ประเมินวงเงินรู้ผลใน 3 นาที

กับ กรุงศรี ออโต้ พร้อมสตาร์ท

เริ่มประเมินวงเงินพร้อมสตาร์ท
ผ่านมือถือ สแกนเลย

ดูวงเงินพร้อมสตาร์ทที่ได้รับ

x
icon-filter ค้นหารถมอเตอร์ไซค์
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter

ประเภทของเกียร์มอเตอร์ไซค์

icon 7 มี.ค. 57 icon 118,557
ประเภทของเกียร์มอเตอร์ไซค์

ประเภทของเกียร์มอเตอร์ไซค์
ประเภทของเกียร์มอเตอร์ไซค์ในปัจจุบันมีด้วยกันอยู่หลายแบบ แต่มอเตอร์ไซค์ขนาดกลางถึงขนาดเล็กรุ่นใหม่ๆ ส่วนใหญ่จะใช้ระบบเปลี่ยนเกียร์อัตโนมัติแบบ CVT (Continuously Variable Transmission) กันเกือบหมดแล้ว ด้วยความประหยัด ขับง่าย คล่องตัว อีกทั้งยังไม่ต้องกังวลกับการเปลี่ยนจังหวะเกียร์ให้ปวดหัวจึงทำให้ระบบ CVT ได้รับความนิยมมากกว่าเกียร์ประเภทอื่นๆ 

แต่นอกจากระบบ CVT ที่หลายๆ คนคุ้นหูกันดีแล้วนั้น ก็ยังมีเกียร์แบบอื่นๆ อีก เราไปดูกันครับว่า ประเภทของเกียร์มอเตอร์ไซค์นั้นมีอะไรกันบ้าง

ประเภทของเกียร์มอเตอร์ไซค์
ระบบเกียร์ที่นิยมใช้กับรถมอเตอร์ไซค์ในปัจจุบันมีอยู่ 2 แบบหลักๆ คือ 
1. แบบใช้คลัตช์ แบบนี้จะต้องกำคลัตช์มือที่แฮนด์ด้านซ้ายทุกครั้งที่เข้าเกียร์ เริ่มตั้งแต่ออกตัวก็ต้องเลี้ยงคลัตช์เพื่อไม่ให้เครื่องยนต์ดับ แบบนี้คล้ายกับในรถยนต์เกียร์ธรรมดา และวิธีการเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์อาจดูสับสนสำหรับผู้เริ่มขับใหม่ เพราะการตบคันเกียร์ที่เท้าซ้ายจะเป็นลักษณะเกียร์ที่ 1 จะตบลงก่อน ในเกียร์ที่ 2 จะงัดขึ้นบนโดยจะรู้สึกว่าจังหวะคันเกียร์จะผ่านช่วงเกียร์ว่างแล้วค่อยขึ้นมาตำแหน่งเกียร์ 2 และใช้วิธีการงัดขึ้นเรื่อยๆ จนถึงเกียร์สุดท้าย

สำหรับมอเตอร์ไซค์ที่ใช้ระบบเกียร์มีคลัตช์มือ เช่น BMW HP4Honda CBR 150R, Kawasaki Z250, Duciti, triumph เป็นต้น

และเมื่อต้องการลดเกียร์ลงตามความเร็วก็จะต้องตบคันเกียร์ลงตามลำดับไล่จากเกียร์สูงสุดลงมาเรื่อยๆ จนถึงเกียร์ว่าง หรือส่วนมากจะตบลงมาที่เกียร์ 1 ก่อน แล้วงัดขึ้นเบาๆ ให้อยู่ระหว่างเกียร์ 1 กับเกียร์ 2 นั่นคือตำแหน่งเกียร์ว่างพอดี

2. แบบไม่ใช้คลัตช์ แบ่งหลักการทำงานได้เป็น 2 ระบบ
2.1 คลัตช์เปียก จะมีชุดคลัตช์หลายๆ แผ่นแช่น้ำมันเกียร์อยู่ภายในเรือนเกียร์ เมื่อต้องการเข้าเกียร์ 1 สามารถตบคันเกียร์ลงได้ทันทีโดยไม่ต้องใช้คลัตช์ที่แฮนด์ซ้าย (ซึ่งไม่ได้ติดตั้งมาให้) และเมื่อต้องการเข้าเกียร์ 2, 3, 4 ก็ตบลงไปเรื่อยๆ จนถึงจังหวะเกียร์สุดท้าย หากต้องการจะลดเกียร์ลงตามความเร็ว ก็ใช้เท้าตบคันเกียร์ในส่วนด้านหลัง หรือบางคนถนัดใช้เท้างัดคันเกียร์ด้านหน้าขึ้นก็ย่อมได้ จนถึงจังหวะเกียร์ว่าง แต่ในรถรุ่นใหม่ๆ จะเป็นระบบเกียร์วนนั่นคือ เมื่อผู้ขี่ต้องการลดความเร็วลงจนจอดสนิท โดยที่ค้างตำแหน่งเกียร์สุดท้ายเอาไว้ เมื่อรถหยุดสนิทจะสามารถตบคันเกียร์ด้านหน้าลง ระบบเกียร์จะกลับเป็นเกียร์ว่างให้ทันที่ (รถต้องจอดสนิทเท่านั้น)

    
2.2 ระบบ Continuously Variable Transmission หรือที่เราเรียกกันว่า CVT ระบบนี้ผู้ขี่จะไม่ต้องเข้าเกียร์ กำคลัตช์ เพียงแค่บิดคันเร่งเท่านั้น รถจะไต่ระดับความเร็วตามที่เราบิดคันเร่ง เมื่อต้องการลดความเร็ว ระบบเกียร์ CVT ก็จะลดอัตราแปรผันให้เหมาะสมโดยอัตโนมัติ ดังนั้นผู้ขับขี่จึงเพียงแค่ควบคุมคันเร่ง บังคับรถ และเบรกเท่านั้น ซึ่งเกียร์แบบ CVT นี้จะมีระบบความปลอดภัยมาให้คือ ก่อนสตาร์ตรถจะต้องกำเบรกที่แฮนด์ก่อน (ก้านเบรกที่แฮนด์ซ้าย)


สำหรับมอเตอร์ไซค์ในปัจจุบันที่เป็นคลัตช์เปียกหรือระบบเกียร์วน ก็จะมี Honda Wave, Suzuki Smash, Yamaha Spark เป็นต้น ส่วนมอเตอร์ไซค์ที่ใช้ระบบเกียร์ CVT ตัวอย่างเช่น Honda Scoopy-i, Yamaha Fino, Suzuki Nex, Vespa เป็นต้น 
จะเห็นได้ว่า มอเตอร์ไซค์รุ่นใหม่ๆ ในปัจจุบันนั้นมีความสะดวกต่อการใช้งาน มีความคล่องตัวมากขึ้น ขับขี่ง่าย และประหยัดน้ำมันมากขึ้นด้วย ใครสะดวก หรือถนัดกับเกียร์แบบไหนก็เลือกกันได้ตามใจชอบเลยนะครับ
แท็กที่เกี่ยวข้อง
Motorbike Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Motorbike Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่





เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)