-
บัญชีเงินฝากโบนัส 36 เดือน-ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB)
ดอกเบี้ย : 2.800 - 2.900 %- ข้อมูล ณ วันที่ 16 ก.พ. 67
- 104,372
จุดเด่น- เริ่มง่ายๆ แค่ออมเงินต่อเนื่อง 24 เดือน รับดอกเบี้ยเงินฝากไปเต็มๆ ไม่ต้องเสียภาษีดอกเบี้ยเงินฝาก
- มีทั้งแบบที่มีสมุดคู่ฝาก และแบบไม่มีสมุดคู่ฝาก (E Passbook)
รายละเอียดบัญชี
ชื่อบัญชี:บัญชีเงินฝากโบนัส 36 เดือนลักษณะบัญชี:ต้องฝากทุกเดือนเปิดบัญชีขั้นต่ำ:500 บาทระยะเวลาฝากขั้นต่ำ:36 เดือนประเภทอัตราดอกเบี้ย:แบบอัตราคงที่อัตราดอกเบี้ยระยะเวลาฝาก ช่วงเงินฝากที่เลือก บุคคลธรรมดา นิติบุคคลทั่วไป นิติบุคคลที่ไม่แสวงหากำไร ราชการ รัฐวิสาหกิจ 36 เดือน ทุกจำนวน 2.800 % - - - - ทุกจำนวน 2.900 % - - - - หมายเหตุ:อ้างอิงจากอัตราดอกเบี้ยธนาคารตามประกาศฉบับล่าสุด ดูได้ที่นี่คุณสมบัติของผู้ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีดอกเบี้ยเงินฝาก- ผู้ใช้บริการจะต้องแจ้งความประสงค์ พร้อมทั้งแจ้งเลขประจำตัวประชาชน
- ชื่อบัญชีเงินฝากต้องเป็นชื่อของผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ได้รับประโยชน์จากดอกเบี้ยนั้น
- ต้องนำฝากจนครบ 36 งวด(เดือน) และต้องมีเงินต้นรวมกันเมื่อครบกำหนดไม่เกิน 600,000 บาท
- ลูกค้ามีสิทธิ์ขอยกเวนภาษีดอกเบี้ยเงินฝากได้คนละ 1 บัญชีเท่านั้น (รวมถึงบัญชีประเภทนี้ที่ต่างธนาคารด้วย)
- ตลอดอายุการฝาก หากลูกค้าไม่นำเงินฝากเข้าบัญชีเกินกว่า 2 เดือน (งวด) ไม่ว่าจะติดต่อกันหรือไม่ จะไม่ได้รับสิทธิ์การยกเว้นภาษี
รายละเอียดดอกเบี้ย:- บัญชีเงินฝากโบนัส 36 เดือน แบบมีสมุดคู่ฝาก รับอัตราดอกเบี้ย 2.80% ต่อปี
- บัญชีเงินฝากโบนัส 36 เดือน แบบไม่มีสมุดคู่ฝาก (E-Passbook) รับอัตราดอกเบี้ย 2.90% ต่อปี
อัตราดอกเบี้ย ณ วันที่ 3 ตุลาคม 2566 ทั้งนี้ อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้
- บัญชีเงินฝากโบนัส 36 เดือน แบบมีสมุดคู่ฝาก ธนาคารจะจ่ายดอกเบี้ยในอัตรา ดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือน (แบบมีสมุดคู่ฝาก) บวก 1.10%
- บัญชีเงินฝากโบนัส 36 เดือน แบบไม่มีสมุดคู่ฝาก (E Passbook) ธนาคารจะจ่ายดอกเบี้ยในอัตรา ดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือน (แบบมีสมุดคู่ฝาก) บวก 1.20%
- ทุกเดือนมิถุนายน และธันวาคม ธนาคารจะนำดอกเบี้ยไปทบต้นเพื่อคิดคำนวณดอกเบี้ยต่อไป และจะแสดง รายการรวมเมื่อครบกำหนดการฝากในสมุดคู่ฝากหรือรายการเดินบัญชี (Statement) ภายหลังจากหักภาษี ณ ที่จ่ายแล้ว (ถ้าต้องหักตามกฎหมาย)
เงื่อนไขสำคัญ:- ผู้ฝากต้องฝากต่อเนื่องทุกๆ เดือน เดือนละเท่าๆ กัน จนครบตามที่กำหนดไว้ตอนเปิดบัญชี
- รับฝากเฉพาะบุคคลธรรมดา สามารถเปิดบัญชีร่วมได้
- จำนวนเงินในการเปิดบัญชีครั้งแรกต้องเป็นทวีคูณทุก 500 บาท
- ฝากครั้งต่อไปต้องฝากเท่ากับจำนวนเงินที่ฝากครั้งแรกต่อเนื่องทุกเดือนๆ ละเท่าๆ กัน จนครบตามระยะเวลาที่กำหนด
- จำนวนเงินเปิดบัญชีขั้นต่ำ 500 บาท และสูงสุด 16,500 บาท สำหรับบัญชีที่ขอรับสิทธิ์ในการยกเว้นภาษี
- จำนวนเงินเปิดบัญชีขั้นต่ำ 500 บาท และสูงสุด 900,000 บาท สำหรับบัญชีที่ไม่ขอรับสิทธิ์ในการยกเว้นภาษี
- กรณีบัญชีแบบไม่มีสมุดคู่ฝาก (E Passbook) ลูกค้าจะต้องมี Email Address มาด้วย ณ วันที่เปิดบัญชี เพื่อรับอีเมล์แจ้งเตือน Email Notification และ E-Statement โดยลูกค้าจะได้รับเอกสารใบรับรอง การเปิดบัญชีแทนสมุดคู่ฝาก
- วันที่ครบกำหนด จะนับจากวันที่ฝากงวดสุดท้ายไปอีก 1 เดือน
- ตลอดอายุการฝาก หากไม่นำเงินฝากเข้าบัญชีติดต่อกันเป็นเวลา 7 เดือน (งวด) จะไม่สามารถฝากต่อได้อีก ลูกค้าจะต้องมาถอนเงิน และปิดบัญชีเท่านั้น หากไม่มาดำเนินการลูกค้าจะได้รับดอกเบี้ยในอัตราดอกเบี้ยต่ำสุดของเงินฝากประเภทออมทรัพย์ที่จ่ายให้กับลูกค้าในประเภทเดียวกัน ณ วันที่ถอนเพื่อปิดบัญชี โดยจะคำนวณตามระยะเวลาการฝาก และดอกเบี้ยจะถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายเพื่อนำส่งกรมสรรพากร
- ไม่มีการต่ออายุบัญชีโดยอัตโนมัต
- เมื่อครบกำหนดธนาคารจะคำนวณดอกเบี้ยในอัตราดอกเบี้ยต่ำสุดของเงินฝากประเภทออมทรัพย์ที่จ่าย ให้กับลูกค้าในประเภทเดียวกัน ณ วันที่ถอนเพื่อปิดบัญชี ซึ่งจะคำนวณตามระยะเวลาการฝาก โดยธนาคารจะหักภาษี ณ ที่จ่ายและไม่ทบต้นจนกว่าจะมาปิดบัญชี
การจ่ายดอกเบี้ย:จ่ายดอกเบี้ยเมื่อครบกำหนดสิทธิการถอนก่อนกำหนด:สามารถถอนได้ในกรณีปิดบัญชีเท่านั้น โดย- ถ้าฝากไม่ถึง 3 เดือน ธนาคารไม่จ่ายดอกเบี้ย
- ถ้าฝากมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 เดือน แต่ไม่ถึง 36 เดือน (ตามเงื่อนไขผลิตภัณฑ์) ธนาคารจะจ่ายดอกเบี้ยให้สำหรับระยะเวลาที่ฝากไว้จริง ในอัตราดอกเบี้ยต่ำสุดของเงินฝากออมทรัพย์ที่จ่ายให้แก่ลูกค้าในประเภทเดียวกัน ณ วันถอน โดยธนาคารจะหักภาษี และไม่ทบต้น
ช่วงที่เปิดรับฝาก:ไม่กำหนดสอบถามเพิ่มเติม:Tel. 02-777-7777คำแนะนำการใช้ข้อมูล:- อย่าฝากเงินโดยดูดอกเบี้ยเพียงอย่างเดียวแต่ควรพิจารณาเงื่อนไข ความสะดวกและความมั่นคงของสถาบันการเงินประกอบทุกครั้ง
- รายละเอียดที่นำเสนอเป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้น โปรดตรวจสอบอัตราดอกเบี้ย เงื่อนไขและรายละเอียดเกี่ยวกับบัญชีเงินฝากกับธนาคารทุกครั้งก่อนตัดสินใจ
update ณ วันที่:16 ก.พ. 67แนะนำเงินฝากประจำ