สงกรานต์นี้ อย่าลืมพก "สติ" ติดตัวไปด้วย
สงกรานต์เป็นเทศกาลที่หลายคนเตรียมตัวเดินทางเพื่อกลับภูมิลำเนาหรือท่องเที่ยว เนื่องจากมีวันหยุดยาวต่อเนื่อง สังเกตได้จากรถบนท้องถนนตามเขตเมืองหลวงต่างๆ เช่น กรุงเทพฯ รถเริ่มโล่ง และการจราจรจะแน่นในเส้นทางที่ออกต่างจังหวัดหรือตามสถานีขนส่งต่างๆ
สิ่งหนึ่งที่ผู้ใช้รถใช้ถนนพบเจอในเทศกาลสงกรานต์อยู่บ่อยๆ นั่นคือ อุบัติเหตุ ทั้งจากรถยนต์ รถประจำทาง รถตู้สาธารณะ และรถจักรยานยนต์ โดยสาเหตุหลักมักเกิดจาก "ความประมาท" ดังนั้นการใช้รถในช่วงเทศกาลสงกรานต์และเทศกาลอื่นๆ สิ่งที่จำเป็นต้องพกติดตัวไปตลอดการเดินทางก็คือความมี "สติ"
ก่อนการเดินทางไกลทุกครั้งควรวางแผนการเดินทางเอาไว้ก่อนล่วงหน้าเริ่มตั้งแต่ "
เช็คมอเตอร์ไซค์คันโปรดก่อนออกทริปวันหยุด" ตรวจสอบความเรียบร้อยก่อนเดินทางทั้งระบบของเหลว ระบบไฟฟ้า สภาพดอกยาง-ลมยาง ช่วงล่าง ท่อทางเดินน้ำมันเชื้อเพลิงต่างๆ ต้องพร้อมเดินทางเสมอ รวมถึงการวางแผนเส้นทางเพื่อให้ถึงจุดหมายอย่างสะดวกรวดเร็วและปลอดภัย ซึ่งสามารถตรวจเส้นทาง และแจ้งเหตุต่างๆ ได้ที่หมายเลขสายด่วนดังนี้
หน่วยงาน | หมายเลขโทรศัพท์ |
ศูนย์ปลอดภัยคมนาคม | 1356 |
ศูนย์คุ้มครองผู้โดยสารรถสาธารณะ กรมการขนส่งทางบก | 1584 |
สายด่วน กรมทางหลวง | 1586 |
ตำรวจทางหลวง | 1193 |
ตำรวจท่องเที่ยว | 1195 |
ศูนย์ช่วยเหลือนักท่องเที่ยว | 1155 |
ศูนย์นเรนทร (แจ้งป่วยฉุกเฉิน) | 1669 หรือ 02-354-8222 |
หน่วยแพทย์กู้ชีวิต กทม. | 1554 |
ศูนย์วิทยุกรุงธน | 02-451-7228 |
ศูนย์วิทยุรามา | 02-354-6999 |
ศูนย์วิทยุปอเต็กตึ๊ง 24 ชม. | 02-226-4444-8 |
อุบัติเหตุทางน้ำ กองบังคับการตำรวจ | 1196 |
จส.100 | 1137 |
สถานีจราจรเพื่อสังคม FM 99.5 | 1255 |
สวพ.91 | 1644 |
ร่วมด้วยช่วยกัน FM 102.75 | 1677 |
ศูนย์ควบคุมการจราจร | 1197 |
สอบถามหมายเลขโทรศัพท์ทั่วประเทศ | 1133 |
ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ | 02-132-1888 , 02-132-5140 |
การบินไทย | 1566 หรือ 02-356-1111 |
สอบถามข้อมูลเที่ยวบิน | 02-132-0000 |
- ระหว่างประเทศ | 02-134-5453-6 (24 ชม.) |
- ในประเทศ | 02-134-5473-4 |
นกแอร์ | 1318 หรือ 02-628-2000 |
สถานีขนส่ง | |
- สายตะวันออกเฉียงเหนือ (หมอชิต 2) | 02-936-2852-66 ต่อ 611 |
- สายเหนือ (หมอชิต 2) | 02-936-2852-66 ต่อ 311 |
- สายใต้ (ตลิ่งชัน) | 02-434-7192, 02-435-1195-6 |
- สายตะวันออก (เอกมัย) | 02-391-8097, 02-391-2504 |
การรถไฟแห่งประเทศไทย | 1690 |
สถานีรถไฟกรุงเทพ | 02-223-3777 |
ไฟฟ้าขัดข้อง | 1130 |
น้ำประปาขัดข้อง | 1125 |
สอบถามสภาพจราจร | 1543 |
ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ | 192 |
"เมาไม่ขับ" นับเป็นวลีที่ทุกคนรับทราบกันดี แต่ก็ยังมีผู้ที่ดื่มสุราแล้วขับอีกมากมาย ซึ่งสติในข้อนี้ก็คือ อย่างขับรถจักรยานยนต์ในขณะมึนเมาหรือสภาพไม่พร้อม เพราะสาเหตุของการเสียชีวิตของผู้ขับขี่รถมอเตอร์ไซค์มากที่สุดคือ "เมาแล้วขับ" และพานพาหนะมีเกิดเหตุมากที่สุดคือ จักรยานยนต์
สาเหตุอันดับรองลงมาจากการเมาแล้วขับมักเกิดจากความประมาท คึกคะนอง และคิดว่าตนเองเก่ง จึงขับขี่ด้วยความเร็วสูง แข่งกันได้ถนนสาธารณะ ไม่สวมหมวกกันน็อคเพราะเห็นว่าไปไม่ไกล หรือนั่งซ้อนสาม เป็นต้น พฤติกรรมเหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุให้เกิดอุบัติเหตุไม่มากก็น้อย
สติ - รู้ตัวว่าขับรถรถอยู่
สติต่อไปนี้สำคัญมากนั่นคือการรู้ตัวเองว่ากำลังขับขี่รถจักรยานยนต์บนท้องถนนหลวงอยู่ร่วมกับเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ หรือญาติผู้ใหญ่ที่เป็นคนไทยด้วยกัน เราจึงควรเอื้อเฟื้อและมีความเห็นใจกัน และไม่สร้างความเดือดร้อนรำคาญให้แก่ผู้อื่น
สติ - ใจร่มๆ ไม่ร้อนเหมือนอากาศ
ท่ามกลางอากาศที่ร้อนระอุของประเทศไทยส่งผลให้เกิดความเครียดและร้อนรนขึ้นได้เสมอ โดยเฉพาะผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ที่ต้องผจญกับความร้อนทั้งจากแสงแดด รวมถึงความร้อนจากพื้นถนนและเครื่องยนต์จากรถยนต์ ทำให้เกิดความร้อนใจและเร่งรีบจะไปให้ถึงจุดหมาย จนในบางครั้งอาจลืมคำนึงถึงความปลอดภัย เช่น ใช้ความเร็วสูงๆ ในสภาพจราจรที่หนาแน่น ขับปาดหน้าไปมาเปลี่ยนช่องทางบ่อยๆ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้เกิดอุบัติเหตุได้ และอาจถึงจุดหมายช้าลงกว่าเดิมแถมต้องได้รับบาดเจ็บหรืออาจถึงขั้นเสียชีวิตก็เป็นได้ นอกจากนี้อาจเกิดเหตุกระทบกระทั่งกับผู้ร่วมทาง หากผู้ใช้รถจักรยานยนต์ใจเย็นมากขึ้น ใช้ความเร็วเหมาะสม เคารพกฎจราจร ก็จะช่วยเพิ่มความปลอดภัยได้มากขึ้น
สติ - ไม่โทร.. ไม่เหม่อ.. และมีสมาธิ
การขับขี่รถจักรยานยนต์จำเป็นต้องมีความรอบคอบโดยใช้มีสติและสมาธิในการขับขี่มากถึงมากที่สุด เพราะต้องใช้ทั้งทักษะการควบคุมรถ การระวังสิ่งอันตรายรอบๆ ตัว ระวังเรื่องคนข้ามเดินถนน รถยนต์ที่อาจขับเบียดไป-มา นอกจากนี้ยังต้องคอยระวังสภาพถนนที่ชำรุดหรือฝาท่อกลางเลนอีกด้วย เพราะหากผู้ขับขี่ไม่ระวัง ขับไปโทรไปหรือเหม่อลอยจนลืมดูสิ่งต่างๆ รอบๆ ตัวในขณะขับขี่ ก็อาจเป็นสาเหตุให้รถเสียหลักหรือเกิดอุยัติเหตุได้
รถจักรยานยนต์เป็นพาหนะที่หลายๆ คนเรียกกันว่า "เนื้อหุ้มเหล็ก" ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นก็ตาม ร่างกายของผู้ขับขี่จะต้องบาดเจ็บตามไปด้วย อย่าลืมใส่หมวกกันน็อคทุกครั้งที่ขับขี่ให้คุ้นเคย ขับขี่ให้ช้าลง และเคารพกฎหมาย เพื่อความปลอดภัยของเราเองครับ