ประเมินวงเงินรู้ผลใน 3 นาที

กับ กรุงศรี ออโต้ พร้อมสตาร์ท

เริ่มประเมินวงเงินพร้อมสตาร์ท
ผ่านมือถือ สแกนเลย

ดูวงเงินพร้อมสตาร์ทที่ได้รับ

x
icon-filter ค้นหารถมอเตอร์ไซค์
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter

เช็คมอเตอร์ไซค์คันโปรดก่อนออกทริปวันหยุด

icon 19 เม.ย. 64 icon 27,079
เช็คมอเตอร์ไซค์คันโปรดก่อนออกทริปวันหยุด

เช็คมอเตอร์ไซค์คันโปรดก่อนออกทริปวันหยุด

เมื่อถึงเทศกาลวันหยุดยาว นักบิดหลายท่านคงเตรียมตัวออกทริปสัมผัสอากาศเย็นสบายให้สายลมปะทะใบหน้ากันอย่างใจจดใจจอ แต่ก่อนอื่นต้องเตรียมรถให้พร้อมสำหรับการเดินทาง เพื่อให้ถึงจุดหมายอย่างปลอดภัย และไม่ว่ารถเล็กหรือรถใหญ่ก็ต้องพร้อมทุกสถานการณ์ มาดูว่าควรตรวจเช็คอะไรบ้าง 

สภาพเครื่องยนต์

เตรียมความพร้อมของเครื่องยนต์ เช่น ตรวจดูสิ่งแปลกปลอมที่อาจรั่ว ซึม หยด หรือมีท่อทางเดินของเหลวต่างๆ ที่มีสภาพเปื่อยและแตกร้าวหรือไม่ หากพบให้จัดการเปลี่ยนทันที 

ระบบไฟ เช่น หัวเทียน หากพอมีความรู้สามารถถอดออกมาตรวจเช็คเบื้องต้นได้ ให้ถอดหัวเทียนออกมา สังเกตุความสะอาดของบริกเวณเขี้ยวดูว่ามีคราบเขม่าดำเป็นยางเหนียวหรือไม่ หากพบควรเปลี่ยนทันที ส่วนระบบคอยล์จุดระเบิดเป็นสิ่งที่คาดการณ์ได้ยาก ให้ดูอายุการใช้งานเป็นหลักก่อนหากใช้งานมาเป็นระยะทางเกินกว่า 10,000 - 20,000 กิโลเมตร (ตัวเลขประมาณการณ์ขึ้นกับรุ่นและรถแต่ละยี่ห้อ) หากเป็นไปได้ก็ควรเปลี่ยนหรือตรวจเช็คที่ศูนย์บริการฯ เพื่อความมั่นใจ

ระบบคลัตช์ ให้สังเกตุว่าการออกตัว การเปลี่ยนเกียร์มีความนุ่มนวลหรือไม่ เช่น เมื่อออกตัวมีอาการคลัตช์ลื่น อาจเกิดจากผ้าคลัตช์หมด นั่นคือ เร่งเครื่องรอบสูงมากกว่าปกติแต่รถเคลื่อนที่ไปไม่เร็วนัก และอาจเกิดจากสาเหตุของสายคลัตช์หลุด หลวมหรือหย่อนเกินไป และรุ่นที่ใช้ระบบน้ำมันคลัตช์ไฮดรอลิกส์ก็อาจตรวจระดับน้ำมันคลัตช์ว่าถูกต้องหรือไม่ 

ส่วนรถแบบเกียร์ CVT รถ AT และรถเกียร์วนต่างๆ นั้นให้สังเกตุการเร่ง การออกตัวว่ามีอาการตื้อไม่พุ่งผิดปกติหรือไม่ หากมีอาการนี้ให้เข้าศุนย์บริการฯ หรือร้านซ่อมมาตรฐานเพื่อตรวจเช็ตระบบคลัตช์, ชุดเฟืองออโตเมติดอย่างละเอียด

ระบบเกียร์ให้สังเกตุว่า การเข้าเกียร์ การเปลี่ยนตำแหน่งแต่ละครั้งนั้น มีอาการกระตุกมากน้อยเพียงใด หรือเข้าเกียร์ยากเกินไปหรือไม่ หากพบให้นำรถเข้าศูนย์บริการฯ เพื่อตรวจเช็คอย่างละเอียดทันที

ระบบของเหลว

ระบบของเหลว ได้แก่ น้ำในหม้อพักน้ำต้องอยู่ในระดับถูกต้องคือ MAX น้ำมันเครื่องไม่พร่องลงต่ำกว่าระดับปกติ โดยบางรุ่นอาจดูได้ที่ตาแมวใสๆ น้ำมันเบรกมีเต็มระบบหรือไม่ และสุดท้ายน้ำมันเชื้อเพลิง อย่าลืมเติมเต็มถังก่อนเดินทางนะครับ

หม้อน้ำส่วนมากจะมีถังพักน้ำไว้เติมต่างหาก

ฝาเต็มน้ำหม้อพักน้ำ


ตรวจเช็คท่อทางเดินน้ำด้วยว่ามีรั่วซึมหรือไม่

ระบบส่งกำลัง

ระบบส่งกำลัง ส่วนมากมักจะใช้โซ่เป็นตัวส่งผ่านจากสเตอร์หน้าของเครื่องยนต์ไปที่สเตอร์ล้อหลังให้เช็คดูว่ามีสภาพแห้งเกินไปหรือไม่ ควรใช้น้ำมันเครื่องหรือน้ำมันหล่อลื่นชโลมทีละนิด และสังเกตุสภาพฟันเฟือนของสเตอร์ด้วยว่ามีการบิ่น สึกหรอมากน้อยเพียงใด หากพบควรเปลี่ยนหรือซ่อมแซมทันที

สำหรับบิ๊กไบค์รุ่นที่ใช้เพลาขับเคลื่อน อาจไม่สามารถถอดแยกชิ้นส่วนออกมาได้อย่างสะดวก เพราะมีท่อเหล็กหุ้มด้านนอกเอาไว้อีกชั้น ดังนั้น หากเป็นไปได้ควรนำรถเข้าศูนย์บริการฯ เพื่อตรวจเช็คอย่างละเอียดอีกครั้งหนึ่งก่อนออกเดินทาง

ล้อและยาง

ขั้นตอนต่อไปตรวจเช็คล้อและยาง โดยตัวล้อนั้นมีรอยรั่ว บิ่นหรือแตกที่ก้าน หรือขอบล้อหรือไม่ เพราะอาจเป็นสามารถเหตุให้เกิดการรั่วซึมของยางได้ ส่วนยางควรมีสภาพสมบูรณ์ เช่น เนื้อยางมีลักษณะนิ่มตัว กดด้วยเล็บต้องคลายตัวได้ดี ร่องดอกยางมีความลึกไม่ต่ำกว่า 1.5 มิลลิเมตร และแก้มยางกับหน้ายางต้องไม่มีรอยแตกลายงาหรือราวฉีดขาด หากพบควรรีบเปลี่ยนทันที 

ในความเป็นจริงแล้ว แม้ว่าเพิ่มเปลี่ยนยางมาใหม่และไม่ค่อยได้ใช้งาน จอดทิ้งไว้จนยางหมดอายุ แม้จะดูสภาพรวมแล้วยังดี แต่หากจับดูเนื้อยางก็อาจแข็งและไม่ยึดจับกับถนน ส่งผลให้เกิดการลื่นไถลเมื่อเจอน้ำท่วมขังหรือในขณะเค้าโค้งที่ความเร็วสูงๆ ได้  

ระบบไฟส่องสว่าง
ระบบไฟทั้งหมดได้แก่ ไฟหน้า สูง-ต่ำ ไฟเลี้ยว ไฟหรี่ท้าย ไฟเบรก ต้องติดครบทุกดวง เพื่อความปลอดภัยยามค่ำคืน และเพิ่มทัศนวิสัยในการมองเห็นทั้งกลางวันและกลางคืนได้ดี   




สุดท้ายสังเกตุไฟเตือนต่างๆ บนหน้าปัดมีอะไรผิดปกติหรือไม่
อย่าลืมซื้อ พรบ.
สิ่งสำคัญอีกอย่างที่ห้ามขาดนั่นคือ พรบ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ซึ่งจำเป็นต้องซื้อควบคู่กับการต่อทะเบียนรถ และนอกจากนี้ พรบ. ยังสามารถช่วยเหลือค่าใช้จ่ายต่างๆ หากเกิดเหตุไม่คาดคิดขึ้น รวมถึงหากไม่มีพบติดรถเอาไว้ก็อาจมีความผิดได้นะครับ
การตรวจเช็คเบื้องต้นเป็นการสังเกตุและหาสิ่งผิดปกติของรถคู่ใจเท่านั้น หากจะให้มั่นใจและปลอดภัยมากยิ่งขึ้นควรนำรถเข้าตรวจเช็คก่อนเดินทางอีกครั้งที่ศูนย์บริการฯ หรือร้านซ่อมที่มีมาตรฐาน เพื่อให้เดินทางออกทริปได้อย่างสบายใจหายห่วง และสามารถนำไปใช้ในการตรวจเช็ครถมอเตอร์ไซค์ก่อนใช้งานอย่างน้อย 1 ครั้งต่อสัปดาห์ได้อีกด้วย
แท็กที่เกี่ยวข้อง เช็ครถ ตรวจเช็คบิ๊กไบค์ เช็ครถก่อนเดินทาง
Motorbike Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Motorbike Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)