ประเมินวงเงินรู้ผลใน 3 นาที

กับ กรุงศรี ออโต้ พร้อมสตาร์ท

เริ่มประเมินวงเงินพร้อมสตาร์ท
ผ่านมือถือ สแกนเลย

ดูวงเงินพร้อมสตาร์ทที่ได้รับ

x
icon-filter ค้นหารถมอเตอร์ไซค์
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter

สอบใบขับขี่จักรยานยนต์มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง?

icon 30 ม.ค. 60 icon 933,837
สอบใบขับขี่จักรยานยนต์มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง?

สอบใบขับขี่จักรยานยนต์มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง? 
ใบอนุญาตขับขี่ หรือภาษาพูดเรียกว่า ใบขับขี่ เป็นเอกสารราชการที่แสดงว่าผู้ถือได้รับอนุญาตให้ขับขี่ยานยนต์บนถนนสาธารณะ โดยส่วนใหญ่แล้วใบอนุญาตขับขี่จะออกให้ได้ก็ต่อเมื่อผู้ยื่นคำร้องผ่านการทดสอบขับรถ แต่ในหลายประเทศทุกคนจำต้องมีใบอนุญาตเสียก่อนที่จะเริ่มฝึกขับรถได้ ใบอนุญาตมีหลายประเภทตามชนิดของยวดยานที่มีวิ่งบนถนนสาธารณะ และความยากง่ายในการได้มาซึ่งใบอนุญาตในแต่ละประเทศก็ต่างกัน ทั้งนี้ยังมีข้อกำหนดพื้นฐานเกี่ยวกับอายุและประสบการณ์ในการขับรถที่ผ่านมาอีกด้วย นอกจากนี้ในปัจจุบันการทำใบขับขี่ได้เพิ่มมาตรการเข้มข้นมากขึ้น เพื่อให้ผู้อบรมมีคุณภาพมากขึ้น โดยปรับปรุงเนื้อหาการอบรมจากเดิม 4 ชั่วโมง เป็น 5 ชั่วโมงเป็นต้น
วันนี้ CheckRaka.com ขอนำท่านดูรายละเอียดว่าการสอบใบขับขี่จักรยานยนต์มีขั้นตอนเป็นอย่างไรบ้าง รวมถึงคุณสมบัติของผู้สอบใบขับขี่ และสถานที่สอบใบขับขี่จักรยานยนตร์ว่ามีที่ไหนบ้าง
ข้อมูลการสอบใบขับขี่จักรยานยนต์ที่ควรทราบ มีดังนี้
ชนิดของใบขับขี่จักรยานยนต์
  1. ใบขับขี่รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลชั่วคราว อายุ 1 ปี อัตราค่าธรรมเนียม 50 บาท
  2. ใบขับขี่รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล อายุ 5 ปี อัตราค่าธรรมเนียม 250 บาท
  3. ใบขับขี่รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล อายุ 3 ปี อัตราค่าธรรมเนียม 150 บาท
เกณฑ์อายุของผู้สอบใบขับขี่จักรยานยนต์
  1. ใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลชั่วคราว ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ (แต่ถ้าเป็นผู้ขอใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์ชั่วคราว สำหรับรถจักรยานยนต์ที่มีกระบอกสูบรวมกันไม่เกิน 110 ลูกบาศก์เซนติเมตร ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์)
  2. ใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์สาธารณะ ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์
คุณสมบัติของผู้ทำใบขับขี่จักรยานยนต์
  1. มีความรู้ความสามารถในการขับรถ
  2. มีความรู้ในข้อบังคับการเดินรถตามพระราชบัญญัติรถยนต์ และตามกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก
  3. ไม่เป็นผู้มีร่างกายพิการจนเป็นที่เห็นได้ว่าไม่สามารถขับรถได้
  4. ไม่มีโรคประจำตัวที่ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมเห็นว่าอาจเป็นอันตรายขณะขับรถ
  5. ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือน
  6. ไม่มีใบขับขี่รถชนิดเดียวกันอยู่แล้ว
  7. ไม่เป็นผู้อยู่ระหว่างถูกยึดหรือเพิกถอนใบขับขี่รถ
หลักฐานประกอบคำขอ
  1. บัตรประจำตัวประชาชนฉบับจริงพร้อมสำเนา
    1.1) กรณีชาวต่างชาติ ให้ยื่นใบสำคัญบัตรประจำตัวคนต่างด้าว หรือหนังสือเดินทาง (PASSPORT) พร้อมสำเนา
    1.2) กรณีชาวต่างชาติ ให้ยืนใบสำคัญถิ่นที่อยู่หรือใบอนุญาตการทำงาน (WORK PERMIT) ซึ่งยังไม่สิ้นอายุพร้อมสำเนา
  2. ใบรับรองแพทย์ แสดงว่าผู้ขอไม่มีโรคประจำตัวอันอาจเป็นอันตรายขณะขับรถ และไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือน ซึ่งมีอายุใช้ได้ตามที่แพทย์ผู้รับรองกำหนด แต่ต้องออกก่อนวันคำขอไม่เกิน 1 เดือน
การทดสอบสมรรถภาพร่างกาย
  1. ทดสอบการมองเห็นสี ที่จำเป็นในการขับรถ
  2. ทดสอบสายตาทางลึก
  3. ทดสอบสายตาทางกว้าง
  4. ทดสอบปฎิกิริยาเท้า (ความสามารถในการใช้เบรกเท้า)
การทดสอบขับรถจักรยานยนต์
  1. ท่าที่ 1 การขับรถโดยปฏิบัติตามเครื่องหมายจราจร
  2. ท่าที่ 2 การขับรถทรงตัวบนทางแคบ
  3. ท่าที่ 3 การขับรถผ่านทางโค้งรัศมีแคบรูปตัวแซด
  4. ท่าที่ 4 การขับรถผ่านทางโค้งซ้ายและโค้งขวารูปตัวเอส
  5. ท่าที่ 5 การขับรถหลบหลีกสิ่งกีดขวาง
ขั้นตอนการดำเนินการทำใบขับขี่จักรยานยนต์
ต้องจองคิวอบรมก่อนโดยสามารถจองคิวอบรมได้ 2 ช่องทาง ดังนี้
  1. จองคิวอบรมด้วยตนเองพร้อมหลักฐานประกอบคำขอ
  2. จองคิวอบรมทางโทรศัพท์
กรมการขนส่งทางบก เปิดให้ประชาชนสามารถจองคิวเพื่อเข้ารับการอบรมได้ล่วงหน้า โดยสามารถจองคิวได้ด้วยตนเองพร้อมหลักฐานประกอบคำขอ หรือทางโทรศัพท์ ดังนี้
  • สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1 (ถนนบางขุนเทียน-ชายทะเล) - ปิดรับคำขอรับใบขับขี่ไม่เกิน 120 คน/วัน (โทร. 0-2415-7337 ต่อ 204-205)
  • สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ 2 (ถนนสวนผัก) - เปิดรับคำขอรับใบขับขี่ไม่เกิน 85 คน/วัน (โทร. 0-2433-4773)
  • สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ 3 (ถนนสุขุมวิท) - เปิดรับคำขอรับใบขับขี่ไม่เกิน 100 คน/วัน (โทร. 0-2333-0035)
  • สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ 4 (ถนนร่วมพัฒนา) - เปิดรับคำขอรับใบขับขี่ไม่เกิน 100 คน/วัน (โทร. 0-2543-5512)
  • สำนักงานขนส่งจังหวัดทุกจังหวัด - สำหรับในส่วนภูมิภาคสำนักงานขนส่งจังหวัดทุกจังหวัด จะเปิดรับคำขอตามความเหมาะสม ซึ่งสามารถสอบถามข้อมูลได้ที่สำนักงานขนส่งจังหวัดนั้นๆ
อัพเดทการอบรมเพื่อทำใบอนุญาตเพิ่มความเข้มขึ้นเริ่ม มกราคม 2560

จากกรณีการสอบทำใบอนุญาตขับขี่รถยนต์จะถูกปรับเพิ่มความเข้มข้นมากยิ่งขึ้น ใกล้ระยะเวลาการบังคับใช้เข้ามาทุกทีแล้วนะครับ ซึ่งไม่ว่าจะเป็นการสอบใหม่ หรือผู้ที่ขาดการต่ออายุใบขับขี่แบบชั่วคราวที่เกิน 1 ปีขึ้นไป ต้องสอบในระบบใหม่ทั้งหมด โดยปรับปรุงเนื้อหาการอบรมจากเดิม 4 ชั่วโมง เป็น 5 ชั่วโมง เพิ่มเนื้อหาเกี่ยวกับข้อปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน และการขับรถอย่างปลอดภัยมากขึ้น รวมถึงเพิ่มจำนวนชั่วโมงอบรมเพื่อปลูกฝังจิตสำนึกความปลอดภัยในการใช้รถเข้าไปด้วย มาดูรายละเอียดจากประกาศทางกรมขนส่งกันครับ
การทำใบขับขี่รถยนต์มีขั้นตอนที่ไม่มากมาย เพียงแต่อาจต้องให้ความสำคัญกับการอบรมให้มากขึ้น และการสอบปฏิบัติควรฝึกซ้อมให้ชำนาญเพื่อการสอบเป็นไปอย่างราบรื่น โดยการทำใบขับขี่มีรายละเอียดดังนี้
หลักฐานประกอบคำขอ
  • ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนหรือภาพถ่ายใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือภาพ ถ่ายหนังสือเดินทาง หรือภาพถ่ายหนังสือสำคัญประจำตัวอย่างอื่น
  • สำเนาหรือภาพถ่ายทะเบียนบ้าน (กรณีที่อยู่ไม่ตรงกับที่อยู่ในทะเบียนราษฎร์) หรือเอกสารแสดงถิ่นที่อยู่
  • รูปถ่ายครึ่งตัว หน้าตรง ไม่สวมหมวกและแว่นตาดำ ขนาด 1 นิ้ว ซึ่งถ่ายไว้ไม่เกิน 6 เดือน จำนวน 2 รูป ในกรณีการขอใบอนุญาตแบบกระดาษ ส่วนการขอใบอนุญาตแบบพลาสติกไม่ต้องใช้
  • ใบรับรองแพทย์ ออกก่อนวันยื่นคำขอไม่เกิน 1 เดือน
ขั้นตอนการดำเนินการ
1.เข้ารับการทดสอบสมรรถภาพของร่างกาย ดังต่อไปนี้ ทดสอบปฏิกิริยา และทดสอบสายตา
2.เข้ารับการศึกษาอบรม ดังต่อไปนี้ 
  • ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก และกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ 30 นาที
  • ความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการขับรถอย่างปลอดภัย 30 นาที
  • ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก กฎหมายแพ่งและกฎหมายอาญา 30 นาที
  • ความรู้เกี่ยวกับหน้าที่ผู้ขับรถและการบำรุงรักษารถ 30 นาที
  • ความรู้เกี่ยวกับมนุษยสัมพันธ์และมารยาทในการขับรถ 30 นาที
  • ความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพพลานามัย 30 นาที
  • หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ขับรถ 30 นาที
  • หัวใจของการบริการทางการขนส่ง 30 นาที
  • การตรวจความพร้อมของรถก่อนและหลังการใช้งาน 30 นาที
  • ความรู้เกี่ยวกับการขับรถลากจูง และการขับรถลากจูงอย่างปลอดภัย 30 นาที
  • ความรู้เกี่ยวกับวัตถุอันตราย (เฉพาะใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถ ชนิดที่ 4) 6 ชั่วโมง
  • ความรู้เกี่ยวกับรถบรรทุกวัตถุอันตราย และความรู้เกี่ยวกับหลักการบรรทุกวัตถุอันตราย 6 ชั่วโมง
3.เข้ารับการทดสอบข้อเขียน ดังนี้
  • ผู้ขอรับใบอนุญาตชนิดที่ 1 หรือชนิดที่ 2 สอบข้อเขียนจำนวน 60 - 45 ข้อ
  • ผู้ขอรับใบอนุญาตชนิดที่ 3 สอบข้อเขียนจำนวน 30 ข้อ
  • ผู้ขอรับใบอนุญาตชนิดที่ 4 ทดสอบข้อเขียนเช่นเดียวกับ (2) และสอบข้อเขียนวิชาความรู้ เกี่ยวกับวัตถุอันตรายเพิ่มอีก จำนวน 30 ข้อ ผู้รับการทดสอบจะต้องได้คะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 จึงจะถือว่าผ่านการทดสอบ
4.เข้ารับการทดสอบขับรถ ดังนี้
ผู้ขอรับใบอนุญาตชนิดที่ 1 หรือชนิดที่ 2 สอบขับรถตามชนิดใบอนุญาต
ผู้ขอรับใบอนุญาตชนิดที่ 3 และชนิดที่ 4 สอบขับรถลากจูง พร้อมรถพ่วง หรือรถกึ่งพ่วง โดยทำการทดสอบขับรถ ไม่น้อยกว่า 3 ท่า ใน 6 ท่า ดังต่อไปนี้
  • ท่าที่ 1 การเดินหน้าและหยุดรถเทียบทางเท้า
  • ท่าที่ 2 การขับรถเดินหน้าและถอยหลังในทางตรง
  • ท่าที่ 3 การขับรถถอยหลังเข้าจอดและออกจากช่องว่างด้านซ้าย
  • ท่าที่ 4 การหยุดรถและออกรถบนทางลาด
  • ท่าที่ 5 การกลับรถ
  • ท่าที่ 6 การขับรถเดินหน้าเข้าจอดในช่องที่เป็นมุมฉาก
5.เมื่อผู้ขอรับใบอนุญาตผ่านการทดสอบสมรรถภาพร่างกาย ทดสอบข้อเขียนและทดสอบขับรถแล้ว
สำหรับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถ ประเภทส่วนบุคคล ชำระค่าธรรมเนียมและรับใบอนุญาตได้
สำหรับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถ ประเภททุกประเภท ทางราชการจะทำการตรวจสอบ ประวัติอาชญากรว่า ไม่เป็นผู้เคยได้รับโทษจำคุกหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย ให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดอันได้กระทำโดยประมาทที่มิใช่เกี่ยวกับการใช้รถ ในการกระทำความผิด หรือเป็นความผิดลหุโทษหรือได้พ้นโทษมาแล้วเกินสามปี จึงจะชำระค่าธรรมเนียม และรับใบอนุญาตได้
เท่านี้ก็จะเสร็จขั้นตอนการทำใบขับขี่จักรยานยนต์แล้วครับ ซึ่งใบขับขี่ที่ได้มาใบแรกนี้จะเป็นแบบชั่วคราว 1 ปีเท่านั้น พอครบ 1 ปี ก็เพียงไปที่สำนักงานขนส่งที่ท่านสะดวกเพื่อต่ออายุบัตรให้เป็นแบบ 5 ปี ซึ่งคราวนี้ไม่ต้องสอบข้อเขียน และปฏิบัติใหม่แล้วครับ แค่ทดสอบสมรรถภาพร่างกาย และยื่นเอกสารนิดหน่อยเท่านั้นเอง 
เป็นยังไงกันบ้างครับ ไม่ยากเลยใช่ไหมครับ ยังไงก็ขอให้ขับขี่ปลอดภัย และสวมหมวกกันน็อคเวลาขับขี่จักรยานยนต์ด้วยนะครับ 

แท็กที่เกี่ยวข้อง สอบใบขับขี่จักรยานยนต์มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง? ทำใบขับขี่
Motorbike Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Motorbike Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)