ประเมินวงเงินรู้ผลใน 3 นาที

กับ กรุงศรี ออโต้ พร้อมสตาร์ท

เริ่มประเมินวงเงินพร้อมสตาร์ท
ผ่านมือถือ สแกนเลย

ดูวงเงินพร้อมสตาร์ทที่ได้รับ

x
icon-filter ค้นหารถมอเตอร์ไซค์
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter

5 วิธี สังเกตอาการ "ผ้าเบรกมอเตอร์ไซค์" (ใกล้) หมด

icon 17 เม.ย. 64 icon 120,916
5 วิธี สังเกตอาการ "ผ้าเบรกมอเตอร์ไซค์" (ใกล้) หมด

5 วิธี สังเกตอาการ "ผ้าเบรกมอเตอร์ไซค์" (ใกล้) หมด

เข้าหน้าฝนแบบเต็มฤดูแล้วพี่น้องเอ๊ย!! เนื้อหุ้มเหล็กเช่นนี้จะขับไปไหนไม่ระวังก็จะเจ็บเนื้อเจ็บตัวเข้าโรงหมอเป็นเรื่องเป็นราวยกใหญ่ แต่หลักๆ นอกจากเราที่ต้องขับขี่ด้วยความระมัดระวังแล้ว อะไหล่ต่างๆ ของรถที่เมื่อใกล้จะสิ้นอายุขัย ก็เป็นสิ่งสำคัญ จำเป็นมากๆ จำเป็นสุดๆ ที่คุณจะต้องเปลี่ยนมันซะที..
นอกจากยางรถมอเตอร์ไซค์ที่ต้องเปลี่ยนเมื่อดอกตามร่องใกล้ร่อยหรอ หรือบางจนจะเห็นไส้ใน คุณเคยสังเกตเบรกรถกันบ้างไหมว่าก่อนที่มันจะหมด จะมีอาการบ่งบอกหรือจะสังเกตได้อย่างไรบ้าง?  

1. สังเกตง่ายๆ ด้วยตาเปล่า

สังเกตได้ง่ายจริงๆ นะ เราสามารถมองเห็นได้ด้วยตา เพราะผ้าเบรกด้านหน้าไม่ได้ซ่อนจนมิด เราสามารถมองเห็นความหนา บาง ของผ้าเบรกที่เราใช้งานอยู่ ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญมากๆ หากเราใช้งานทุกวัน หรือออกทริปสำหรับรถคันใหญ่ๆ ยิ่งไม่ควรมองข้าม (เพราะล้มหรือลื่นทีก็หนักกว่าชาวบ้านเขา) ควรเช็คความพร้อมให้ดี ก้มลงดูสักนิด มองไม่เห็นก็ใช้ไฟฉายส่องลงไปได้ ถ้าเห็นว่าบางเป็นแผ่นไร้การซึมซับก็ควรจะเปลี่ยน เสียเวลาไม่ได้มากมายเท่าไหร่ แต่ก็เพื่อความความปลอดภัยของเรา

2. เสียงเอี๊ยดๆ ดังลั่นไปยันปากซอย

ถ้ามีอาการแบบนี้นั่นแหละครับไม่ต้องลังเล อาการมาแบบเกือบจะสายไป อย่าให้เสียงเบรกมาสร้างความรำคาญให้จิตใจและคนรอบข้างเลยครับ เบรกทีจี๊ดที ทั้งคนขับคนซ้อนท้ายก็สะดุ้งกันที อาการแบบนี้ต้องได้รับการเยียวยา ง่ายๆ ก็เปลี่ยนมันซะ!

3. หากขับแล้วไม่ได้ยินเสียง ลองดับเครื่องแล้วลองเบรกดูสิจ๊ะ

ถ้าขับๆ แล้วเบรก รู้สึกไม่กินมือ กินเท้า แต่ลองเบรกย้ำๆ เสียงเล็กเสียงน้อยไม่ค่อยจะได้ยิน (ก็บางคันเสียงท่อลั่นซะเหลือเกิน) ลองดับเครื่องแล้วเข็นครับ แล้วเบรกย้ำๆ หรือลองคร่อม ค่อยๆ ย่ำเท้าดู อาจจะได้ยินเสียงครืดคราด หรือเอี๊ยดๆ ซ่อนเร้นอยู่ก็เป็นได้... (พูดซะน่ากลัว)

4. เช็คจากกระปุกน้ำมันเบรก

อันนี้ก็ดูได้ง่ายๆ เลย รถมอเตอร์ไซค์ทุกคันจะมีกระปุกน้ำมันเบรกที่อยู่ใต้ด้ามกระจก ตรงตำแหน่งคันเร่งจะมีช่องกลมๆ ที่เป็นตาแมวไว้คอยสังเกตน้ำสีเหลืองว่ามีปริมาณเหลือมากเหลือน้อย เพราะถ้าปริมาณน้ำมันเบรกที่ลดลงนั้นเกิดจากเนื้อผ้าเบรกที่ใกล้หมดทำให้มีการใช้ปริมาณน้ำมันเบรกเข้าไปแทนที่มากขึ้น อาจจะต้องสังเกตเป็นระยะ ซึ่งหากใครไม่ถนัดก้มๆ เงยๆ ตามข้อแรก วิธีนี้ก็ใช้ได้เหมือนกัน แต่ถ้าเห็นว่าน้ำมันเบรกลดลงไปแล้วก็อย่าลืมเติมน้ำมันเบรกเพิ่มเข้าไปด้วยนะจ๊ะ

5. สัมผัสจากจิตใต้สำนึก

ที่พูดมาเช่นนี้เพราะส่วนใหญ่หากใช้รถเป็นประจำทุกๆ วัน ย่อมรู้ดีถึงประสิทธิภาพในอุปกรณ์การใช้งานรถของคุณ ว่ามันถึงเวลาที่จะต้องเปลี่ยนแล้วหรือยัง หากถึงขั้นบีบจนสุด หรือเหยียบกันจนสุดจะลากถึงพื้นอยู่แล้ว แต่ก็ยังดื้อดึง เดี๋ยวก่อน เดี๋ยวก่อน ขออีกนิด... จนชีวิตคุณต้องไปแขวนอยู่บนเส้นด้าย ก็คงจะช่วยอะไรไม่ได้เหมือนกัน หรือหากเป็นคนชอบจด ก็บันทึกไว้ ใช้ระยะทางเป็นตัวกำหนดไปเลยก็ได้ ตั้งเป้าเปลี่ยนทุกๆ 4,000 - 5,000 กม. ง่ายๆ สบายใจดี.....
ทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นเพียงความรู้เบื้องต้น ซึ่งแต่ละคนอาจมีเทคนิคหรือวิธีที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลก็ขึ้นอยู่กับความใส่ใจ และเพื่อความปลอดภัยของท่านและผู้ร่วมทาง ถึงอะไหล่จะแพง ยังไงก็ต้องเปลี่ยนนะครับ 
แท็กที่เกี่ยวข้อง ข้อควรรู้ก่อนผ้าเบรกหมด ดูอาการผ้าเบรกหมด ผ้าเบรกมอเตอร์ไซค์หมด วิธีดูผ้าเบรกมอเตอร์ไซค์ ผ้าเบรกมอเตอร์ไซค์
Motorbike Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Motorbike Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)