นับตั้งแต่เปิดตัวครั้งแรกในปี 1998 R1 ที่เป็นเจเนอเรชั่นใหม่ต่อจาก YZF750 ก็สร้างความฮือฮาด้วยรูปทรงที่เล็กเหมือนรถคลาส 600 ซีซี แต่กลับมีขุมพลังใหญ่ถึง 998 ซีซี ทำให้วันเปิดตัวรถทำเอาหลายคนงงไปตามๆ กัน นับเป็นรุ่นรถที่มีสเปคเหนือความคาดหมาย และเป็นก้าวกระโดดของการพัฒนาซูเปอร์ไบค์ ในวันนี้ R1 กลายเป็นรถธงที่ยอดเยี่ยมทั้งเบาและแรง สร้างชื่อในสนามแข่งได้มากมาย (ขอบคุณภาพจาก www.totalmotorcycle.com)
ดูราคา-สเปค และโปรโมชั่น Yamaha ทุกรุ่นในยุคต้น 80s เจ้า RD350LC กลายเป็นรถคันเท่ของหนุ่มสาวสมัยนั้น ด้วยราคาที่ไม่สูงเกินไป สมรรถนะสูง จนกลายเป็นรถเข้าแก๊งของพวกฮูลิแกนยุคนั้น ถึงวันนี้พวกหนุ่มห้าวตอนนั้นหลายคนคงยินดีจ่ายค่าฟื้นฟูให้ RD350LC กลับมาสมบูรณ์แบบอีกครั้ง (ขอบคุณภาพจาก www.silodrome.com)
ดูราคา-สเปค และโปรโมชั่น Yamaha ทุกรุ่นดูเหมือนเป็นรถที่ไม่น่าติดอันดับความเด่น แต่ในยุคนั้น 1977 รุ่นนี้ออกแบบมาเพื่อรองรับตลาดวัยรุ่น และถูกมองว่าเป็นซูเปอร์ไบค์คันหนึ่งเพราะวิ่งได้เกินสปีดลิมิต 48 กม./ชม. และมีคนเคยบอกว่าวิ่งได้เร็วถึง 80 กว่า กม./ชม. ด้วยซ้ำ กลายเป็นไอคอนของเจเนอเรชั่นนั้นไปเลย (ขอบคุณภาพจาก www.laceysmotorcycles.co.uk)
ดูราคา-สเปค และโปรโมชั่น Yamaha ทุกรุ่นเป็นรุ่นที่ตกอยู่ใต้เงาความสำเร็จของคู่แข่งอย่าง RC30 มาโดยตลอด เจ้า OW-01 เป็นรถที่พร้อมแข่งตั้งแต่แรก ด้วยราคาที่แพงลิ่ว ขี่ยาก และเป็นสไลด์คาร์บูฯ ทำให้ยอดขายไม่ดีนัก จริงๆ มันไม่เหมาะกับผู้ขี่ทั่วไป เพราะเน้นผลิตจำหน่ายให้กับนักแข่งมากกว่า (ขอบคุณภาพจาก global.yamaha-motor.com)
ดูราคา-สเปค และโปรโมชั่น Yamaha ทุกรุ่นสายพันธุ์สปอร์ตแห่งถนนอย่าง RD500 ในยุค 80s อาจทำตลาดในหลายภูมิภาคด้วยชื่อที่แตกต่างกันไปบ้าง แต่ในญี่ปุ่นได้มีการปรับจูนให้ดีขึ้นพร้อมจำหน่ายภายในประเทศด้วยรหัส RZV500R วัสดุเฟรมเป็นอะลูมิเนียม ช่วงล่างสเปคเหนือกว่า และดีกว่าคู่แข่ง RC213V-S ในด้านพลัง ทั้งยังสามารถอัพเกรดได้ง่ายด้วย ที่สำคัญตอนนี้ในญี่ปุ่นยังมีรถใหม่เก่าเก็บขายให้กับนักสะสมพร้อมส่งทั่วโลกด้วย (ขอบคุณภาพจาก rmdmotors.com)
ดูราคา-สเปค และโปรโมชั่น Yamaha ทุกรุ่นในช่วงเวลานั้น แทบไม่มีรุ่นใดก้าวขึ้นมาเทียบ TDM850 ได้ ด้วยรูปลักษณ์ที่ไม่เชิงเป็นออฟโรด, ออนโรด, ทัวร์เรอร์ หรือแม้แต่สปอร์ตไบค์ เป็นรถแนวมัลติสตราด้า และเป็นรถที่ดีมากรุ่นหนึ่ง ด้วยขุมพลังสไตล์สปอร์ตจากรุ่น TRX850 แต่โดยรวมเน้นน้ำหนักที่เบากว่ามากความแรง (ขอบคุณภาพจาก www.motorcyclespecs.co.za)
ดูราคา-สเปค และโปรโมชั่น Yamaha ทุกรุ่นจากกลางยุค 70 เป็นต้นมา เจ้า XT500 กลายเป็นผลงานการผลิตที่สมบูรณ์แบบของกลุ่มสแครมเบลอร์ และกลายเป็นตัวเริ่มต้นสำคัญที่ต่อมาได้พัฒนาเป็นรุ่น XT600Z Tenere หนึ่งในรุ่นรถที่เน้นแอดเวนเจอร์โลดโผนแบบในการรายการแข่งปารีส-ดาการ์อันโด่งดัง ซึ่งมักส่งผลให้มีการออกแบบที่คล้ายคลึงในเวลาต่อมา (ขอบคุณภาพจาก i60.servimg.com)
ดูราคา-สเปค และโปรโมชั่น Yamaha ทุกรุ่นในยุคนี้แนวคิดการเอาเครื่องยนต์ในสปอร์ตไบค์มายัดในมอเตอร์ไซค์แบบดูอัลสปอร์ต หรือออน/ออฟ มีมากขึ้น ตัวอย่างเช่น ดูคาติ มัลติสตราด้า, บีเอ็มดับเบิลยู S1000XR และ เคทีเอ็มหลายรุ่น ย้อนกลับไปในปี 1988 ยามาฮ่า กล้าที่จะเอาเครื่องยนต์จากรุ่น TZR250 มาใส่เฟรมยกสูง เป็นกึ่งออฟโรด แต่ใช้งานง่ายกว่าจนเป็นรุ่น TDR250 ก่อนที่จะมีพวกสแครมเบอร์มากมายหลายยี่ห้ออย่างทุกวันนี้ และเครื่องยนต์ 2 จังหวะในยุคนั้นก็ยังคงมีสเน่ห์และทำให้นึกถึงวันวานที่น่าจดจำ
ดูราคา-สเปค และโปรโมชั่น Yamaha ทุกรุ่นในยุคที่ V-Max เกิดออกมาดูโลก มันมีขุมพลังขนาด 1,200 ซีซี ซึ่งในตอนนั้นก็นับว่ามากโขสำหรับยุค 80s จนเป็นที่กล่าวถึง ด้วยพลังที่แรงระดับ 145 แรงม้า ท่ามกลางมอเตอร์ไซค์รุ่นอื่นๆ ที่มักมีไม่เกิน 80 แรงม้า ทำให้มันเป็นตำนานแห่งเจ้าถนนที่ไร้คู่ต่อกร แต่พอขยับขุมพลังเป็น 1,700 ซีซี เบ่งพลังระดับ 200 แรงม้า สำหรับยุคนี้ก็อาจจะเป็นตัวเลขที่ดูไม่น่าตื่นเต้นเท่าไรนัก (ขอบคุณภาพจาก moto.zombdrive.com)
ดูราคา-สเปค และโปรโมชั่น Yamaha ทุกรุ่นR7 เกิดมาใหญ่ เป็นรุ่นรถที่สร้างชื่อในรายการ WSB ให้กับยามาฮ่า ผลิตออกมาน้อยมาก ทำให้ค่าตัวของ R7 พุ่งขึ้นเรื่อยๆ และเป็นที่มองหาของนักสะสม (ขอบคุณภาพจาก www.classic-motorbikes.com)
ดูราคา-สเปค และโปรโมชั่น Yamaha ทุกรุ่นเมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้
ประเภทคุกกี้ อ่านเพิ่มเติม ที่นี่ |
ยินยอม / ไม่ยินยอม |
---|---|
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ (Strictly Necessary) |
|
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์ (Functionality) |
|
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์ (Performance & Analytics) |
|
คุกกี้เพื่อการตลาด (Marketing) |