับส่วนลดเบี้ยประกันภัยไปนะคะ

โดยปกติแล้วกรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุจากทุกบริษัทประกันจะมีรูปแบบ และความคุ้มครองที่มีมาตรฐานคล้ายๆ กันค่ะ แต่อัตราเบี้ยประกันภัยที่แต่ละบริษัทใช้จะมีความแตกต่างกัน ซึ่งผู้ที่ต้องการซื้อประกันภัยอาจพิจารณารูปแบบความคุ้มครอง ระหว่าง แบบ อบ.1 และ อบ.2 (ตามรายละเอียดข้างต้น) เช่น หากผู้ทำงานด้านช่าง หรืองานฝีมือที่เกี่ยวข้องกับการใช้นิ้ว การเลือกความคุ้มครองแบบ อบ.2 ก็จะครอบคลุมกว่า เป็นต้น รวมถึงก่อนตัดสินใจเลือกซื้อประกันอุบัติเหตุควรเปรียบเทียบเบี้ยประกันภัยระหว่างบริษัทประกันภัยที่เราสนใจหลายๆ บริษัท แล้วค่อยเลือกทำประกันกับบริษัทที่มีรูปแบบกรมธรรม์ และความคุ้มครองตามที่เราต้องการนะคะ :)
ขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)
แท็กที่เกี่ยวข้อง ประกันภัย ประกันอุบัติเหตุ บริหารความเสี่ยง
Money Guru
เขียนโดย ชนานาถ จินตกสิกรรม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่



เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)