DUCATI ตำนานบิ๊กไบค์จากอิตาลีอันยาวนาน
เมื่อนึกถึงมอเตอร์ไซค์บิ๊กไบค์ แน่นอนว่าต้องนึกถึง Ducati เป็นอันดับต้นๆ และยังเป็นรถจักรยานยนต์ขนาดใหญ่ หรือ ซูเปอร์ไบค์ที่มีผู้ชื่นชอบและอยากครอบครองมากที่สุด จากฝีมือของนักออกแบบชาวอิตาลี ซึ่งขึ้นชื่อในเรื่องการคิดค้นเทคโนโลยีโดยเฉพาะเครื่องยนต์แบบ L-twin 90 องศา รวมถึงดีไซน์ตัวรถที่สวยงาม และดูคาติยังมีประวัติอันยาวนานและน่าสนใจมากมายอีกด้วย
จุดเริ่มต้นของ Ducati คือ ปีค.ศ. 1926 เมื่อสามพี่น้อง Adriano, Marcello and Bruno Ducati ชาวอิตาลีร่วมกันก่อตั้งเป็นบริษัท โดยเริ่มต้นจากธุรกิจอุตสาหกรรมผลิตส่วนประกอบวิทยุในเมือง Bologna
โรงงานแห่งแรกของดูคาติสร้างขึ้นเมื่อปี 1935 มีคนงานไม่น้อยกว่า 3,500 คน นับว่าธุรกิจดำเนินไปได้เป็นอย่างดี ก่อนจะได้รับผลกระทบในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ดูคาติถูกบังคับให้ผลิตเพื่อการใช้งานของกองทัพ และถูกวางระเบิดทำลายในภายหลัง
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จบลง มีบริษัทเล็กๆ บริษัทหนึ่งที่ชื่อว่า SIATA ที่พัฒนาระบบเครื่องยนต์ขนาดเล็ก เพื่อติดตั้งในรถจักรยาน หลังจากนั้นเพียงหนึ่งเดือนเค้าได้ประกาศขายเครื่องยนต์นี้ในปี ค.ศ.1944 ชาวอิตาเลียนเรียกเครื่องยนต์นี้ว่า "คุตโช่ะโล (cucciolo)" จริงๆ แล้วคำนี้แปลว่า สัตว์ที่เพิ่งเกิดใหม่ เช่น ลูกสุนัข ลูกแมว ลูกหนู เป็นต้น และชื่อภาษาอังกฤษเรียกกันว่า "ลูกสุนัข (puppy)" เครื่องยนต์เล็กนี้ได้รับความสนใจจากบรรดานักธุรกิจทันที ซึ่งทางพี่น้องดูคาติก็สนใจในเครื่องยนต์นี้ ก่อนจะตัดสินใจหันมาลงทุนกับ SIATA และผลิตโดยใช้ชื่อว่า Cucciolo เป็นเครื่องยนต์ลูกสูบเดี่ยวที่จะนำไปติดตั้งกับจักรยานปกติได้เลย ซึ่งเครื่องยนต์นี้เองที่นำมาพัฒนาเป็นรถจักรยานยนต์แบบแรกของดูคาติ และประสบความสำเร็จอย่างสูง สามารถจำหน่ายออกสู่ตลาดจำนวนกว่า 250,000 เครื่องทั่วโลก
เครื่องยนต์ Cucciolo สามารถนำไปติดตั้งกับรถจักรยานทุกประเภท หลังจากนั้นตลาดรถจักรยานยนต์ก็เริ่มมีการขยายตัวมากขึ้น ในปี ค.ศ. 1952 ดูคาติตัดสินใจร่วมมือกับ Cruiser นำเทคโนโลยีของทั้งสองบริษัทมารวมกันผลิตรถจักรยานยนต์ ที่ทำงานด้วยระบบไฟฟ้าแบบอัตโนมัติชื่อว่า Ducati 175 Cruiser โดยเปิดตัวที่มิลาน ในปีถัดมาก็ได้เปิดตัวอีกสองรุ่นคือ รุ่น 98 cc และ 125 cc แต่ผลการตอบรับกลับไม่ดีอย่างที่ควรทำให้ 2 ปีต่อมา ต้องยกเลิกการผลิตในรุ่นนี้ไป
ในปี ค.ศ. 1954 บริษัทดูคาติได้ตัดสินใจแยกออกเป็น 2 บริษัทอย่างชัดเจน ได้แก่ Ducati Electrical และ Ducati Mechanical ซึ่งบริษัท Ducati Mechanical จะทำหน้าที่พัฒนาระบบยานยนต์ และ Ducati Electrical จะเดินบนสายงานเหมือนตอนต้นที่ครอบครัวดูคาติตั้งใจเอาไว้ตั้งแต่แรก และในปีเดียวกันนี่เองที่บริษัท Ducati Mechanical ได้เริ่มร่วมงานกับวิศกรฟาบิโอ (Fabio Taglioni) หรือ "Doctor T" ซึ่งเป็นอาจารย์สอนวิชาเทคนิคอยู่ที่อิโมล่า (Imola) และฟาบิโอเองมีการออกแบบมอเตอร์ไซค์สำหรับรถแข่งเอาไว้ก่อนแล้ว คือรุ่น Gran spot 100 ซีซี โดยใช้ชื่อ "Marianna" ดังนั้นเขาและดูคาติจึงร่วมมือกันพัฒนาและนำรถที่พัฒนาขึ้นทดลองลงแข่งใน "Milan-Taranto" และ "Tour of Italy" เป็นครั้งแรก
ในปี 1954 จากการสร้างสรรค์ของวิศวกร Taglioni , Ducati ได้ออกแบบรถจักรยานยนต์ Gran spot 100 ซีซี หรือที่เรารู้จักกันในนาม "Marianna"
ในปี 1956 Ducati ได้ผลิตรถรุ่น 100 Sport ซึ่งเป็นครั้งแรกที่สามารถทำลายสถิติโลก 46 รายการภายในวันเดียว
จุดเริ่มต้นเครื่องยนต์ Desmodromic
ในปีเดียวกันนี้เครื่องยนต์ desmodromic ได้ถูกนำมาใช้ครั้งแรกในรถรุ่น Ducati 125 Gran Prix ลากรอบได้ถึง 12,500 รอบต่อนาที ซึ่งเป็นนวัตกรรมใหม่ที่นำมาแก้ไขปัญหาวาล์วลอยตัวที่รอบสูงๆ ในเครื่องยนต์ที่ใช้สำหรับการแข่งขันในขณะนั้น ระหว่างปี 1955-1956 ดูคาติได้นักแข่งชื่อ "Gianni Degli Antoni" ซึ่งเป็นแชมป์หลายรายการ และในปี 1956 บริษัทดูคาติ ได้เปิดตัวรถรุ่น Desmo 125 GP เป็นครั้งแรก
ในช่วงปี 1958 ทางดูคาติได้วางแผนจะผลิตมอเตอร์ไซค์รุ่น Elite 200 ซีซี ออกมา ทางวิศวกร Fabio Taglioni ยังคงใช้ระบบ Desmodromic ที่ตัวเองพัฒนามาตั้งแต่แรก และพัฒนาต่อจากรุ่น Marianna แต่ขณะนั้นเกิดวิกฤตเศรษฐกิจในอิตาลีทำให้ยอดการขายมอเตอร์ไซค์ประสบปัญหาไปด้วย การวางขายจีงเลื่อนออกไปจนในที่สุด ปี 1965 ได้ออกขายมอเตอร์ไซค์รุ่นนี้เป็นครั้งแรก จากโครงการนึ้เองทำให้ ในช่วงปี 60 บริษัทดูคาติ กลายเป็นบริษัทแรกในประวัติศาสตร์ที่สามารถพัฒนาและสร้างรถจักรยานยนต์รุ่น 250 ซีซี ซึ่งนับว่าเร็วที่สุดในยุคนั้นออกมา และในปี 1960 นักแข่งรถผู้มีชื่อเสียงชาวอังกฤษ Mike HailwoodTM ได้รับฉายาว่า "superior" ซึ่งชนะการแข่งหลายรายการ และได้สั่งทำรถแข่งกับดูคาติในรุ่น 250 Twin-Cylinder Desmo
Ducati Apollo 1260
DUCATI ปรับแผนบุกตลาดต่างประเทศ
ตั้งแต่ปี 1960 ที่ประเทศอิตาลีประสบปัญหาทางเศรษฐกิจส่งผลทำให้ยอดขายมอเตอร์ไบค์ลดลงอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับในขณะนั้นเริ่มมีการผลิตรถยนต์ออกขายเป็นครั้งแรกของบริษัท Fiat ชื่อว่า Fiat 500 ทำให้ความนิยมรถมอเตอร์ไซค์ลดลง ส่งผลให้บริษัทผลิตมอเตอร์ไซค์สำหรับแข่งขันต้องปิดกิจการลงรวมทั้ง Gilera, Moto Guzzi และ Mondial ดังนั้นบริษัทดูคาติ จึงต้องปรับกลยุทธ์หันไปเน้นตลาดต่างประเทศแทน ต่อมาในปี 1963 ก็พัฒนารถออกมาชื่อ Ducati Apollo 1260 ซึ่งเน้นตลาดผู้ใช้ชาวอเมริกันเป็นหลัก
250 Mark 3D
350 Mark 3D
450 Mark 3D
ในปี 1967 บริษัทดูคาติ ตัดสินใจที่จะปฏิวัติเครื่องยนต์ระบบ Desmodromic ซึ่งก่อนหน้านี้ใช้เฉพาะในรถแข่งเท่านั้น เครื่องยนต์ใหม่มีสองขนาดคือความจุ 350 และ 450 ซีซี ได้รับความนิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ในช่วงครึ่งแรกของยุค 70 ถึงแม้จะไม่ชนะการแข่งขันใดๆ แต่รถของดูคาติที่สามารถพัฒนาเครื่องยนต์ขนาด 250 ซีซี ให้วิ่งได้กว่า150 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ก็สามารถครองใจของผู้ที่ชื่นชอบความเร็วได้ ต่อมาดูคาติได้นำรถตระกูล Mark 3D ออกจำหน่าย ได้แก่ 250 Mark 3D, 350 Mark 3D และ 450 Mark 3D
Desmodromic System ในช่วงท้ายปี 1969 มีการแข่งขันของตลาดรถมอเตอร์ไบค์นมาก และยังมีการนำเข้ารถญี่ปุ่นมาขายในยุโรปมากขึ้น รวมทั้งในอิตาลีด้วย นับว่ารถญี่ปุ่นเป็นคู่แข่งที่สำคัญของดูคาติกันเลยก็ว่าได้
เริ่มต้นเครื่องยนต์ L-Twin
ช่วงปี 1967-1978 บริษัทดูคาติได้เปลี่ยนผู้บริหารเป็นกลุ่ม EFIM (Ente Partecipazioni e Finanziamento Industrie Manifatturiere หรือ กลุ่มเงินทุนเพื่ออุตสาหกรรมการผลิต) ซึ่งจะควบคุมการดำเนินการผลิตแบบวันต่อวัน โดยที่ในปี 1967 - 1973 จะทำการบริหารโดย Mr. Giuseppe Montano และ ในปี 1973-1978 บริหารโดย Mr. Cristiano de Eccher
ในช่วงปี 70 บริษัทก็เริ่มสายการผลิตรถจักรยานยนต์ L-Twin เช่น รุ่น 90 L-twin ส่วนของตัวรถจะทำเป็นรูปตัว L ระบบ twin-cylinder engine (L-Twin) ออกแบบโดย Fabio Taglioni Ducati เครื่องยนต์ไม่ได้ใช้ระบบ Desmodromic system แล้ว และรุ่นนึ้ใช้ในการแข่งขัน
Ducati 500 GP ในการแข่งขันรุ่น 500cc World Championship ปี 1971
และในการแข่งขัน Mototemporada Romagnola ที่เมือง Rimini, Riccione, Cesenatico และ Modena ฤดูในไม้ร่วงในปี 1970 ได้เปิดตัว Ducati 750 GT ซึ่งได้ทำการพัฒนามาจากระบบ L-twin โดยพัฒนาเครื่องยนต์เป็นระบบ 90 L-twin เพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน
ในปี 1972 ดูคาติได้ผลิตรถแข่งรุ่น Ducati 750 Imola Desmo เป็นอีกรุ่นที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลก เพราะนักแข่งรถที่รู้จักกันดีคือ Paul Smart และ Bruno Spaggiari ได้ใช้รถรุ่นนี้ชนะการแข่งขัน "200 Mile race" ที่เมือง Imola ในปี 1972 ส่งผลให้รถรุ่นนี้เป็นที่จดจำในประวัติศาสตร์
และในเดือนพฤศจิกายน 1973 ก็ได้เปิดตัว L-twin ที่มาพร้อมวาล์ว Desmodromic เป็นรายแรก Ducati 750 SS Desmo ที่เมืองมิลาน ในงาน Milan Motorcycle Show ซึ่งพัฒนาจาก Ducati 750 Imola Desmo ที่ประสบความสำเร็จในสนามแข่ง แต่มียอดการผลิตเพียง 401 คันเท่านั้น
หลังจากผลิตรถรุ่น 750 GT, Sport e Super Sport Desmo (SSD) ออกจำหน่ายแล้ว ยังผลิตรถรุ่นใหญ่อีกรุ่นคือ Ducati 900 Super Sport (SS) เพื่อต่อกรกับรถที่นำเข้าจากญี่ปุ่นในขนาดเครื่องยนต์เกิน 750 cc
Ducati 851
Ducati 888
Ducati 916 Ducati ได้พัฒนารถรุ่นใหม่ทั้งเพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน และในสนามแข่งรายการต่างๆ มากมาย เช่น Ducati 851, 888 และ 916 พร้อมร่วมรายการแข่งขันมากมาย เช่น อันดับที่ 3 ใน World Championship for 500 cc motorcycles ในปี 1985 และอันดับที่ 2 ใน French Grand Prix ในปี 1987
ต่อมาในปี 1993 การออกแบบของ Miguel Angel Galluzzi , Monster ได้ถือกำเนิดขึ้น ในขณะนั้นกระแสความนิยมยังคงอยู่ที่ รถสปอร์ตสไตล์รถแข่งในสนามแต่สำหรับ Monster ทีมออกแบบ ได้คิดนอกกรอบสวนทางกับความนิยมในช่วงนั้น เน้นการออกแบบที่ดูไม่ซับซ้อน ใช้งานง่าย ขับขี่ง่าย ไม่จำเป็นต้องใช้ทักษะสูงมากนัก ถึงแม้ว่าดีไซน์ของ Monster จะดูเรียบง่ายแต่ก็แฝงด้วยเทคโนโลยีระดับสูง โดยเฉพาะการใช้สเปซเฟรม (Space Frame) บวกกับเครื่องยนต์ L-Twin อันเป็นเอกลักษณ์ของ Ducati ทำให้ Monster กลายเป็นเทรนด์ใหม่ของรถบิ๊กไบค์ในปัจจุบัน
ในปี 1994 การออกแบบของ Massimo Tamburini และ Sergio Robbiano , Ducati 916 ถูกผลิตขึ้นด้วยวัตถุประสงค์หลัก คือ การเข้าร่วมการแข่งขันในสนามแข่งมอเตอร์ไซค์ ซูเปอร์ไบค์ ชิงแชมป์โลก จากการพัฒนารถจักรยานยนต์ในตระกูล Racing ของค่าย Ducati นำไปสู่การพัฒนาเครื่องยนต์ 4 วาล์วต่อสูบ หลังจากการลงสนามแข่ง เครื่องยนต์ Ducati 916 อันทันสมัย ก็กลายเป็นต้นแบบของรถมอเตอร์ไซค์ที่ใช้ในการแข่งขันแทบทั้งสิ้น Ducati 916 สามารถคว้าชัยชนะให้กับทีมแข่งมากมายนับครั้งไม่ถ้วน
Ducati ได้นำ Superbike 1098 ออกจำหน่ายในปี 2007 ซึ่งเป็นรถที่ได้รับการยอมรับว่าสวยที่สุดโดยนักแข่ง Troy Bayliss ทำให้ 1098 ได้รับชัยชนะในการแข่งขัน World Superbike ปี 2008 ทำให้ Ducati ผลิต 1098 R Troy Bayliss ซึ่งเป็น Limited Edition จำนวน 500 คันทั่วโลก ซึ่ง Ducati Thailand ได้นำเข้ามาจำหน่าย 2 คัน
รถมอเตอร์ไซค์ Ducati ผลิตที่โรงงานใน Borgo Panigale เมือง Bologna ด้วยพื้นที่กว่า 115,000 ตารางเมตรและมีกำลังการผลิตมากกว่า 50,000 คันต่อปี
สำหรับรถจักรยานยนต์ดูคาติในประเทศไทยนั้นได้เริ่มมีบทบาทในช่วงปี 2003 - 2005
บริษัท ดูคาติ ประเทศไทย จำกัด (Ducati Thailand) ได้รับการแต่งตั้งเป็นตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการ
และนำรถรุ่น Multistrada 1000 DS เข้ามาจำหน่ายเป็นรุ่นแรกที่โชว์รูมบนถนนรามคำแหง และได้รับการสนับสนุนจาก Ducati Motor Holding spa ทำให้สามารถจำหน่ายในราคาที่น่าสนใจจนเติบโตในตลาดเรื่อยมา และสร้างยอดขายเพิ่มจาก 12 คันในปีแรกเป็น 30 คันในปี 2005 พร้อมกับย้ายโชว์รูมมาที่ซอยทองหล่อในปี 2006 ช่วงปี 2007 - 2009 ดูคาติเริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้นทำให้ธุรกิจขยายตัวเพิ่มมากขึ้น โดยมียอดส่งมอบอยู่ที่ 48 คัน และได้พรีเซ็นเตอร์อย่างคุณชุมพล วัฒนาหาญนุวัฒน์ ซึ่งมีดีกรีแชมป์ประเทศไทยปี 2003 ในตำแหน่ง "Brand Manager" และเป็นผู้ริเริ่มหลักสูตรขับขี่ปลอดภัย ส่งผลทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้นเป็น 55 คัน
ด้วยทีมงานรุ่นใหม่ของ Ducati Motor Holding spa สนับสนุนเชิงระบบการบริหารจัดการที่ดีรวมถึงรถรุ่นใหม่ ไม่ว่าจะเป็น Sport Classic หรือ Hypermotard ทำให้สามารถส่งมอบรถได้ 83 คันในปี 2009
หลังจากนั้นในปี 2010 บริษัท Ducati แห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ได้สนับสนุนให้ขยายโชว์รูมใหม่ในประเทศไทย เพื่อรองรับลูกค้าที่มากขึ้น ซึ่งโชว์รูมแห่งนี้ขยายพื้นที่จาก 70 ตรม. เป็น 120 ตรม. ทำให้โชว์รูมสะดุดตาและเป็นจุดสังเกตง่ายขึ้น พร้อมจัดแคมเปญแและปรับกลไกทางการตลาดให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า ด้วยวิสัยทัศน์และความทุ่มเทในการบริหารงานของคุณอภิชาติ ลีนุตพงษ์ ทำให้ Ducati มียอดขายในปี 2010 อยู่ที่ 209 คัน
ในปี 2011 Ducati ได้ลงทุนสร้างอาคาร 4 ชั้นแห่งใหม่ มีช่องบริการถึง 5 workbays พร้อมคลังอะไหล่ดูคาติทุกรุ่นที่มีจำหน่าย เพื่อรองรับการขยายตัวที่เพิ่มขึ้นให้เพียงพอต่อความต้องการของลูกค้า ภายใต้การดําเนินกิจกรรมการตลาดเชิงรุก พร้อมกับแผนพัฒนาบุคลากรเพื่อเตรียมการสำหรับการส่งมอบรถ จำนวน 340 คัน