ประเมินวงเงินรู้ผลใน 3 นาที

กับ กรุงศรี ออโต้ พร้อมสตาร์ท

เริ่มประเมินวงเงินพร้อมสตาร์ท
ผ่านมือถือ สแกนเลย

ดูวงเงินพร้อมสตาร์ทที่ได้รับ

x
icon-filter ค้นหารถมอเตอร์ไซค์
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter

อยากมีบิ๊กไบค์ : 4 ข้อที่ควรคำนึงถึงก่อนซื้อ

icon 20 มิ.ย. 60 icon 22,640
อยากมีบิ๊กไบค์ : 4 ข้อที่ควรคำนึงถึงก่อนซื้อ

อยากมีบิ๊กไบค์ : 4 ข้อที่ควรคำนึงถึงก่อนซื้อ

หลายๆ คนที่อยากได้ อยากซื้อ อยากขี่ บิ๊กไบค์ที่เพื่อนบ้าน คนในซอย สหายที่มหาวิทยาลัย หรือที่คนอื่นๆ ขี่กันให้ขวักไขว่ เห็นตามแทบทุกสี่แยกในเวลานี้ และกำลังคิดว่าจะทำอย่างไร ถ้าจะหามาประดับความเป็นชายชาตรี ผู้รักอิสรภาพและสายลมแสงแดด เรามาว่ากันเป็นสเต็ป ดังนี้ครับ

1. ถามตัวเองก่อนว่าอยากได้จริงมั้ย
ข้อแรก สำคัญมาก คุณต้องถามตัวเองก่อนว่า อยากมีจริงมั้ย และจะมีเพื่อวัตถุประสงค์อะไร บางคนเห็นคนอื่นมีก็อยากซื้อมาใช้บ้าง แต่พอถึงเวลาขี่จริงๆ อาจจะขี่แค่ครั้งสองครั้ง รถติด ร้อน เจอฝน ก็จอดทิ้งไว้ซะงั้น ไม่นานก็ขายขาดทุนกันไป ถ้าคุณมั่นใจว่าจะซื้อมาเอ็นจอยกับการขี่ กับการแต่ง แม้กระทั่งการจอดไว้ลูบๆ คลำๆ ตามความฝันวัยเด็ก ก็ไปที่ข้อ 2 กันต่อ

2. ปรึกษากับคนในครอบครัวก่อน
ข้อนี้สำหรับคุณผู้ชายที่มีครอบครัวแล้ว ถามตัวเองแล้วไม่พอ ต้องถามคุณแม่บ้านด้วย เท่าที่ผู้เขียนเห็นมา อย่างน้อย 9 ใน 10 คนที่ซื้อบิ๊กไบค์ ต้องขออนุญาตภรรยาก่อน ถามว่าทำไม ก็เพราะบางบ้าน ภรรยาเป็นนายธนาคารประจำบ้าน ไม่อนุมัติให้ถอนเงิน คุณก็อดแน่นอน นอกจากจะมีเงินเก็บไว้ที่อื่น แต่ถึงอย่างไรก็มักต้องขอภรรยาก่อนอยู่ดี เพราะนอกจากเรื่องเงิน ก็ยังมีเรื่องความปลอดภัยด้วย สำหรับใครที่ยังไม่มีครอบครัว ก็ควรปรึกษากับพ่อแม่ หรือแฟนก่อนด้วยนะครับ

3.  เช็คงบของตัวเอง
จากเรื่องอยากไม่อยาก คนที่บ้านโอเค ก็มาต่อกันที่เรื่องเงินในกระเป๋าของเรานั่นเอง งบในการซื้อบิ๊กไบค์สักคันไม่ใช่แค่เงินที่จะนำมาซื้อรถเพียงอย่างเดียว จะคิดแค่ว่าไม่มีเงินสดก็ผ่อนได้ไม่ได้ เพราะการมีบิ๊กไบค์ตามมาด้วยค่าใช้จ่ายมากมาย เริ่มตั้งแต่ค่าประกัน ซึ่งไฟแนนซ์จะบังคับให้ทำ ค่าประกันสำหรับมอเตอร์ไซค์บางคันอาจแพงกว่าประกันรถยนต์ที่คุณจ่ายอยู่ทุกๆ ปี ใครที่คิดว่าจะซื้อมาขี่ไปทำงานแทนรถยนต์โดยหวังจะประหยัดค่าน้ำมัน เช็คดีๆ นะครับ บิ้กไบค์บางคันกินน้ำมันระดับ 10 กม./ลิตร ซึ่งไม่ได้ประหยัดไปกว่าขับรถยนต์เท่าไหร่เลย นอกจากนั้นค่าเสื้อผ้า หมวกกันน็อค ถุงมือ รองเท้า รวมๆ แล้วอาจตกหลายหมื่น ที่สำคัญมักไม่ได้จบที่ชุดเดียว หมวกก็ต้องมีทั้งแบบเต็มใบ ทั้งเปิดหน้า เจอสวยๆ ก็อยากซื้อใหม่ซื้อเพิ่ม ไม่จบง่ายๆ ค่าบำรุงรักษาบิ๊กไบค์แต่ละคันก็ไม่น้อย เช็คระยะก็หลักพันและอาจเป็นหลักหมื่นถ้าเป็นช่วงที่ต้องเช็คครั้งใหญ่หลายๆ อย่าง

4. ประเมินทักษะในการขับขี่ของตัวเราเอง
ถ้าไล่ดูทั้ง 3 ข้อแล้วยังมั่นใจ มาต่อกันที่ข้อสุดท้าย ข้อนี้คือความสามารถ ทักษะในการขับขี่ของตัวเราเอง บางคนเคยขี่รถเล็กๆ ระดับ 110 ซีซี พวกฟีโน่ พวก MSX มา อาจจะคิดว่ามอเตอร์ไซค์ก็เหมือนๆ กัน มองดูเผินๆ ก็ใช่ล่ะครับ 2 ล้อเหมือนกันคงไม่ต่างกันมาก แต่จริงๆ แล้ว มันคนละเรื่องกันเลย ยิ่งถ้าไปเล่นรถสปอร์ตระดับ 500 - 600 ซีซีขึ้นไป ยิ่งต้องมีความชำนาญพอสมควร ถ้าหลัก 1,000 ซีซีนี่ยิ่งอันตรายสำหรับมือใหม่ ความแรงระดับร่วม 100 หรือมากกว่า 100 แรงม้า นี่เทียบกับรถเล็กๆ ไม่ได้เลย บิดแปบเดียวแตะระดับความเร็วหลักร้อยในไม่กี่วินาที คนไม่เคยนี่เหวอเอาง่ายๆ ถ้าอยากขี่สนุกและปลอดภัย แนะนำให้ไปลงคอร์สที่สอนการขับขี่เพื่อให้ชำนาญเสียก่อน จะได้ขี่อย่างมีความสุขและปลอดภัยครับ

เมื่อลองพิจารณาครบทั้ง 4 ข้อแล้ว ถ้ายังมั่นใจ ผ่ายฉลุยทุกข้อ ก็จัดได้เลยครับ!
แท็กที่เกี่ยวข้อง bigbike บิ๊กไบค์ อยากมีบิ๊กไบค์
Motorbike Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Motorbike Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่





เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)