ประเมินวงเงินรู้ผลใน 3 นาที

กับ กรุงศรี ออโต้ พร้อมสตาร์ท

เริ่มประเมินวงเงินพร้อมสตาร์ท
ผ่านมือถือ สแกนเลย

ดูวงเงินพร้อมสตาร์ทที่ได้รับ

x
icon-filter ค้นหารถมอเตอร์ไซค์
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter

หมวกกันน็อคแบบไหนใช้ได้ แบบไหนอาจโดนจับ

icon 27 ต.ค. 59 icon 45,458
หมวกกันน็อคแบบไหนใช้ได้ แบบไหนอาจโดนจับ

หมวกกันน็อคแบบไหนใช้ได้ แบบไหนอาจโดนจับ

"หมวกนิรภัย" หรือที่เรียกติดปากกันว่า"หมวกกันน็อค" มีหลากรูปแบบหลายราคา ซึ่งแต่ละแบบก็จะมีข้อดีข้อด้อยแตกต่างกันไป แต่การขับขี่รถจักรยานยนต์นั้น จำเป็นต้องสวมใส่หมวกกันน็อคทุกครั้งทั้งคนขี่และซ้อนท้าย แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่าหมวกกันน็อคที่เราเสียเงินซื้อมานั้น แบบไหนใช้ได้ แบบไหนถูกต้องตามมาตรฐานความปลอดภัย และถูกต้องตามกฏหมายหรือแม้แต่ส่วนของกระจกบังลมหน้าควรจะมีลักษณะอย่างไรถึงจะถูกต้อง มาดูกันว่าหมวกกันน็อคที่เราใช้กันอยู่นั้นถูกต้องครบตามระเบียบของข้อกฏหมายหรือไม่ครับ

หมวกกันน็อค 

"หมวกนิรภัย" หรือที่เรียกง่ายๆ ว่า "หมวกกันน็อค" ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 มีรายละเอียดดังนี้
ม.122 ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ และคนโดยสารรถจักรยานยนต์ ต้องสวมหมวกที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อป้องกันอันตรายในขณะขับขี่ และโดยสารรถจักรยานยนต์ ห้ามมิให้ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ตามวรรคหนึ่งขับขี่รถจักรยานยนต์ในขณะที่คนโดยสารรถจักรยานยนต์มิให้สวมหมวกที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อป้องกันอันตรายลักษณะและวิธีการใช้หมวกกันน็อกเพื่อป้องกันอันตรายตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวงโทษ ม.148 ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม ม.122 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท 
*เพิ่มเติม ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ โดยมีผู้โดยสารนั่งซ้อนท้าย หากผู้โดยสารไม่ได้สวมหมวกกันน็อค (มาตรา 122 วรรค 2) ระวางโทษปรับเป็น 2 เท่า (ไม่เกิน 500x2)  กรณีรถจักรยานยนต์รับจ้างก็เข้าข่ายความผิดนี้ หากฝ่าฝืนปรับผู้ขับขี่ไม่เกิน 1,000 บาท  
***กฎกระทรวงฉบับที่ 14 (พ.ศ. 2535) ออกตามความใน พ.รบ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522
ข้อ 1 ในกฎกระทรวงนี้
"หมวกนิรภัย" หมายความว่า หมวกที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อป้องกันอันตรายในขณะขับขี่และโดยสารรถจักรยานยนต์
"หมวกนิรภัยแบบปิดเต็มหน้า" หมายความว่า หมวกนิรภัยที่เปลือกหมวกเป็นรูปทรงปิดด้านข้าง ด้านหลัง ขากรรไกร และคาง ใน "กรณีที่มีบังลมต้องทำจากวัสดุโปร่งใสและไม่มีสี"
"หมวกนิรภัยแบบครึ่งใบ" หมายความว่า หมวกนิรภัยที่เปลือกหมวกเป็นรูปครึ่งวงกลมปิดด้านข้างและด้านหลังเสมอระดับหู ใน  "กรณีที่มีบังลม บังลมต้องทำจากวัสดุโปร่งใสและไม่มีสี"                                    
ข้อ 2 หมวกนิรภัยให้ใช้ได้ทั้งสามแบบ คือ "หมวกนิรภัยแบบปิดเต็มหน้า หมวกนิรภัยแบบเต็มใบ และหมวกนิรภัยแบบครึ่งใบ"
ในกรณีที่ได้มีการกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมแล้ว หมวกนิรภัยแบบใดไว้ตามกฎหมายว่าด้วยมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมแล้ว หมวกนิรภัยที่จะใช้ต้องเป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
ข้อ 3 ในขณะขับขี่หรือโดยสารรถจักรยานยนต์ ผู้ขับขี่และคนโดยสารต้องสวมหมวกนิรภัยโดยจะต้องรัดคางด้วยสายรัดคางหรือเข็มขัดรัดคางให้แน่นพอที่จะป้องกันมิให้หมวกนิรภัยหลุดจากศีรษะได้หากเกิดอุบัติเหตุ
พรบ.มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม(ฉบับที่ 5) พ.ศ.2535 โดยมีพระราชกฤษฏีกา กำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมหมวกนิรภัยสำหรับผู้ใช้ยานพาหนะต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ.2539
ม.20 ผู้ผลิตต้องแสดงหลักฐานให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบและได้รับใบอนุญาตจากคณะกรรมการ ฝ่าผืน ต้องระวางโทษไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตาม ม.48
ม.35 ผู้รับใบอนุญาตแสดงเครื่องหมายมาตรฐานกับผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้รับมาตรฐาน ฝ่าฝืนจำคุกไม่เกิน สองปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตาม ม.54(2) ม.36 ผู้โฆษณา จำหน่าย หรือมีไว้เพื่อจำหน่ายโดยรู้ว่าไม่เป็นไปตามมาตรฐาน ฝ่าผืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือ ปรับไม่เกินห้าพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

หมวกนิรภัยแบบปิดเต็มหน้า

หมวกนิรภัยแบบเต็มใบ

หมวกนิรภัยแบบครึ่งใบ
สรุปแล้ว ตามหลักกฎหมายข้างต้นก็คือ ผู้ขับขี่และผู้โดยสารรถจักรยานยนต์ต้องสวมหมวกนิรภัย (หมวกกันน็อค) และหมวกนิรภัยต้องได้รับรองมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.) และสามารถใส่หมวกได้ 3 แบบนั่นคือ
  1. หมวกนิรภัยแบบปิดเต็มหน้า
  2. หมวกนิรภัยแบบเต็มใบ
  3. หมวกนิรภัยแบบครึ่งใบ
แต่! กระจกบังลมที่ปิดหน้าต้องเป็นวัสดุชนิด "โปร่งใส และ ไม่มีสี"  
ชัดเจนนะครับว่าการใส่หมวกกันน็อคนั้นมีรายละเอียดที่กำหนดเอาไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ.2522 ดังนั้นถ้าไม่อยากเสียเวลาถูกจับและปรับล่ะก็ ควรปฏิบัติให้ถูกต้อง เพื่อความปลอดภัยและความสะดวกในการเดินทางนะครับ 

หนูยังใส่เลยค่ะ แต่จะให้ป๊ะป๋าเปลี่ยนเป็นกระจกใสๆ นะคะ
อย่างไรก็ตามประเทศไทยเป็นเมืองร้อน (มาก) และแดดแรงสุดๆ บางครั้งการใส่หมวกที่มีกระจกใสปิ๊ง อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผิวหน้าได้ ดังนั้นถ้าเป็นไปได้ก็ควรเลือกติดฟิล์มกรองแสง "ชนิดใส" ซึ่งกันความร้อนได้ไม่แพ้แบบเข้มๆ เลยนะครับ อาจเพิ่มเงินอีกสักหน่อย แต่ได้ความมั่นใจ และความปลอดภัยที่มากขึ้นครับ

ดูที่หมวก... กระจกทึบอาจจะผิดนะครับ...
แท็กที่เกี่ยวข้อง การขับมอเตอร์ไซค์ หมวกกันน็อก
Motorbike Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Motorbike Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)