จับตา CURRENCY WAR 3.0 สงครามค่าเงินรูปแบบใหม่

ข่าว icon 10 มี.ค. 66 icon 873
ดร.อมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสำนักวิจัย และที่ปรึกษาการลงทุน ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย เปิดเผยว่า ตลาดการเงินผันผวนหนักอีกครั้งในเดือนกุมภาพันธ์ หลังตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐออกมาดีเกินคาด สะท้อนว่าการขึ้นดอกเบี้ยไปถึงระดับ 4.75% ไม่สามารถชะลอเศรษฐกิจสหรัฐลงได้ จนนักลงทุนคาดว่าการขึ้นดอกเบี้ยของเฟดอาจจำเป็นต่อจนถึงระดับ 5.50% ในเดือนมิถุนายน
 
อย่างไรก็ดี สำนักวิจัยฯ มองว่า เฟดไม่จำเป็นต้องกลับมาใช้ยาแรงด้วยการขึ้นดอกเบี้ยครั้งละ 0.50% เพื่อฉุดเงินเฟ้อลงเหมือนที่เคยทำเมื่อปีก่อน แต่จะเห็นการขึ้นดอกเบี้ยแบบค่อยเป็นค่อยไปครั้งละ 0.25% และไม่น่าเห็นการลดอัตราดอกเบี้ยในปีนี้จนกว่าเงินเฟ้อจะลดลงอย่างชัดเจน จนปรากฏคำใหม่ 3 คำ
 
no pivot - เฟดไม่พลิกกลับด้านมาลดดอกเบี้ย
no landing - เศรษฐกิจสหรัฐไม่ชะลอลงจอดนิ่มๆ แต่ยังขยายตัวต่อเนื่อง
no dis-inflation – เงินเฟ้อไม่ลดลงเทียบเดือนต่อเดือนในระยะสั้น
 
ในภาวะที่สหรัฐยังเผชิญความท้าทาย จากเงินเฟ้อฝั่งอุปสงค์ที่ขยายตัว และค่าจ้างแรงงานยังเพิ่มสูงจากตลาดแรงงานที่ตึงตัว ทั้งหมดนี้ นักลงทุนยังสามารถหาจังหวะการลงทุนในภาวะเช่นนี้ได้ แต่สำหรับฝั่งตลาดเกิดใหม่กำลังเผชิญสงครามค่าเงิน version ใหม่ หรือ Currency War 3.0
 
ย้อนกลับไปปี 2019 ช่วงสหรัฐทำสงครามการค้ากับจีน ธนาคารกลางในภูมิภาคพยายามลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อปล่อยให้ค่าเงินอ่อนค่า หวังเพิ่มความสามารถในการแข่งขันด้านส่งออก กลายเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เรียกว่าหากลดดอกเบี้ยแรงกว่าเพื่อน ค่าเงินจะอ่อนกว่า สามารถขายของหรือส่งออกได้ดีกว่า เกิดเป็นสงครามค่าเงินรูปแบบแรก (Currency War 1.0)
 
แต่พอมาปี 2022 เกิดสงครามค่าเงินรูปแบบใหม่ (Currency War 2.0) ธนาคารกลางในภูมิภาคพยายามขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อพยุงค่าเงินให้ไม่อ่อนค่าแรงเทียบดอลลาร์สหรัฐ แม้การส่งออกทำได้ดี แต่ปัญหาอยู่ที่อัตราเงินเฟ้อสูง ค่าเงินที่แข็งค่าจะช่วยลดราคาสินค้านำเข้า โดยเฉพาะน้ำมัน ซึ่งจะช่วยบรรเทาปัญหาเงินเฟ้อและประคองเศรษฐกิจในประเทศ
 
ปี 2023 กำลังจะเกิดสงครามค่าเงินอีกรูปแบบ (Currency War 3.0) เป็นการตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ เพื่อปล่อยให้ค่าเงินในประเทศอ่อนค่า หวังเพิ่มความสามารถการแข่งขันการส่งออก ในช่วงที่เงินดอลลาร์สหรัฐยังแข็งค่าตามการขึ้นอัตราดอกเบี้ยในสหรัฐ ขณะที่ราคาน้ำมันกำลังลดลงช่วยให้อัตราเงินเฟ้อฝั่งเอเชียย่อลง และสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในภูมิภาค
 
"สำหรับดอกเบี้ยนโยบายของไทย สำนักวิจัยฯ คาดการณ์ว่า กนง. จะมีมติปรับขึ้นดอกเบี้ยในการประชุม 29 มี.ค. นี้ อีก 0.25% สู่ระดับ 1.75% แต่ก็มีลุ้นว่าอาจเสียงแตกให้ตรึงดอกเบี้ย จากการที่ภาคส่งออกหดตัวอาจฉุดเศรษฐกิจไทยเสี่ยงโตช้า เข้าสู่ภาวะถดถอยทางเทคนิค และในการประชุมเดือนพฤษภาคมอาจเห็นการตรึงดอกเบี้ย ปล่อยให้บาทอ่อนค่าอยู่ในกรอบ 35-36 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐในไตรมาสสอง ช่วงเงินเฟ้อขยับลง เพื่อฟื้นเศรษฐกิจ" ดร.อมรเทพ กล่าว
 

แท็กที่เกี่ยวข้อง

ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ข่าวการเงิน 2566 จับตา CURRENCY WAR 3.0 สงครามค่าเงินรูปแบบใหม่

ข่าวและอีเว้นท์การเงินล่าสุด

ธอส. นำโปรโมชันสินเชื่อบ้านอัตราดอกเบี้ยต่ำ 6 เดือนแรกเพียง 1.99% ต่อปี ร่วมงาน "Thailand Smart Money ระยอง ครั้งที่ 7" ระหว่างวันที่ 28 - 30 มิ.ย. 2567
เปิดบัญชีเงินฝากประจำ ซูเปอร์ ซีเนียร์ ได้ดอกเบี้ยสูง 2.2% ต่อปี ฟรีประกันอุบัติเหตุ สูงสุด 3 ล้านบาท*
MONEY EXPO 2024 BANGKOK เปิดยิ่งใหญ่ ชู 7 โซนบริการการเงินการลงทุนครบวงจร แบงก์ นอนแบงก์ ประกัน เสิร์ฟโปรโมชั่นแรงแห่งปี
ออมสิน ออกสินเชื่อต้อนรับเปิดเทอม แบ่งเบาภาระผู้ปกครองตามนโยบายรัฐ ครอบคลุมค่าเทอม ชุดนักเรียน และอุปกรณ์ ดอกเบี้ยคงที่ 0.60% ต่อเดือน ผ่อนนาน 1 ปี


เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)