ประเมินวงเงินรู้ผลใน 3 นาที

กับ กรุงศรี ออโต้ พร้อมสตาร์ท

เริ่มประเมินวงเงินพร้อมสตาร์ท
ผ่านมือถือ สแกนเลย

ดูวงเงินพร้อมสตาร์ทที่ได้รับ

x
icon-filter ค้นหารถมอเตอร์ไซค์
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับยางมอเตอร์ไซค์

icon 21 ก.ย. 58 icon 9,419
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับยางมอเตอร์ไซค์

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับยางมอเตอร์ไซค์
ส่วนสำคัญมากอีกส่วนในจักรยานยนต์ก็คือ "ยาง" ซึ่งมีหน้าที่สัมผัสกับพื้นผิวถนนอยู่ตลอดเวลา ยางจึงเป็นสิ่งสำคัญที่เราต้องตรวจสอบอยู่เสมอว่ามีสภาพดีพร้อมใช้งานหรือเปล่า ดังนั้นจึงต้องเลือกใช้ยางให้ถูกต้องและเหมาะสมกับการใช้งานกับรถมอเตอร์ไซค์ของเรา โดยสิ่งที่ควรพิจารณามีดังนี้

ชนิดของยางมอเตอร์ไซค์


  • ควรเลือกใช้ยางขนาดเดิมที่ได้รับการประกอบมาจากโรงงานผู้ผลิตรถมอเตอร์ไซค์ เพราะผู้ผลิตรถมอเตอร์ไซค์ได้ออกแบบขนาดยางให้เหมาะสมกับขนาดของรถมอเตอร์ไซค์แต่ละรุ่น ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัย และสมรรถนะที่เหมาะสม
  • หากมีความต้องการจะเปลี่ยนขนาดยาง ก็อาจจะเปลี่ยนได้บ้าง แต่ควรจะต้องคงไว้ซึ่งขนาดหน้ากว้างของยาง และขนาดวงล้อ เช่น ยางที่ติดรถมาเป็นขนาด 70/90-17 เราอาจจะสามารถเปลี่ยนเป็น 70/80-17 หรือ 70/100-17 ได้ แต่ไม่ควรเปลี่ยนวงล้อจาก 17 เป็นวงล้อขนาดอื่น และไม่ควรเปลี่ยนขนาดหน้ากว้างของยางจาก 70 ไปเป็นขนาดอื่น

ขนาดของวงล้อยางมอเตอร์ไซค์


ควรใช้ขนาดความกว้างวงล้อให้เหมาะสมกับขนาดของยาง การใช้วงล้อที่แคบเกินไป หรือกว้างเกินไปจะส่งผลให้ยางไม่อยู่ในรูปทรงที่ออกแบบไว้ ซึ่งจะส่งผลต่อสมรรถนะในการขับขี่

ควรเติมลมยางมอเตอร์ไซค์เท่าไร


ความดันลมยางควรตรวจลมยางให้พอดีกับน้ำหนัก และข้อกำหนดที่บอกไว้กับยางมอเตอร์ไซค์ที่ใช้ และควรตรวจวัดความดันลมทุกครั้งที่ออกเดินทางไกล หรือตรวจความดันลมยางทุกสัปดาห์ การตรวจวัดลมยางควรทำขณะที่ยางยังเย็นอยู่ เพราะหากทำขณะที่ยางมีความร้อน อากาศภายในยางจะขยายตัวทำให้ค่าผิดเพี้ยนไป ถ้าความดันลมยางมากเกิน หน้ายางจะสัมผัสกับถนนได้น้อย ทำให้มีการสะเทือนของล้อมากกว่าปกติ และทำให้การยึดเกาะถนนน้อยลง ซึ่งอาจทำให้เกิดอันตรายได้ แต่ถ้าความดันลมยางน้อยเกิน ยางจะแบน หน้ายางจะสัมผัสกับพื้นถนนมาก ยางจะสึกหรอเร็ว และเปลืองน้ำมันมากขึ้น การเติมลมยางที่พอดีตามข้อกำหนด จะทำให้ขับขี่ปลอดภัยและช่วยยืดอายุของยางให้ใช้งานได้นานขึ้น

ข้อสังเกตระยะเวลาในการเปลี่ยนยาง


  • คำถามที่มักพบบ่อยคือ เมื่อไรควรจะเปลี่ยนยาง บางครั้งเราอาจจะรอให้ยางสึกจนหมดไม่เห็นลายดอกยางแล้ว จึงคิดถึงการเปลี่ยนยางเส้นใหม่ แต่ความจริงแล้วเป็นการเข้าใจผิดอย่างมาก และอาจส่งผลให้เกิดอันตรายในการขับขี่ได้ ยางทุกเส้นจะมีจุดบ่งบอกว่าควรเปลี่ยนยางเส้นใหม่ได้แล้ว บนยางทุกเส้นจะมีตำแน่ง TWI ซึ่งสามารถสังเกตเห็นได้ง่ายบนแก้มยาง ณ ตำแหน่งที่มีระบุ TWI อยู่ เมื่อมองลงไปในลายดอกยางแล้วเราจะเห็นว่า จะมียางนูนขึ้นมามากกว่าตำแหน่งทั่วไป เมื่อไหร่ก็ตามที่ยางสึกจนถึงตำแหน่งยางที่นูนขึ้นมาแล้ว ก็ควรจะเปลี่ยนยางเส้นใหม่
  • ทุกครั้งที่เปลี่ยนยางนอก ควรเปลี่ยนยางในไปพร้อมกันด้วย เพราะถ้ายางในยืดไปนานแล้ว เมื่อนำมาใส่กับยางนอกใหม่ อาจเกิดรอยพับที่ยางใน และจะทำให้เกิดการเสียดสีกันทำให้รั่วซึมได้

การรับน้ำหนักของยาง


ยางแต่ละเส้นจะมีระบุไว้ว่า สามารถรับน้ำหนักได้เท่าไร ซึ่งหมายรวมถึงน้ำหนักตัวรถ, น้ำหนักตัวผู้ขับขี่ และน้ำหนักบรรทุกทั้งหมด หากบรรทุกเกินน้ำหนักที่ยางจะรับได้จะทำให้เกิดแรงกดมากเกินไป, ทำให้ยางเสื่อมก่อนเวลาอันสมควร, สมรรถนะในการควบคุมรถลดลง และอาจทำให้ยางระเบิดได้

การอ่านตัวเลข และสัญลักษณ์ต่างๆ บนแก้มยางมอเตอร์ไซค์

การอ่านตัวเลขและสัญลักษณ์บนแก้มยางมีสองระบบ  คือ ระบบนิ้ว และระบบเมตริก
1) ระบบนิ้ว
  • ส่วนอธิบายขนาดประกอบด้วย ความกว้างภาคตัดของยางนอก และรหัสเส้นผ่านศูนย์กลางขนาดวงล้อ
  • ส่วนอธิบายการใช้งาน คือ อัตราชั้นผ้าใบ หรือประกอบด้วยดัชนีการรับโหลดกับสัญลักษณ์ความเร็ว
ตัวอย่างที่ 1 - "2.75-18 4 PR"
2.75 หมายถึง ความกว้างภาคตัดระบุของยางนอก

18 หมายถึง รหัสเส้นผ่านศูนย์กลางระบุของวงล้อ เท่ากับ 457 มิลลิเมตร

4 PR หมายถึง "อัตราชั้นผ้าใบ เท่ากับ 4 ชั้น"
ตัวอย่างที่ 2 - 2.75-18 42 P
2.75 หมายถึง ความกว้างภาคตัดระบุของยางนอก
18 หมายถึง รหัสเส้นผ่านศูนย์กลางระบุของวงล้อ เท่ากับ 457 มิลลิเมตร
42 หมายถึง ดัชนีการรับโหลด เท่ากับโหลดที่รับได้สูงสุด 150 กิโลกรัม

P หมายถึง สัญลักษณ์ความเร็ว เท่ากับ 150 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

2) ระบบนิ้ว
  • ส่วนอธิบายขนาด และโครงสร้าง ประกอบด้วยความกว้างภาคตัดระบุของยางนอก (ระบบมิลลิเมตร) เครื่องหมายทับ (/) อัตราส่วนลักษณะยาง รหัสโครงสร้าง ("R" หมายถึง ผ้าใบเรเดียล) และรหัสเส้นผ่านศูนย์กลางระบุของวงล้อ
  • ส่วนอธิบายการใช้งาน คืออัตราชั้นผ้าใบ หรือประกอบด้วย ดัชนีการรับโหลดกับสัญลักษณ์ความเร็ว
ตัวอย่างที่ - "90/90"17 49 P"
90 หมายถึง ความกว้างภาคตัดระบุของยางนอก
90 หมายถึง อัตราส่วนลักษณะยาง 90
17 หมายถึง รหัสเส้นผ่านศูนย์กลางระบุของวงล้อ เท่ากับ 432 มิลลิเมตร
49 หมายถึง ดัชนีการรับโหลด เท่ากับโหลดที่รับได้สูงสุด 185 กิโลกรัม
P หมายถึง สัญลักษณ์ความเร็ว เท่ากับ 150 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ยางนอกบางเส้น อาจใส่สัญลักษณ์ M/C ต่อท้ายรหัสเส้นผ่านศูนย์กลางระบุของวงล้อในชื่อขนาดยางนอกด้วย
เป็นอย่างไรกันบ้างครับ การเลือกใช้ยางเป็นเรื่องที่ไม่ยากเลยใช่ไหมครับ เพียงเราต้องสังเกตสภาพของยางอยู่เรื่อยๆ ตามระยะเวลาของมัน และการเลือกดูข้อมูลสัญลักษณ์ยางตามที่ผู้ผลิตยางกำหนดมาให้เข้าใจ เท่านั้นท่านก็สามารถที่จะใช้ยางได้เต็มประสิทธิภาพ และปลอดภัยแล้วครับ
ขอบคุณรูปภาพและข้อมูลจาก ND RUBBER
แท็กที่เกี่ยวข้อง
Motorbike Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Motorbike Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)