KBank Private Banking ชี้การลงทุนอย่างยั่งยืนคือ "ทางรอด"

ข่าว icon 29 ก.ย. 65 icon 1,542

KBank Private Banking (เคแบงก์ ไพรเวทแบงกิ้ง) ชวนสังคมเปลี่ยนมุมมองไปสู่การลงทุนอย่างยั่งยืน (Sustainable Investment) ผนึกกำลัง Lombard Odier และ GC เปิดเวทีเสวนา "การลงทุนเพื่อความยั่งยืน: "ทางรอด" ไม่ใช่ "ทางเลือก" (Investment for Sustainability: Transition or Extinction)" ย้ำความยั่งยืนของโลกสามารถสร้างการเติบโตที่มั่นคงให้กับทั้งธุรกิจและการลงทุนในระยะยาว โชว์ผลตอบแทน 3 ปี ของกองทุนด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เติบโตเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 10% ต่อปี พร้อมแนะนักลงทุนปรับพอร์ตเพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริงผ่าน 3 ขั้นตอน ได้แก่ ปรับแนวคิดการลงทุนมุ่งสู่ Net Zero พิจารณาพอร์ตการลงทุนใหม่ และเสริมพอร์ตด้วยกองทุนเปลี่ยนโลก

นายจิรวัฒน์ สุภรณ์ไพบูลย์ Executive Chairman, Private Banking Group ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า "การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกได้ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ รวมถึงสร้างความเสี่ยงแก่ภาคธุรกิจและการลงทุนอย่างมหาศาล ในฐานะผู้นำด้านบริการบริหารความมั่งคั่งในประเทศไทยและผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุน ธนาคารเชื่อว่า การลงทุนจะเป็นกุญแจดอกสำคัญที่จะเปิดประตูทางออกสำหรับวิกฤตินี้ ในขณะเดียวกันก็สามารถสร้างผลตอบแทนที่มั่นคง ผ่านการสนับสนุนธุรกิจที่ปรับตัวเข้ากับเศรษฐกิจที่มุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ซึ่งจะมีประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ รวมทั้งขีดความสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้นในอนาคต และกลายเป็นธุรกิจผู้ชนะในที่สุด โดยหากดูจากผลตอบแทนของกองทุนเพื่อความยั่งยืนในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา จะเห็นว่าส่วนใหญ่มีผลการดำเนินงานเหนือกว่าดัชนีชี้วัด ซึ่งเป็นเครื่องสะท้อนว่าการลงทุนเปลี่ยนโลกไม่ใช่การเสียสละ หรือเป็น 'ทางเลือก' ที่มีต้นทุนสูงกว่าราคาเฉลี่ย แต่เป็นการสร้าง 'ทางรอด' ให้กับพอร์ตการลงทุนในอนาคต"

นายแม็กซีม เพอเคอ Head of Sustainable Investment, Lombard Odier Investment Managers กล่าวเสริมว่า "การบริหารพอร์ตการลงทุนเพื่อมุ่งสู่ความยั่งยืนบนกรอบแนวคิด ESG อาจไม่เพียงพอที่จะเฟ้นหาธุรกิจที่จะเป็นผู้ชนะได้ เนื่องจากมาตรวัด ESG คำนึงถึงบทบาทของบริษัทในฐานะพลเมืองของสังคม (Corporate Citizenship) เช่น การปฎิบัติต่อพนักงาน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และชุมชนท้องถิ่น แต่การลงทุนเพื่อความยั่งยืนจำเป็นต้องอาศัยเกณฑ์ในการคาดการณ์แนวโน้มการเติบโตของธุรกิจในอนาคต (Forward-looking Metrics) ในระบบเศรษฐกิจที่ลดการพึ่งพาคาร์บอนไดออกไซด์ลง เช่น แนวทางการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของบริษัทเมื่อเทียบกับธุรกิจอื่นในอุตสาหกรรมเดียวกัน ความสามารถของบริษัทในการบริหารจัดการต้นทุน การตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในบริบทที่เปลี่ยนแปลงไป และการใช้ประโยชน์จากโอกาสต่างๆ เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงภาวะแวดล้อมทางธุรกิจที่เป็นรูปธรรมและรวดเร็วด้วยเทคโนโลยีที่มี กล่าวคือ เราต้องให้ความสำคัญกับโมเดลธุรกิจ (Business Model) ของบริษัทที่จะขับเคลื่อนการเติบโตในอนาคต ควบคู่ไปกับแนวปฏิบัติ (Business Practice) ของบริษัทในปัจจุบัน"

หนึ่งในธีมการลงทุนเพื่อความยั่งยืนที่ Lombard Odier ให้ความสำคัญ คือ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Transition) ซึ่งมีธุรกิจเป้าหมายแบ่งเป็น 3 กลุ่มหลัก ได้แก่

  1. ​​​Solution Providers – กลุ่มธุรกิจที่นำเสนอแนวทางและผลิตภัณฑ์ที่ช่วยแก้ปัญหาการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เช่น TSMC ผู้ผลิตชิปที่ล้ำสมัยที่สุด ซึ่งกำลังขยายกำลังการผลิตชิปสำหรับรถยนต์ประเภท EV/HEV และตั้งเป้าที่จะใช้พลังงานทดแทนสำหรับฐานการผลิตทั้งหมดในปี 2573

  2. Transition Candidates – กลุ่มธุรกิจที่ปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิต และ/หรือ รูปแบบการดำเนินธุรกิจเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และเปลี่ยนผ่านสู่ Net Zero เช่น Cummins ผู้ออกแบบ ผลิต และจำหน่ายระบบส่งกำลังและเครื่องยนต์ ซึ่งปัจจุบันเป็นผู้ริเริ่มและเป็นผู้นำการผลิตระบบส่งกำลังพลังงานไฮโดรเจนในรถไฟ ซึ่งสำเร็จไปแล้ว 2 ขบวนแรกในโลก และมีแผนจะเพิ่มอีก 40 ขบวนทั่วโลก

  3. Adaptation Opportunities – กลุ่มธุรกิจที่ได้รับประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ และ/หรือ กระบวนการปรับธุรกิจเพื่อเข้ามุ่งสู่ Net Zero เช่น American Water บริษัทบริหารจัดการน้ำและบำบัดน้ำเสียที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐฯ ซึ่งได้รับประโยชน์จากโครงการขจัดสารปนเปื้อนและฟื้นฟูแหล่งน้ำ รวมถึงการวางระบบการป้องกันน้ำท่วมอีกด้วย

ทั้งนี้ KBank Private Banking ได้นำเสนอโอกาสในการลงทุนในธุรกิจเหล่านี้ผ่านกองทุน K-CLIMATE เป็นครั้งแรกในปี 2563 ซึ่งกองทุนสามารถสร้างผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ไม่ต่ำกว่า 10% อีกทั้งยังมีความผันผวนที่ต่ำกว่าดัชนีตัวชี้วัด นอกจากนี้ กองทุนหลักยังได้รับการรับรองเป็น Article 9 Fund โดย EU Sustainable Finance Disclosure Regulation (SFDR) ซึ่งเป็นมาตรฐานสูงสุดของกองทุนเพื่อความยั่งยืนที่ต้องมีเป้าหมายและดัชนีชี้วัดด้านความยั่งยืนโดยตรงอีกด้วย

หนึ่งในบริษัทชั้นนำของประเทศไทยที่มุ่งผลักดันเรื่อง Net Zero อย่างจริงจัง คือ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC โดย ดร.ชญาน์ จันทวสุ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานความยั่งยืนองค์กร กล่าวว่า "ด้วยบทบาทของผู้นำธุรกิจเคมีภัณฑ์ระดับสากล GC สานต่อการนำแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนมาปรับใช้ในการดำเนินธุรกิจ มุ่งสู่ เป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2593 และเราให้ความสำคัญกับการเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานของธุรกิจเดิม เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ในขณะเดียวกันก็ได้ปรับโครงสร้างของธุรกิจ ด้วยการลงทุนในธุรกิจใหม่ ซึ่งเน้นการพัฒนานวัตกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ยกระดับคุณภาพชีวิต ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคยุคใหม่ เช่น พลาสติกชีวภาพ พลาสติกรีไซเคิลคุณภาพสูง และเคมีภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูง จากการเข้าซื้อกิจการ allnex ผู้นำระดับโลกในธุรกิจผลิตภัณฑ์สารเคลือบผิว (Coating Resins) และสารเติมแต่งสำหรับงานอุตสาหกรรมที่มีความหลากหลายสำหรับใช้กับวัสดุ ทุกประเภท เป็นต้น ทั้งนี้ GC คาดว่าจะใช้เงินลงทุนเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 5 พันล้านเหรียญสหรัฐ และ 2.2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อปรับโครงสร้างธุรกิจเข้าสู่ธุรกิจคาร์บอนต่ำเพื่อการบรรลุเป้าหมาย Net Zero ควบคู่ไปกับการเติบโตของธุรกิจอย่างยั่งยืนในระยะยาว โดยผลการดำเนินงานที่ผ่านมาชี้ให้เห็นว่า ความสำเร็จของกลยุทธ์ด้านความยั่งยืนสามารถสร้างผลตอบแทนในเชิงธุรกิจได้อย่างเป็นรูปธรรม" 

นายจิรวัฒน์ กล่าวเพิ่มเติมว่า "โลกกำลังเปลี่ยนผ่านจากระบบเศรษฐกิจที่มีแนวทางการผลิตและบริโภคที่สร้างความเสียหายแก่โลก สู่ระบบเศรษฐกิจที่ยั่งยืนยิ่งขึ้น หรือ CLIC Economy ซึ่งหมายถึง เศรษฐกิจที่มีการใช้ทรัพยากรหมุนเวียน (Circular) ใช้ทรัพยากรได้อย่างเต็มประสิทธิภาพและไม่ผลิตของเสียในกระบวนการ (Lean)  มีความเท่าเทียมและคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของคนทุกกลุ่ม (Inclusive) และไม่ส่งผลกระทบหรือทำลายสิ่งแวดล้อม (Clean) การเปลี่ยนแปลงนี้ไม่เพียงแต่จะสร้างประโยชน์ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่ยังเป็นโอกาสครั้งสำคัญของนักลงทุน โดยสามารถเริ่มต้นด้วยการบริหารจัดการพอร์ตการลงทุนผ่าน 3 ขั้นตอน ดังนี้

  1. ​ปรับแนวคิดในการลงทุนมุ่งสู่ Net Zero และมองความยั่งยืนในฐานะแหล่งที่มาของผลตอบแทนที่มั่นคงในระยะยาว

  2. พิจารณาพอร์ตการลงทุนว่า มีสัดส่วนการลงทุนหรือกลไกด้านความยั่งยืนที่ชัดเจนหรือไม่ และที่ปรึกษาด้านการลงทุนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องนี้มากน้อยเพียงใด

  3. เสริมพอร์ตให้แข็งแกร่งขึ้นด้วยการลงทุนในกองทุนเปลี่ยนโลกที่สนับสนุนธุรกิจผู้ชนะโดยตรง

"KBank Private Banking หวังว่างานเสวนาในครั้งนี้จะจุดประกายให้นักลงทุนหันกลับมามองเรื่องความยั่งยืนในมุมใหม่ที่มุ่งสู่ Net Zero เพราะนี่ไม่ใช่เพียง 'ทางเลือก' แต่คือ 'ทางรอด' ทางเดียวของทั้งการลงทุน ธุรกิจ เศรษฐกิจ และโลกของเรา" นายจิรวัฒน์ กล่าวสรุป

 
ดูข่าว/อีเว้นท์การเงินอื่นๆ ที่น่าสนใจ

แท็กที่เกี่ยวข้อง

ลงทุน KBank Private Banking ข่าวการเงิน 2565 ข่าวธนาคารกสิกรไทย 2565 การลงทุนเพื่อความยั่งยืน

ข่าวและอีเว้นท์การเงินล่าสุด

ธอส. นำโปรโมชันสินเชื่อบ้านอัตราดอกเบี้ยต่ำ 6 เดือนแรกเพียง 1.99% ต่อปี ร่วมงาน "Thailand Smart Money ระยอง ครั้งที่ 7" ระหว่างวันที่ 28 - 30 มิ.ย. 2567
เปิดบัญชีเงินฝากประจำ ซูเปอร์ ซีเนียร์ ได้ดอกเบี้ยสูง 2.2% ต่อปี ฟรีประกันอุบัติเหตุ สูงสุด 3 ล้านบาท*
MONEY EXPO 2024 BANGKOK เปิดยิ่งใหญ่ ชู 7 โซนบริการการเงินการลงทุนครบวงจร แบงก์ นอนแบงก์ ประกัน เสิร์ฟโปรโมชั่นแรงแห่งปี
ออมสิน ออกสินเชื่อต้อนรับเปิดเทอม แบ่งเบาภาระผู้ปกครองตามนโยบายรัฐ ครอบคลุมค่าเทอม ชุดนักเรียน และอุปกรณ์ ดอกเบี้ยคงที่ 0.60% ต่อเดือน ผ่อนนาน 1 ปี


เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)