เลือกอะไรดี? "รีไฟแนนซ์" หรือ "ทนใช้หนี้เดิมต่อ"
ทุกวันนี้ เพื่อนๆ ยังคงต้องก้มหน้าก้มตาใช้หนี้ขั้นต่ำบัตรเครดิต หรือสินเชื่อบุคคลดอกเบี้ยสูงอยู่หรือไม่? ถ้าใช่...มีอยู่กี่ใบ? แล้วเงินที่ใช้จ่ายหนี้กับรายได้ที่รับเข้ามาทุกเดือนพอใช้จ่ายอย่างอื่นด้วยมั้ย? คำถามพวกนี้อาจทำให้ใครหลายคนเจ็บจี๊ดขึ้นมาทันที เพราะอาจจะกำลังเผชิญกับชะตากรรมนั้นอยู่ ปัญหาเหล่านี้ต้องมีทางออก แต่ทางออกนั้นคือทางไหน? วันนี้
CheckRaka มีคำตอบมาฝากเพื่อนๆ กันนะคะ อ้อ...ลืมไป!! เพื่อนๆ อย่าเพิ่งเลือกทางออกด้วยการกู้หนี้นอกระบบนะคะ เพราะนั่นไม่ใช่หนทางในการแก้ปัญหานี้ แต่จะเพิ่มปัญหาให้มากขึ้นอีกแน่นอน
ทำความรู้จักกับ "สินเชื่อรีไฟแนนซ์"
"รีไฟแนนซ์" อธิบายง่ายๆ ก็คือ การกู้เงินแบงค์ใหม่ที่ดอกเบี้ยต่ำกว่ามาจ่ายแบงค์เก่าที่ดอกเบี้ยสูงกว่า เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่คนส่วนใหญ่ใช้ลดหนี้เดิมที่มีอยู่ ให้รายได้ที่รับมาพอกับรายจ่ายที่จะต้องเสียไปในแต่ละเดือน แต่การรีไฟแนนซ์ในลักษณะนี้จะมีประโยชน์ก็ต่อเมื่อเราขอกู้สินเชื่อรีไฟแนนซ์มาแล้ว นำมาโปะหรือปิดยอดของหนี้บัตรเครดิตหรือสินเชื่อบุคคลดอกเบี้ยสูงที่มีอยู่ให้หมด พร้อมกับทำการยกเลิกบัตรเครดิตหรือสินเชื่อบุคคลนั้นทันที และไม่กลับไปใช้มันอีก เพื่อไม่ให้เป็นการแก้ปัญหาแบบวนในอ่าง ไม่เช่นนั้น ท้ายที่สุดแล้วจะทำให้มีหนี้สินเพิ่มมากขึ้นและไม่มีทางจบ อย่าเป็นคนที่ต้องติดบัญชีดำจนเครดิตเสียเด็ดขาด
(ดูบทความ "เครดิตเสีย...ติดบัญชีดำ" ต้องทำยังไง?) เพราะถ้าใครมีปัญหาเรื่องเครดิตบูโรแล้วจะไม่สามารถขอกู้สินเชื่อไม่ว่าประเภทใดได้เลยค่ะ
เลือกลดหนี้ด้วย "รีไฟแนนซ์" หรือ "ทนก้มหน้าก้มตาใช้หนี้เดิม" ต่อไป แบบไหนเหมาะกับเรา?
ทุกอย่างต้องมีทางออก มันอยู่ที่ว่าเราจะเลือกทางไหนก็แค่นั้นเอง แต่เราต้องเลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้กับชีวิตเราจริงมั้ยค่ะ งั้นเรามาดูกันว่าตกลงแล้วเราจะเลือกลดหนี้ด้วย "รีไฟแนนซ์" หรือจะทนก้มหน้าก้มตาใช้หนี้เดิมต่อไปดี เริ่มด้วยการเปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสียของตัวเลือกทั้งสองนี้กันนะคะ
ทางเลือก | ข้อดี | ข้อเสีย |
1. ลดหนี้ด้วยรีไฟแนนซ์ | - มีเงินก้อนในการชำระหนี้เก่า
- ลดค่าใช้จ่ายในการผ่อนชำระต่อเดือนได้
- จ่ายดอกเบี้ยในอัตราถูกกว่าหนี้เดิม
- ส่วนใหญ่จะได้ดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก
- มีโอกาสได้เริ่มต้นวางแผนทางการเงินใหม่
| - แบ่งเบาหนี้ระยะสั้น แต่อาจเป็นหนี้นานขึ้น
- อาจก่อให้เกิดหนี้สินล้นพ้นตัว หากขาดการวางแผนทางการเงินที่ดี
|
2. ทนใช้หนี้เดิมต่อไป | - ไม่ต้องเป็นหนี้ก้อนใหม่เพิ่ม
| - ต้องจ่ายหนี้ด้วยอัตราดอกเบี้ยสูงต่อไป
- ต้องดิ้นรนหาเงินมาจ่ายหนี้ให้พอในแต่ละเดือน หากรายรับไม่พอกับรายจ่าย ซึ่งอาจจะทำให้เราตัดสินใจไปกู้เงินนอกระบบได้
- ถ้าเรายังคงชำระหนี้ขั้นต่ำอยู่ จะทำให้ดอกเบี้ยมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
|
จากข้อสรุปข้างต้นนี้ เราอาจจะเห็นว่าถ้าเรามาถึงทางตัน โดยที่เราเป็นมนุษย์เงินเดือนที่ต้องจ่ายหนี้เกินรายได้ที่รับมาทุกเดือนจนมาถึงเดือนที่เงินเก็บที่เคยมีก็ไม่เหลือแล้ว เราก็ควรต้องเลือกที่จะลดหนี้ด้วยการขอกู้สินเชื่อรีไฟแนนซ์เพื่อเอามาจ่ายหรือปิดหนี้เก่าให้ค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนเราลดลงบ้าง (เป็นการต่อลมหายใจอีกเฮือก!!)
6 ข้อควรรู้ก่อน Refinance
สินเชื่อรีไฟแนนซ์ที่น่าสนใจในช่วงนี้
เพื่อนคนไหนที่กำลังมองหาสินเชื่อรีไฟแนนซ์ดีๆ ดอกเบี้ยต่ำกว่าหนี้เดิมเพื่อต้องการปิดยอดหนี้ทั้งหลายที่มีให้เหลือเพียงหนี้ยอดเดียวหรือให้เหลือน้อยที่สุด แต่จะมีสินเชื่อแบบนี้ที่ไหนบ้าง...วันนี้ธนาคารกรุงไทยได้ปล่อย "สินเชื่อกรุงไทย Super Easy" พร้อมมาให้บริการด้วยดอกเบี้ยโปรโมชั่นในโอกาสเฉลิมฉลองครบรอบ 50 ปี เป็นการช่วยชำระยอดหนี้จากบัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคลต่างๆ จากธนาคารอื่นที่กำลังเป็นปัญหาหนักอกสำหรับบางคน เพื่อช่วยให้มีสภาพคล่องทางการเงินที่ดีขึ้น
"สินเชื่อกรุงไทย Super Easy" เป็นสินเชื่อบุคคลแบบไม่มีหลักประกัน รับวงเงินโดนๆ ถึง 5 เท่าของรายได้สุทธิ สูงสุดไม่เกิน 1,000,000 บาท กู้ได้ง่ายๆ แบบไม่ต้องมีคนค้ำ ไม่ต้องมีหลักประกัน และผ่อนสบายๆ ยาวถึง 60 งวด สามารถ Refinance หนี้บัตรเครดิตหรือสินเชื่อดอกเบี้ยสูงจากธนาคารอื่นได้ด้วยดอกเบี้ยโปรโมชั่นในโอกาสเฉลิมฉลองครบรอบ 50 ปีของธนาคารกรุงไทย ด้วยการมอบของขวัญสุดพิเศษ ในอัตราดอกเบี้ยต่ำเพียง 18% ต่อปี (สำหรับพนักงานที่มีรายได้ประจำ)
วัตถุประสงค์ในการกู้
- เพื่อการอุปโภค บริโภค
- เพื่อชำระหนี้ที่มีกับสถาบันการเงินอื่น (เฉพาะสินเชื่อบุคคล และบัตรเครดิต)
คุณสมบัติผู้กู้
- พนักงานที่มีเงินเดือนประจำ เงินเดือนขั้นต่ำ 20,000 บาท และมีอายุงานไม่น้อยกว่า 1 ปี
- ผู้ประกอบการรายย่อย มีรายได้สุทธิขั้นต่ำ 20,000 บาท และประกอบกิจการมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี
- ไม่มีประวัติเสียหายด้านการเงิน หรือมีหนี้สินล้นพ้นตัว และ
- มีคุณสมบัติอื่นๆ ตามที่ธนาคารกำหนด (โปรดตรวจสอบโดยตรงได้ที่ธนาคารกรุงไทย โทร. 0-2111-1111)
วงเงินให้กู้
- พนักงานที่มีเงินเดือนประจำ ให้วงเงินกู้ได้ไม่เกิน 5 เท่าของรายได้ปัจจุบัน สูงสุดไม่เกิน 1 ล้านบาท
- กรณีผู้ประกอบการร้านค้ารายย่อยทั่วไปให้วงเงินกู้ได้ไม่เกิน 5 เท่าของรายได้สุทธิ (เฉลี่ยไม่น้อยกว่า 6 เดือน) สูงสุดไม่เกิน 5 แสนบาท
ระยะเวลาให้กู้
สามารถเลือกผ่อนชำระได้ตั้งแต่ 12 เดือน ไปจนถึง 60 เดือน
อัตราดอกเบี้ย
- พนักงานที่มีเงินเดือนประจำ ให้เรียกเก็บดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 20 ต่อปี
(Promotion! สำหรับพนักงานที่มีเงินประจำ สมัครและได้รับอนุมัติตั้งแต่ 1 มกราคม - 31 มีนาคม 2559 รับอัตราดอกเบี้ยพิเศษ 18%ตลอดอายุสัญญา)
- ผู้ประกอบการร้านค้ารายย่อยทั่วไป ให้เรียกเก็บดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 22 ต่อปี
เอกสารและหลักฐานประกอบการขอกู้
- เอกสาร/หลักฐานใบแจ้งยอดบัญชี (Statement) หนี้สินเชื่อบุคคลหรือหนี้บัตรเครดิตเดือนล่าสุด หรือเอกสารอื่นในลักษณะเดียวกัน กรณีขอสินเชื่อเพื่อชำระหนี้
- หนังสือรับรองรายได้จากหน่วยงานต้นสังกัดหรือสลิปเงินเดือนล่าสุด หรือต้นฉบับหลักฐานอื่นที่แสดงการมีรายได้ที่เชื่อถือได้ของผู้กู้
- สำเนาทะเบียนบ้าน และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
- สำหรับกรณีบุคคลทั่วไป ที่มีรายได้ประจำต้องมี Statement บัญชีเงินฝากไม่น้อยกว่า 3 เดือน และกรณีผู้ประกอบการร้านค้าย่อยทั่วไปต้องมี Statement บัญชีเงินฝากที่ดำเนินธุรกิจย้อนหลัง 1 ปี หรือสำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียน (หากมี) หรือสำเนาทะเบียนการค้า (หากมี)
สิทธิประโยชน์เพิ่มเติม
- ลูกค้าที่ผ่านการพิจารณาสินเชื่อสามารถเลือกทำบัตร KTB Loan Convenience Card นอกจากเป็นบัตรที่ใช้เบิกถอนเงิน และชำระค่าสินค้าและบริการเหมือนบัตร Debit Card ทั่วไปแล้ว ยังสามารถใช้บัตรดังกล่าวเพื่อเรียกดูยอดเงินคงเหลือ ยอดหนี้ค้างชำระและสามารถใช้ชำระหนี้เงินกู้ผ่านตู้ ATM
- ลูกค้าที่ผ่านการพิจารณาสินเชื่อสามารถเลือกทำประกันชีวิตกลุ่ม 400 บาทต่อจำนวนเงินเอาประกันภัย 100,000 บาท และบวกเพิ่ม 75 บาททุกราย (เป็นค่าเบี้ยสำหรับค่ารักษาพยาบาลจากอุบัติเหตุ 75 บาทต่อรายต่อปี)