ประเมินวงเงินรู้ผลใน 3 นาที

กับ กรุงศรี ออโต้ พร้อมสตาร์ท

เริ่มประเมินวงเงินพร้อมสตาร์ท
ผ่านมือถือ สแกนเลย

ดูวงเงินพร้อมสตาร์ทที่ได้รับ

x
icon-filter ค้นหารถมอเตอร์ไซค์
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter

บังคับใช้จริง! ห้ามรถจักรยานยนต์ขึ้นสะพาน-ลงอุโมงค์

ข่าว icon 25 ก.ค. 59 icon 9,382
บังคับใช้จริง! ห้ามรถจักรยานยนต์ขึ้นสะพาน-ลงอุโมงค์


การบังคับใช้กฎจราจรเกี่ยวกับห้ามรถจักรยานยนต์ขับขึ้นสะพานหรืออุโมงค์นั้นอันที่จริงมีการประกาศ และติดป้ายบอกอย่างชัดเจนในจุดที่ห้ามมานานแล้ว แต่ที่ผ่านมาทางตำรวจจราจรก็ได้อนุโลม เนื่องจากหลายสาเหตุและความจำเป็นในการเดินทางในชั่วโมงเร่งด่วน แต่ระยะหลังเราจะเห็นได้ว่า ปริมาณผู้ใช้มอเตอร์ไซค์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและมีการใช้ความเร็วสูงอยู่บ่อยครั้ง อาจส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุได้มากขึ้น จนภาครัฐต้องสั่งเข้มงวดบังคับใช้กฏข้อห้ามเหล่านี้อย่างจริงจัง และนั่นก็คือที่มาของกระแสในโซเชียลเน็ตเวิร์คในเรื่องการห้ามขึ้นสะพานและลงอุโมงค์ที่อาจมีความคิดเห็นไม่ตรงกันบ้างของเหล่านักบิด มาดูว่ากฎข้อห้ามนั้นมีรายละเอียดอะไรกันบ้าง  
ห้ามจุดไหนบ้าง?
เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2559  มีการออกข้อบังคับเจ้าหน้าที่พนักงานจราจร ห้ามรถจักรยานยนต์ขึ้นใช้สะพาน 39 แห่งและอุโมงค์ 6 แห่ง โดยใช้อำนาจตามพ.ร.บ พ.ศ. 2522 ซึ่งใช้อำนาจเจ้าพนักงานจราจรท้องที่ในการออกข้อบังคับเพื่อจัดการจราจร เช่น การห้าม ห้ามเข้า ห้ามจอด จัดช่องเดินรถ ห้ามรถบางประเภท ติดป้ายทำเครื่องหมายต่างๆ ในการจราจรเพื่อให้เกิดความสะดวกปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ และได้ออกข้อบังคับเจ้าพนักงานจราจรในเขตกรุงเทพมหานคร (ชั่วคราว) ว่าด้วยการห้ามรถบางชนิดและล้อเลื่อนลากเข็นเดินบนสะพานข้ามร่วมทางแยก และในอุโมงค์ลอดทางแยก พ.ศ.2559 จะมีข้อบังคับชั่วคราว 90 วัน เริ่มตั้งแต่ 30 มี.ค. 2559 

สำหรับสะพานข้ามแยกที่ห้ามรถจักรยานยนต์ขึ้นทั่วพื้นที่กรุงเทพมหานครมีทั้งสิ้น 39 สะพาน ได้แก่ 
  1. สะพานยกระดับข้ามแยกคลองตัน
  2. สะพานยกระดับข้ามแยกอโศกเพชร
  3. สะพานข้ามแยกรามคำแหง
  4. สะพานข้ามแยกประชาสงเคราะห์
  5. สะพานข้ามแยกสามเหลี่ยมดินแดง
  6. สะพานข้ามแยกตึกชัย
  7. สะพานข้ามแยกราชเทวี
  8. สะพานข้ามแยกประตูน้ำ
  9. สะพานข้ามแยกยมราช
  10. สะพานข้ามแยกกำแพงเพชร
  11. สะพานข้ามแยกรัชดา-ลาดพร้าว
  12. สะพานข้ามแยกสุทธิสาร
  13. สะพานข้ามแยกรัชโยธิน
  14. สะพานข้ามแยกวงศ์สว่าง
  15. สะพานข้ามแยกวงเวียนบางเขน
  16. สะพานยกระดับถนนสุวินทวงศ์
  17. สะพานยกระดับข้ามแยกร่มเกล้า ถนนรามคำแหง
  18. สะพานยกระดับข้ามแยกลาดบัวขาว ถนนรามคำแหง
  19. สะพานยกระดับข้ามแยกมีนบุรี
  20. สะพานข้ามแยกสถานีบรรทุกสินค้าไอซีดี ถนนเจ้าคุณทหาร
  21. สะพานข้ามแยกลำสาลี
  22. สะพานข้ามแยกศรีอุดม
  23. สะพานข้ามแยกประเวศ
  24. สะพานข้ามแยกบางกะปิสะพานไทย-เบลเยียม
  25. สะพานข้ามถนนนางลิ้นจี่
  26. สะพานข้ามแยกรัชดาพระราม 4
  27. สะพานภูมิพล 1
  28. สะพานข้ามแยกคลองตัน
  29. สะพานข้ามแยกศรีนครินทร์
  30. สะพานข้ามแยกบรมราชชนนี
  31. สะพานข้ามแยกบางพลัด
  32. สะพานข้ามแยกพระราม 2
  33. สะพานข้ามแยกตากสิน
  34. สะพานข้ามแยกนิลกาจ
  35. สะพานข้ามแยกบางพฤกษ์
  36. สะพานยกระดับถนนรามคำแหง
  37. สะพานข้ามแยกประชานุกูล
  38. สะพานข้ามแยกบางกะปิ
  39. สะพานไทย-ญี่ปุ่น

อุโมงค์ลอดแยก ที่ห้ามรถจักรยานยนต์เข้า มีทั้งหมด 6 อุโมงค์  ได้แก่
  1. อุโมงค์วงเวียนบางเขน
  2. อุโมงค์พัฒนาการรามคำแหง 24
  3. อุโมงค์ศรีอุดม
  4. อุโมงค์บรมราชชนนี
  5. อุโมงค์บางพลัด 
  6. อุโมงค์ท่าพระ 

ล่าสุด พล.ต.ต.ปิยะพันธ์ ปิงเมือง รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าวถึงประกาศคำสั่ง ห้ามรถจักรยานยนต์ และสามล้อเครื่อง ขึ้นสะพาน 39 แห่ง และลงอุโมงค์ 6 แห่ง ในเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 23 กรกฎาคม ที่ผ่านมา โดยยืนยันว่าตำรวจทำเพื่อความปลอดภัยของประชาชนเป็นเหตุผลหลัก หลังพบว่าการใช้สะพาน หรืออุโมงค์ ส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุจำนวนมาก
หากพบผู้ใดฝ่าฝืน จะดำเนินการจับกุมตามกฎหมาย พร้อมระบุว่า จากสถิติที่ผ่านมา หลังมีคำสั่งห้าม สถิติการจับกุมผู้ที่ฝ่าฝืนลดลง และลดปัญหาการติดขัดจราจรลงด้วย หากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหาทางปรับปรุงแก้ไขสภาพทางกายภาพของสะพาน หรืออุโมงค์ ให้ถูกหลักวิศวกรรมจราจร ให้รถจักรยานยนต์สามารถใช้สะพาน หรืออุโมงค์ได้อย่างปลอดภัย ก็พร้อมปรับแก้กฎหมายให้รถจักรยานยนต์ใช้ทางร่วมได้อีกครั้ง

แท็กที่เกี่ยวข้อง

ขับปลอดภัย มอเตอร์ไซค์ จราจร

ข่าวและอีเว้นท์มอเตอร์ไซค์ล่าสุด




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)