วีซ่า เผยเทรนด์ผู้บริโภคเมื่อโควิดกลายเป็นโรคประจำถิ่น : คนจะใช้จ่ายแบบไร้เงินสด ช้อปปิ้งออนไลน์ และเที่ยวล้างแค้น

ข่าว icon 31 พ.ค. 65 icon 1,944
วีซ่า ผู้นำการให้บริการการชำระเงินดิจิทัลระดับโลก เผยข้อมูลจากการศึกษาเรื่องทัศนคติการชำระเงินของผู้บริโภคประจำปีของวีซ่า (Visa Consumer Payment Attitudes Study)  ว่าการใช้จ่ายแบบไร้เงินสด การช้อปปิ้งออนไลน์ และการเที่ยวล้างแค้น คือ สามเทรนด์ผู้บริโภคหลักที่จะเกิดขึ้นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หลังโควิดถูกลดระดับสู่โรคประจำถิ่น
 
โดยผู้บริโภคชาวไทยนำหน้าประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ตั้งใจจะใช้จ่ายแบบไร้เงินสดบ่อยครั้งขึ้น (89%) ตามด้วยเวียดนาม (83%) มาเลเซีย (78%) อินโดนีเซีย (78%) และฟิลิปปินส์ (78%)
 
การศึกษาครั้งนี้ยังเผยอีกด้วยว่าผู้บริโภคชาวไทยมีความมั่นใจในการชำระเงินรูปแบบดิจิทัลเป็นที่สุด โดยมากกว่าสี่ในห้า ของคนไทย (86%) มองว่าการชำระเงินรูปแบบดิจิทัลนั้นปลอดภัยมากกว่า ตามด้วยเวียดนาม (80%) ฟิลิปปินส์ (79%) อินโดนีเซีย (79%) และมาเลเซีย (75%) 
ซีรีน เกย์ ผู้จัดการวีซ่า ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า "สองปีที่ผ่านมานี้ เราได้มองเห็นการขับเคลื่อนด้านการค้าดิจิทัลจากการที่ผู้บริโภคมองหาวิธีการชำระที่เหนือกว่าในด้านความรวดเร็ว ปลอดภัย และสะดวกสบายยิ่งขึ้น  เมื่อประเทศต่างๆ ในภูมิภาคนี้เปิดพรมแดนอีกครั้ง จึงถือเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับธุรกิจทั้งหลายที่จะปรับตัวและเปิดรับ เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาในการดำเนินธุรกิจ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่วิวัฒนาการอย่างต่อเนื่อง"
 
การปิดร้านค้าในช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด ทำให้เกิดการซื้อขายสินค้าผ่านช่องทางใหม่ๆ อย่างมากมาย โดยมากกว่าครึ่งของผู้บริโภคชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (55%) เคยลองช้อปปิ้งออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชันหรือเว็บไซต์เป็นครั้งแรก ซึ่งแนวโน้มดังกล่าวเกิดขึ้นเป็นจำนวนมากในประเทศอินโดนีเซีย (72%) เวียดนาม (66%) และไทย (65%) มากกว่าสองในห้าของนักช้อป (42%) ยังเลือกที่จะสั่งซื้อของทางโทรศัพท์จากร้านค้าใกล้บ้านเป็นครั้งแรก ซึ่งเกิดขึ้นในประเทศเวียดนาม (57%) ไทย (54%) และฟิลิปปินส์ (45%) โดยผู้บริโภคจำนวนไม่น้อยที่เปลี่ยนไปช้อปผ่านช่องทางสื่อโซเชียล (40%) โดยเวียดนามเป็นประเทศที่คนนิยมการช้อปแบบนี้มากที่สุด (50%) ตามด้วยประเทศไทย (49%) และฟิลิปปินส์ (46%)
 
ด้านการท่องเที่ยวนั้น แนวโน้มของปรากฏการณ์ที่เรียกว่า "เที่ยวล้างแค้น" จะเกิดขึ้นจากความต้องการที่อั้นไว้ก่อนหน้าของผู้คนที่อยากจะกลับมาเดินทางท่องเที่ยวอย่างเสรี โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มผู้บริโภคในประเทศไทย โดยจากการศึกษาของวีซ่าครั้งนี้พบว่า เกือบครึ่งของผู้บริโภคชาวไทย (46%) น่าจะมีการเดินทางไปเที่ยวยังต่างแดนในปีหน้า ตามด้วยผู้บริโภคของสิงคโปร์ (41%) และฟิลิปปินส์ (38%)
 
"เราหวังว่าผลจากการศึกษาครั้งนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ประกอบการของไทยในช่วงการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่การเป็นโรคประจำถิ่น นอกจากนี้ วีซ่าและพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ของเรายังจะเดินหน้าสร้างสรรค์และพัฒนาอนาคตทางการชำระเงินให้ดียิ่งขึ้น ด้วยการสร้างประสบการณ์ทางการชำระเงินที่ทันสมัยและเข้าถึงได้สำหรับทุกคน ทุกที่ และทุกเวลา" ซีรีน กล่าวสรุป
 
ดูข่าว/อีเว้นท์การเงินอื่นๆ ที่น่าสนใจ

แท็กที่เกี่ยวข้อง

บัตรเครดิตวีซ่า วีซ่า ช้อปปิ้งออนไลน์ ใช้จ่ายแบบไร้เงินสด เทรนด์ผู้บริโภค เที่ยวล้างแค้น

ข่าวและอีเว้นท์การเงินล่าสุด

ธอส. นำโปรโมชันสินเชื่อบ้านอัตราดอกเบี้ยต่ำ 6 เดือนแรกเพียง 1.99% ต่อปี ร่วมงาน "Thailand Smart Money ระยอง ครั้งที่ 7" ระหว่างวันที่ 28 - 30 มิ.ย. 2567
เปิดบัญชีเงินฝากประจำ ซูเปอร์ ซีเนียร์ ได้ดอกเบี้ยสูง 2.2% ต่อปี ฟรีประกันอุบัติเหตุ สูงสุด 3 ล้านบาท*
MONEY EXPO 2024 BANGKOK เปิดยิ่งใหญ่ ชู 7 โซนบริการการเงินการลงทุนครบวงจร แบงก์ นอนแบงก์ ประกัน เสิร์ฟโปรโมชั่นแรงแห่งปี
ออมสิน ออกสินเชื่อต้อนรับเปิดเทอม แบ่งเบาภาระผู้ปกครองตามนโยบายรัฐ ครอบคลุมค่าเทอม ชุดนักเรียน และอุปกรณ์ ดอกเบี้ยคงที่ 0.60% ต่อเดือน ผ่อนนาน 1 ปี


เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)