ประเมินวงเงินรู้ผลใน 3 นาที

กับ กรุงศรี ออโต้ พร้อมสตาร์ท

เริ่มประเมินวงเงินพร้อมสตาร์ท
ผ่านมือถือ สแกนเลย

ดูวงเงินพร้อมสตาร์ทที่ได้รับ

x
icon-filter ค้นหารถมอเตอร์ไซค์
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter

เรื่องควรรู้เกี่ยวกับหมวกกันน็อค

icon 22 ก.ย. 58 icon 3,765
เรื่องควรรู้เกี่ยวกับหมวกกันน็อค

เรื่องควรรู้เกี่ยวกับหมวกกันน็อค
ทราบกันไหมครับว่า เมืองไทยมีจักรยานยนต์มากเป็นอันดับที่ 8 ของโลก หรือ 17ล้านคัน จักรยานยนต์เป็นหนึ่งในยานพาหนะที่ได้รับความนิยม และมีการใช้อย่างแพร่หลายทั่วโลก โดยเฉพาะในประเทศไทย คนไทยใช้มอเตอร์ไซค์มากที่สุดเป็นอันดับ 8 ของโลก ราว 17 ล้านคัน คิดเป็นร้อยละ 62 ของรถจดทะเบียนสะสมทั้งหมดของประเทศ สัดส่วนการถือครองจักรยานยนต์สูงถึง 4 คนต่อคัน เพราะราคาไม่แพง และมีความคล่องตัวในการใช้
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับหมวกกันน็อค


ข้อเท็จจริงจากผลการศึกษาผู้บาดเจ็บจากการใช้รถจักรยานยนต์ในประเทศไทย และต่างประเทศยืนยันชัดเจนตรงกันว่า 
การสวมหมวกนิรภัยสามารถช่วยลดการบาดเจ็บได้ โดยหมวกกันน็อคสามารถช่วยลดความเสี่ยง และความรุนแรงของการบาดเจ็บที่ศีรษะลงได้ 72 และช่วยลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้ถึง 39% ในกรณีที่ใช้ความเร็วไม่สูงมากนักขณะเกิดอุบัติเหตุ นอกจากนี้ยังช่วยประหยัดค่ารักษาพยาบาล และลดจำนวนวันที่ต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาลด้วยนะครับ (เพราะบาดเจ็บน้อยกว่า)
หลักการทำงานของหมวกกันน็อค
เมื่อเกิดอุบัติเหตุ ส่วนใหญ่ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์มักถูกเหวี่ยงออกจากรถทำให้ศีรษะกระทบกับวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น พื้นถนน เป็นต้น หมวกนิรภัยที่ได้มาตรฐานจะถูกออกแบบให้วัสดุภายนอกมีความแข็งแรงสามารถปกป้องศีรษะจากการกระแทกพื้นถนนได้ หมวกนิรภัยที่มีมาตรฐานดังกล่าวจะช่วยดูดซับ และกระจายแรงกระแทกไม่ให้ส่งต่อไปยังศีรษะด้านในด้วยวัสดุที่มีคุณสมบัตินุ่ม และยืดหยุ่นพิเศษในการซับแรงในกรณีเกิดอุบัติเหตุจากการใช้รถจักรยานยนต์
กลไกการทำงานของหมวกกันน็อค
การป้องกันและลดแรงกระแทกขั้นแรกของหมวกกันน็อค เริ่มที่ส่วนเปลือกนอกของหมวกซึ่งจะออกแบบให้ผลิตจากวัสดุที่มีความแข็งแรงทนทานต่อแรงกระแทก และสามารถจัดการกับพลังงานที่เกิดขึ้นจากการชน จากนั้นจะเป็นหน้าที่ของวัสดุภายในหมวกกันน็อคซึ่งมักทำจากโฟมซึ่งมีคุณสมบัติพิเศษ สามารถยืดหยุ่นได้เมื่อถูกกระแทก โดยสามารถดูดซับ และกระจายแรงกระแทกอันจะช่วยยืดช่วงเวลาก่อนที่ศีรษะจะหยุดการเคลื่อนไหวออกไปอีกประมาณ 6 มิลลิวินาที ซึ่งแม้จะเป็นระยะเวลาที่สั้นมากแต่ก็มีประโยชน์มาก เพราะสามารถช่วยลดแรงกระแทกไม่ให้ไปรวม ณ พื้นที่เล็กๆ ส่วนใดส่วนหนึ่งของกะโหลกศีรษะ ลดแรงกระแทกต่อเนื้อสมองโดยรวม ลดแรงหมุน ตลอดจนลดความตึงเครียดภายในได้
องค์ประกอบของหมวกกันน็อค

เปลือกนอก - ทำจากวัสดุชนิดพิเศษ จะต้องแข็งแรง น้ำหนักเบา เพื่อสามารถทนแรงกระแทกจากของแข็ง และของมีคมได้โดยไม่แตก หรือทะลุได้ง่าย 
รองใน - เป็นชั้นบุที่ทำมาจากวัสดุที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเป็นพิเศษ มีคุณสมบัติอ่อนนุ่ม ยืดหยุ่น ความหนาแน่นสูง สามารถรับและกระจายแรงกระแทกได้ดี ส่วนใหญ่ทำจากแผ่นโฟมชนิดโพลีสไตรีนที่ยืดออก หรือเรียกว่า "สไตโรโฟม"
แผ่นกันลม - ติดอยู่ด้านหน้าของหมวกกันน็อค สำหรับป้องกันแสง ฝุ่น ฝน แมลง ฯลฯ ที่จะเข้าตาในขณะขับขี่รถจักรยานยนต์ มีทั้งชนิดใส เพื่อใช้ในเวลากลางคืน และชนิดทึบเพื่อใช้ในเวลากลางวันที่มีแดดจัด สามารถถอดเปลี่ยนได้
เบาะหุ้มภายใน - ส่วนประกอบที่เพิ่มความอ่อนนุ่มขณะสวมใส่ สามารถถอดออกได้เพื่อทำความสะอาด
สายรัดคาง - ทำหน้าที่รัดให้หมวกกันน็อคติดแนบกับศีรษะไม่หลุดง่าย แต่ต้องรัดให้ถูกวิธี หากรัดไว้หลวมๆ หรือไม่รัด หมวกอาจหลุดออกจากศีรษะโดยง่ายเป็นเหตุให้ศีรษะยังคงเสี่ยงที่จะได้รับอันตราย และบาดเจ็บเสมือนไม่ได้สวมหมวก
ช่องระบายอากาศ - ทำหน้าที่ถ่ายเทความร้อนภายในหมวกให้ผู้สวมใส่รู้สึกสบายขณะที่สวมใส่ จะต้องมีขนาดไม่เกิน 1 เซ็นติเมตร และต้องออกแบบอยู่ในตำแหน่งที่ปลอดภัย
ประเภทของหมวกกันน็อค
1. หมวกเต็มใบ 
สามารถป้องกันศีรษะทั้งด้านหน้า ด้านหลัง และบริเวณคาง โดยทั่วไปจะมีน้ำหนัก ตั้งแต่ 1.2 ถึง 1.5 กิโลกรัม
2. หมวกเปิดหน้า
สามารถปกป้องศีรษะทั้งส่วนบนส่วนล่าง และบริเวณส่วนหลัง ตลอดจนบริเวณกกหู มีน้ำหนักปานกลางประมาณ 700 กรัมถึง 1 กิโลกรัม
3. หมวกครึ่งใบ
มีลักษณะคล้ายหมวกเจ้าหน้าที่ตำรวจ มีน้ำหนักเบา ปกป้องได้แค่ครึ่งบนของศีรษะ
วิธีเลือกหมวกกันน็อค

  1. หมวกกันน็อคแบบปิดเต็มหน้าดีที่สุด บังลม กันฝุ่น ให้ความปลอดภัยทั้งศีรษะ ไม่ต้องกลัวหายใจไม่ออกหรือไม่ได้ยินเสียง เพราะมีการเจาะรูระบายอากาศไว้ให้เรียบร้อยแล้ว
  2. เลือกหมวกกันน็อคที่มีตรามาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.369-2539) ที่อยู่ของผู้ผลิตที่มีรายชื่อว่าได้รับมาตรฐานของสมอ. และคำแนะนำวิธีใช้
  3. หมวกมีมาตรฐานแต่ละแบบน้ำหนักจะมากกว่าหมวกกันน็อคที่ไม่ได้มาตรฐานเล็กน้อย ไม่ถึงกับทำให้หนักศีรษะ 
  4. ของแถมของฟรีที่ได้มาจากร้านขายรถจักรยานยนต์ อาจเป็นหมวกที่ไม่มีมาตรฐาน ใช้แล้วอาจยุบ หรือเจ็บตัวได้แม้เกิดอุบัติเหตุไม่รุนแรงก็ตาม
  5. เลือกสีที่มองออกได้เด่นชัด เช่น สีเหลือง ส้ม แดง เพราะสามารถมองเห็นได้แต่ไกล
หมวกกันน็อคมีเวลาหมดอายุไขการใช้งาน โดยปกติแล้วจะมีอายุการใช้งานประมาณ 3 ปี เกินกว่านั้นควรหาซื้อใหม่จะดีกว่า เพราะหากเกิดอุบัติเหตุจะไม่คุ้ม เนื่องจากการเสื่อมสภาพของพลาสติก และโฟมจนไม่สามารถรับแรงกระแทกแทนศีรษะได้ และหมวกที่เคยตก เคยกระแทกมาแล้ว อายุการใช้งานก็จะน้อยลงไปด้วยเช่นกัน
หวังว่าทุกท่านคงจะขับขี่อย่างปลอดภัย ใช้ความเร็วตามที่กฏหมายกำหนด และใช้หมวกกันน็อคที่ถูกต้องได้มาตรฐานเพื่อความปลอดภัยของทุกคนนะครับ

แท็กที่เกี่ยวข้อง
Motorbike Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Motorbike Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)