นักบิดสะดุ้ง..จ่อขึ้นภาษีรถจักรยานยนต์ตามค่า CO2 รถเล็ก 3% รถใหญ่อาจเฉียดแสน.!
จากข่าวการเก็บภาษีสรรพสามิตรถจักรยานยนต์รูปแบบใหม่นั้น ฟังดูอาจรู้สึกว่ามาเพิ่มภาระให้กับประชานชนหรือไม่ ต้องมาดูรายละเอียดกันก่อน อย่าเพิ่งตกใจ โดยเมื่อวันที่ 27 ต.ค. นายณัฐกร อุเทนสุต ผู้อำนวยการสำนักแผนภาษี ในฐานะรองโฆษกกรมสรรพสามิต ได้สรุปในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่าได้รับทราบการเก็บภาษีสรรพสามิตรถจักรยานยนต์รูปแบบใหม่ ที่จากเดิมนั้นเก็บตามขนาดความจุเครื่องยนต์ (ซีซี.) เพียงอย่างเดียว ให้เพิ่มการคิดภาษีในส่วนใหม่คือ "คิดตามการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2)" ซึ่งนับเป็นมาตรฐานที่ทั่วโลกหันมาใช้กันมาขึ้น โดยคำนึงถึงเรื่องภาวะสิ่งแวดล้อมและการจัดเก็บรายได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยมากขึ้น
การเก็บภาษีรถจักรยานยนต์ใหม่แบบใหม่นี้ อัตราของรถจักรยานยนต์ขนาดไม่เกิน 150 ซีซี. ที่นับเป็นส่วนใหญ่ราวๆ 90% ของรถทั้งหมดในประเทศ ภาษีเพิ่มขึ้นเพียงคันละประมาณ 100 - 200 กว่าบาทเท่านั้น เพราะจากเดิมการจัดเก็บภาษีรถมอเตอร์ไซค์ปัจจุบัน ที่มีความจุต่ำกว่า 150 ซีซ๊ เสียภาษีในอัตรา 2.5% ของราคาขายปลีก ขนาด 150-500 CC เสียภาษีในอัตรา 4% ขนาดความจุ 500-1,000 ซีซี เสียภาษีในอัตรา 8% และขนาดจุมากกว่า 1,000 ซีซี จัดเก็บภาษีในอัตรา 17%
ส่วน "รถบิ๊กไบค์" ที่อาจดูจะกระทบเยอะกว่าจากการจัดเก็บตามตามค่าไอเสียหรือ CO2 โดยที่รถจักรยานยนต์ขนาดใหญ่เครื่องยนต์เกิน 1,000 ซีซี. ขึ้นไปจะต้องเสียภาษีเพิ่มคันละประมาณ 1 แสนบาท เนื่องจากขนาดเครื่องยนต์ที่ความจุมากกว่า และมีการปล่อย CO2 มากทำให้ต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้น ซึ่งรถบิ๊กไบค์ส่วนใหญ่ก็มีราคาเฉียด 1 ล้านบาท และบางรุ่นอาจเกิน 1 ล้านไปถึง 2 ล้านบาททีเดียว ซึ่งบิ๊กไบค์ในประเทศไทยได้รับความนิยมในประเทศไทยมากขึ้น มีสัดส่วน 2-3% นั่นคือ เดิมนั้นรถมีความความจุ 1,000 ซีซี "เสียอยู่ที่ 17% ก็ปรับเพิ่มเพียง 18% เพิ่มจากเดิมแค่ 1% เท่านั้น" แต่หากคันที่มีราคาทะลุล้านไปไกลก็อาจจะโดยเพิ่มภาษีไปเฉียดแสน เป็นต้น
อัตราภาษีรถจักรยานยนต์ประกอบด้วย 3%, 5%, 9% และ 18% ตามการปล่อย CO2 โดยหากผู้ประกอบการไม่มีการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีให้ปล่อย CO2 ลดลง จะทำให้กรมสรรพสามิตเก็บภาษีได้เพิ่มขึ้นปี 500-700 ล้านบาท ซึ่งตรงนี้นับเป็นการทำให้ผู้ผลิตรถมอเตอร์ไซค์หลายๆ ค่ายต้องหันมาผลิตรถที่ช่วยลดมลพิษมากขึ้น และมีการแข่งขันด้านเทคโนโลยีเครื่องยนต์ที่ปล่อยไอเสีย CO2 ต่ำ แต่ต้องมีประสิทธิภาพใกล้เคียงหรือเท่าเดิมรวมถึงประหยัดน้ำมันขึ้นอีกด้วย
"การเก็บภาษีรถจักรยานยนต์ตามการปล่อย CO2 ทำให้เกิดการประหยัดพลังงานและรักษาสิ่งแวดล้อม รถบิ๊กไบค์มีทั้งจากค่ายยุโรปและญี่ปุ่น ซึ่งอาจปรับเทคโนโลยีให้ทันสมัยเพื่อให้เสียเพิ่มขึ้นน้อยลง แต่โดยรวมบิ๊กไบค์อาจต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้นคันละประมาณ 1 แสนบาท เพราะราคาสูงต่อคันกว่า 1 ล้านบาท"
นอกจากนี้ยังมีการรอประกาศลงพระราชกิจจานุเบกษาการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตมอเตอร์ไซค์ โดยเปลี่ยนการจัดเก็บภาษีจากความจุของกระบอกสูบมาเป็นการจัดเก็บภาษีตามปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในรถมอเตอร์ไซค์ใช้พลังงานไฟฟ้า (EV) ในอัตรา 1% ของราคาขายปลีก จากปัจจุบันที่ยกเว้นจัดเก็บภาษี ขณะที่รถมอเตอร์ไซค์ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ต่ำกว่า 50 กรัม จัดเก็บ 3% หากปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ 51-90 กรัม เสียภาษี 5% การปล่อยก๊าซ 9-130 กรัม เสียภาษี 9% การปล่อยก๊าซมากกว่า 130 กรัม เสียภาษี 18% ขณะที่มอเตอร์ไซค์ต้นแบบเพื่อการวิจัยได้รับการยกเว้นเสียภาษี
ซึ่งรัฐบาลที่ผ่านมาได้เห็นชอบตั้งแต่เดือน พ.ค.ที่ผ่านมาแล้ว แต่เมื่อมีครม.จากรัฐบาลใหม่ กรมฯ จึงเสนอให้รับทราบอีกครั้ง โดยภาษีใหม่จะเริ่มเก็บกับรถที่นำออกจากโรงงานหรือนำเข้ามาตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2563
อย่างไรก็ตามการปรับอัตราภาษีรถจักรยานยนต์ใหม่นี้มีทั้งผลดีและผลเสียต่อประชาชน ซึ่งการตัดสินใจซื้อบิ๊กไบค์หรือรถจักรยานยนต์อาจต้องศึกษาเรื่องการปล่อยมลพิษให้มากขึ้น เพื่อจะได้จ่าย "ส่วนเกินค่าภาษี" นี้ให้น้อยลงมากที่สุด
เริ่มเข้าสู่ยุคของ เลือกซื้อรถจักรยานยนต์ต้องดูค่า "CO2" เพื่อประกอบการตัดสินใจซะแล้ว