ประเมินวงเงินรู้ผลใน 3 นาที

กับ กรุงศรี ออโต้ พร้อมสตาร์ท

เริ่มประเมินวงเงินพร้อมสตาร์ท
ผ่านมือถือ สแกนเลย

ดูวงเงินพร้อมสตาร์ทที่ได้รับ

x
icon-filter ค้นหารถมอเตอร์ไซค์
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter

แต่งรถอย่างไร ให้ปลอดภัยและถูกกฎหมาย

icon 19 เม.ย. 64 icon 94,422
แต่งรถอย่างไร ให้ปลอดภัยและถูกกฎหมาย

แต่งรถอย่างไร ให้ปลอดภัยและถูกกฏหมาย

การตกแต่งมอเตอร์ไซค์และโมดิฟายด์ ไม่ว่าจะเป็นตัวรถ ล้อแม็ก หรือเครื่องยนต์รวมถึงท่อไอเสีย เป็นประเด็นสำคัญในสังคมทุกวันนี้ เพราะว่าเกณฑ์ในการตัดสินของเจ้าหน้าที่ตำรวจมักมาจากดุลยพินิจและอิงกับข้อบังคับตามกฏหมาย แต่บ้งครั้งก็มีอุปกรณ์หลายชนิดที่ "ก้ำกึ่ง" หรือไม่แน่ชัดว่ามีความผิดตามกฎหมาย และอาจต้องใช้การตัดสินข้อหาตามความเหมาะสมเป็นรายๆ ไป ซึ่งชาวสองล้อต้องศึกษาและเข้าใจให้มากขึ้น แต่ที่แน่ๆ เราควรป้องกันตัวเองด้วยการเลือกอุปกรณ์ตกแต่งรถ ให้มีความปลอดภัยต่อตนเองและถูกกฏหมายเอาไว้ก่อน เพื่อความสะดวกในการเดินทางและไม่ต้องกังวลเมื่อเจอด่านตำรวจอีกด้วย
มาดูกันว่ามีของแต่งอะไรบ้างที่มีโอกาสที่จะโดน "ตรวจ-จับ-ปรับ!"

1. กระจกมองข้าง

กระจกมองข้างมอเตอร์ไซค์นับเป็นสิ่งแรกๆ ที่นักบิดต้องการเปลี่ยน เนื่องจากความจำเป็น (ในบางคน) ที่ต้องใช้รถในการจราจรที่ติดขัดและมีเส้นทางคับแคบ บางครั้งกระจกมองข้างก็เกะกะและใหญ่โตเกินไป ทำให้เกิดกระทบกระทั่งหรือสะกิดรถยนต์คันข้างๆ ได้ ด้วยเหตุนี้เองจึงมีกระจกมองข้างหลากหลายรูปแบบมาให้ "เล่นซน" กันมากมาย แต่กระจกที่ดีต้องมองเห็นรถด้านข้างชัดเจนและมีระยะที่กว้างไกลนะครับ รวมถึงการติดตั้งต้องใกล้เคียงตำแหน่งเดิมมากที่สุด ไม่งั้นคุณอาจต้องจอดทุกครั้งที่เจอด่าน!

2. หลอดใส่ทะเบียนรถ

ท่อทรงกลมใสๆ (หรือจะเรียกว่าหลอดก็ได้ เพราะรูปทรงเหมือน) สำหรับใส่ทะเบียนรถนั้น มีข้อดีคือ มีขนาดเล็ก กะทัดรัด สวยเท่ แต่ข้อเสียก็คือ ไม่สามารถมองเห็นวันเดือนปีหมดอายุได้ไม่ชัดเจน จะมองเห็นได้เพียงตัวเลขปีพ.ศ. เท่านั้น ด้วยเหตุนี้ ผู้ขับขี่อาจถูกเรียกขอตรวจได้ เพราะการที่มองไม่เห็นนี้เอง อีกทั้งยังไม่รวมถึงรถคันที่ติดตั้งหลบในอยู่ใต้เบาะบ้าง บังโคลนบ้าง เพราะฉะนั้น ควรหาตำแหน่งติดตั้งที่คุณตำรวจสามารถมองเห็นได้ชัดเจนแต่ไกล หรืออาจต้องหากรอบแบบใหม่ที่สามารถติดตั้งได้ชัดเจนแบบเต็มแผ่นโดยไม่ต้องม้วนเป็นท่อกลม รับรองว่าผ่านด่านอฉลุยแน่นอนครับ 

3. ล้อและยาง

เปลี่ยนล้อและยางก็ผิดอีกหรือ? อันที่จริงก็มีที่ผิดบ้างบางส่วน (บอกแล้วว่าบางอย่างมันก้ำกึ่งครับ) เพราะว่าถ้าเราเปลี่ยนล้อแม็กหรือยางให้มีสเปคและขนาดที่เหมาะสม ทั้งในเรื่องความแข็งแรงและปลอดภัย เช่น ใช้ล้อแม็กที่ได้มาตรฐานจากโรงงานหรือใช้ยางขนาดหนาและแก้มยางกว้าง-แคบต่างจากของเดิมไม่มากนัก อาจไม่มีปัญหาใดๆ แต่ถ้าผิดแปลกแตกต่างไปจากเดิมอย่างเห็นได้ชัดเจน (พี่ๆ ตำรวจสามารถดูออกนะครับ) ก็ไม่น่ารอด!  

4. ท่อไอเสีย

ท่อไอเสียแต่งซิ่ง ประเด็นใหญ่โตที่สุดในยุคนี้ เพราะเป็นอุปกรณ์เพิ่มความดุดัน แรง สวยมีสไตล์ ซึ่งก็ไม่น่ามีอะไรผิด แต่กลับเป็นข้อหายอดฮิตอันดับหนึ่งสำหรับชาวสองล้อที่ได้รับกันจนชินไปแล้ว หากมองให้ดีการดัดแปลงสภาพด้วยการเปลี่ยนท่อไอเสียนั้นมีเพียงสิ่งเดียวที่ก่อให้เกิดปัญหานั้นคือ เรื่องของ "เสียงดังเกินกฏหมายกำหนด" เพราะหากรถคุณเปลี่ยนท่อไส้ตรง ยิ่งแป๊ปสดออกท้ายอย่างไร ถ้าหากเงียบหรือมีเสียงเบาเทียบเท่าของเดิมจากโรงงาน รับรองว่าเมื่อขับเข้าด่านแล้ว แรงเครื่องยนต์ก็อาจมี "เงิบ" กันไปเลย เพราะประเด็นสำคัญของกฎหมายมีเรื่องมลพิษทางเสียงเป็นหัวใจหลัก คือเสียงห้ามดังเกินค่าที่กฎหมายกำหนดนั่นเอง 

โดยทั่วไปการตรวจความดังของเสียงจากรถยนต์และรถจักรยานยนต์นั้น จะมีข้อกำหนดค่าวัดระดับเสียงเป็นเดซิเบล ซึ่งสำหรับในรถยนต์นั้นขณะจอดนิ่งไม่เกิน 85 เดซิเบล เมื่อตั้งเครื่องวัดในระยะ 7.5 เมตร หรือไม่เกิน 100 เดซิเบล เมื่อตั้งเครื่องวัดไม่เกิน 0.7 เมตร จากส่วนท้ายของรถยนต์ และส่วนของรถมอเอตร์ไซค์ขณะจอดนิ่งไม่เกิน 95 เดซิเบล เมื่อตั้งเครื่องวัดในระยะ 0.5 เมตรจากส่วนท้าย
วิธีการวัดค่าระดับเสียงรถจักรยานยนต์
ดังนั้น ไม่ว่าจะเปลี่ยนท่อไอเสียมาหรือไม่ หากเสียงดังเกินที่กำหนดก็มีสิทธิถูกปรับได้ และอาจถูกเจ้าพนักงานออกคำสั่งให้ติดสติกเกอร์ "ห้ามใช้ชั่วคราว" สีส้มๆ จนกว่าจะแก้ไขให้ถูกต้อง และหากจำเป็นต้องใช้งานรถนั้น ต้องใช้ระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก ไม่เกิน 30 วัน และหากปรับปรุงแก้ไขแล้วมลพิษยังเกินกำหนดอยู่ก็จะถูกสั่งติดสติกเกอร์ "ห้ามใช้เด็ดขาด" สีแดง และจนกว่าจะแก้ไขได้ถูกต้อง เจ้าพนักงานจึงจะยกเลิกการ "งดใช้พาหนะ" นี้ทันที และหากผู้ใดฝ่าฝืนนำรถคันที่มีสติกเกอร์นี้มาใช้ หากตรวจสอบพบจะถูกปรับ 5,000 บาท และกรณีไม่หยุดให้เจ้าพนักงานเรียกตรวจจะมีความผิดระวางโทษจำคุก ไม่เกิน 1 เดือน ปรับไม่เกิน 10,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับอีกด้วยนะครับ

5. ไฟส่องสว่าง

ไฟส่องสว่าง ทั้งไฟหน้า ไฟเลี้ยว ไฟท้าย ไฟส่องป้ายทะเบียน และการติดตั้งไฟรอบคันหรือหลอดไฟหน้าแบบ LED เพิ่มเติมจากเดิมนั้น หากติดตั้งในตำแหน่งที่ไม่รบกวนสายตาหรือก่อให้เกิดอันตรายทั้งร่ายกายและจิตใจผู้อื่นก็ย่อมทำให้ครับ แต่ก็มีข้อควรระวังเรื่องการดัดแปลงไฟหน้ารถ เช่น ไฟซีนอน, LED เนื่องจากมีความสว่างมากกว่าหลอดไฟเดิมที่ติดรถมา ดังนั้นควรเลือกแบบที่ไม่สว่างจ้าเกินไปหรือเลือกร้านติดตั้งที่ได้มาตรฐาน เพื่อความปลอดภัยต่อตัวคุณเองและเพื่อนร่วมทางครับ  

6. ตำแหน่งป้ายทะเบียน
ป้ายทะเบียน เป็นเครื่องยืนยันว่ารถของคุณถูกต้องตามกฎหมายตามที่กรมการขนส่งทางบกอนุญาต หากตำแหน่งการติดที่ผิดไปจากเดิมที่กำหนดไว้ตรงส่วนท้าย และหากไม่มีไฟส่องให้เห็นชัดเจน ก็เป็นเหตุให้ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจขอตรวจค้นได้และอีกมุมหนึ่งอาจเป็นช่องทางให้ผู้ที่ต้องการกระทำสิ่งผิดกฏหมายใช้เป็นยานพาหนะได้ ดังนั้น หากเราบริสุทธ์ใจและมั่นใจว่ารถมอเตอร์ไซค์ของเราถูกต้องปลอดภัยก็ติดให้เห็นชัดๆ กันไปเลยครับ 

อุปกรณ์ตกแต่งมอเตอร์ไซค์ที่นอกเหนือไปจากผู้ผลิตติดตั้งมาให้จากโรงงานนั้น ให้ถือเอาไว้ก่อนว่า "อาจเข้าข่าย" ผิดกฎหมายไม่ว่าจะมีตรารับรองคุณภาพหรือไม่ก็ตาม เพราะบางครั้งชิ้นส่วนบางชนิดมีสัญลักษณ์มาตรฐาน มอก. แต่ก็ไม่ได้มีความแข็งแรงปลอดภัย 100% เสมอไป ดังนั้น ผู้ขับขี่จึงต้องเลือกอุปกรณ์ให้เหมาะสม ทั้งในแง่ของความปลอดภัยต่อตนเองและผู้อื่น รวมถึงถูกกฎหมายด้วยนะครับ
หมายเหตุ : การพิจารณาเกี่ยวกับอุปกรณ์แต่งรถว่าถูกกฎหมายหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ตำรวจและกรมการขนส่งทางบก อุปกรณ์แต่งรถที่กล่าวถึงในบทความนี้ มิใช่การชี้นำส่งเสริมให้กระทำแต่อย่างใด เป็นเพียงข้อแนะนำให้ปฏิบัติได้อย่างถูกต้องและปลอดภัยเท่านั้น และไม่อนุญาตให้นำบทความนี้ไปอ้างอิง ต่อรอง หรือนำไปใช้โดยประโยชน์ส่วนตนในทางที่ผิดกฏหมายและก่อให้เกิดความเสียหายใดๆ ทั้งสิ้น
แท็กที่เกี่ยวข้อง มอเตอร์ไซค์ แต่งรถ อุปกรณ์ตกแต่ง modifile
Motorbike Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Motorbike Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่





เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)