สรรพากรจับมือ 11 ธนาคาร นำเทคโนโลยี Blockchain ของ NDID ยกระดับการยืนยันตัวตน และเชื่อมข้อมูลการให้บริการภาษี

ข่าว icon 25 พ.ค. 65 icon 2,038
วันที่ 23 พฤษภาคม 2565 กรมสรรพากร และ บริษัท เนชั่นแนลดิจิทัลไอดี จำกัด (NDID) ร่วมด้วยธนาคารอีก 11 ธนาคาร ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ เรื่อง การเข้าถึงระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล เพื่อสนับสนุนข้อมูลสำหรับการให้บริการธุรกรรมภาษี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการให้บริการธุรกรรมภาษีของกรมสรรพากร โดยเชื่อมต่อกับระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลของ NDID เพื่อให้การพิสูจน์และยืนยันตัวตนผ่านระบบดิจิทัล สามารถนำมาใช้ในการสนับสนุนข้อมูลการให้บริการธุรกรรมภาษีของกรมสรรพากร ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นที่ยอมรับจากผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน สร้างการอำนวยความสะดวก ปลอดภัย สร้างความโปร่งใส และลดภาระของประชาชนและภาคเอกชนในการติดต่อหรือใช้บริการจากกรมสรรพากร โดยการลงนามในบันทึกข้อตกลงครั้งนี้ ได้จัดพิธีการลงนามบันทึกข้อตกลงแบบ Online ผ่านโปรแกรม Zoom

ดร.เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า "ความร่วมมือกับ NDID ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์สำคัญ เพื่อการยกระดับการให้บริการธุรกรรมภาษี 2 เรื่อง คือ 1. การพิสูจน์ตัวตน และ 2. การเชื่อมโยงข้อมูลการให้บริการภาษี ซึ่งกรมสรรพากรคำนึงถึงความสะดวกของผู้เสียภาษีเป็นหลัก จึงร่วมมือกับหน่วยงานที่เป็น ID Platform เช่น NDID เพื่อให้ผู้เสียภาษีมีทางเลือกให้การยืนยันตัวตนของตนเอง นอกจากนี้กรมสรรพากรให้ความสำคัญในรื่องการเชื่อมโยงข้อมูลอย่างปลอดภัยและการให้สิทธิ์ผู้เสียภาษีในการควบคุมข้อมูลของตนเอง ด้วยเทคโนโลยีของ NDID ซึ่งเบื้องหลังเป็น Blockchain จะทำให้ผู้เสียภาษีหรือลูกค้าของธนาคารเชื่อถือได้ว่าตัวเองมีสิทธิ์ขาดในการร้องขอให้รับ/ส่งข้อมูลของตนเองที่เก็บไว้ในหน่วยงานในกลุ่ม และหน่วยงานในกลุ่มจะเชื่อถือได้ว่าไม่ได้ปลอมแปลงเอกสารและมีการร้องขอให้รับ/ส่งข้อมูลที่ได้รับการยินยอมแล้วจริง สร้างความสะดวก ความรวดเร็ว โปร่งใส และต้นทุนต่ำให้กับประเทศ ตามเป้าประสงค์ที่กำหนดในยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ และแผนการปฏิรูปประเทศด้านการบริหารราชการแผ่นดิน

ทั้งนี้ กรมสรรพากรขอขอบคุณ บริษัท เนชั่นแนลดิจิทัลไอดี จำกัด (NDID) สมาคมธนาคารไทย สมาคมสถาบันการเงินของรัฐ และธนาคารอีก 11 ธนาคาร ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารเกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ที่เห็นถึงความสำคัญและให้ความร่วมมือกับกรมสรรพากรในการดำเนินงานในครั้งนี้"
นายผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย ในฐานะประธานสมาคมธนาคารไทย เปิดเผยว่า สมาคมธนาคารไทยและธนาคารสมาชิก มุ่งส่งเสริมแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพและความเชื่อมั่นในระบบสถาบันการเงิน พร้อมให้ความร่วมมือตอบสนองนโยบายของภาครัฐ โดยเฉพาะการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อให้บริการประชาชน ล่าสุด สถาบันการเงินของภาครัฐและเอกชนรวม 11 แห่ง และ บริษัท เนชั่นแนลดิจิทัลไอดี จำกัด หรือ NDID ได้ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจกับกรมสรรพากร เรื่อง "การเข้าถึงระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลเพื่อสนับสนุนข้อมูลสำหรับการให้บริการธุรกรรมภาษี" ซึ่งถือเป็นอีกก้าวสำคัญของกรมสรรพากรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการร่วมมือกัน เพื่อยกระดับบริการธุรกรรมภาษีให้รวดเร็ว โปร่งใสและมีต้นทุนต่ำ โดยเชื่อมต่อกับระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลของ NDID เพื่อให้การพิสูจน์และยืนยันตัวตนผ่านระบบดิจิทัล สามารถนำมาใช้ในการสนับสนุนข้อมูลการให้บริการธุรกรรมภาษีของกรมสรรพากร ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดบนเทคโนโลยีความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล

นอกจากนี้ กรมสรรพากร สถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการ และ NDID จะนำโครงการนี้ เข้าสู่การทดสอบ Digital Service Sandbox ของสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อให้ระบบอยู่ภายใต้การดูแลของหน่วยงานกำกับดูแลทั้งสองแห่ง และเพิ่มความมั่นใจให้แก่ทุกภาคส่วน ก่อนจะเปิดให้บริการแก่ประชาชนในวงกว้างต่อไป โดยเชื่อมั่นว่า ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง จะร่วมกันส่งมอบบริการที่ดีให้กับภาคประชาชนและภาคธุรกิจได้อย่างไร้รอยต่อ มีประสิทธิภาพ ก่อให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุดต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ

ที่ผ่านมา ภาคธนาคารได้ให้ความร่วมมือในการตอบสนองนโยบายด้านบริการอิเล็กทรอนิกส์ของกรมสรรพากรหลายด้าน อาทิ การคืนภาษีผ่านพร้อมเพย์ การจ่ายชำระภาษีต่างๆ ผ่าน Bill Payment การให้บริการ e- Withholding Tax และในปี 2564 ได้ร่วมมือกับกรมสรรพากรผ่านการให้บริการของ NDID ที่มีภาคธนาคารเป็นผู้ถือหุ้นหลัก ในการให้บริการพิสูจน์ตัวตน เพื่อประกอบการยื่นเสียภาษีผ่านช่องทางอิเล็คทรอนิกส์และการตรวจสอบข้อมูลลดหย่อนผ่านแพลตฟอร์ม NDID ซึ่งถือเป็นแพลตฟอร์มแรก และแพลตฟอร์มเดียวที่ผ่านการทดสอบนวัตกรรมหรือบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์" (Digital Service Sandbox) ของสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

นายฉัตรชัย ศิริไล กรรมการผู้จัดการธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ในฐานะประธานกรรมการสมาคมสถาบันการเงินของรัฐ เปิดเผยว่า สมาคมสถาบันการเงินของรัฐ พร้อมให้ความร่วมมือกับกรมสรรพากร ในการสนับสนุนให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ เข้ามามีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมให้ประชาชนสามารถเข้าถึงการใช้บริการผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างคล่องตัวมากขึ้น โดยพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจ เรื่อง "การเข้าถึงระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลเพื่อสนับสนุนข้อมูลสำหรับการให้บริการธุรกรรมภาษี" ในครั้งนี้ นับเป็นการพัฒนาการเข้าถึงระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลผ่าน NDID Platform โดยเฉพาะการขอรับบริการธุรกรรมภาษี ตามแผนของกรมสรรพากรของประชาชนได้เป็นอย่างดี เพราะระบบดังกล่าว เป็นการยกระดับการให้บริการด้านดิจิทัลที่จะทำให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลธุรกรรมทางภาษีของตนเองได้อย่างสะดวก รวดเร็ว โปร่งใส และมีต้นทุนต่ำลง ขณะเดียวกันยังช่วยยกระดับการทำธุรกรรมออนไลน์ของคนไทยให้มีความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล เนื่องจากระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลผ่าน NDID Platform นั้น เป็นระบบที่มีมาตรฐานความปลอดภัยและยังคงรักษาความเป็นส่วนตัวของข้อมูล (Data Privacy and Security by design) ด้วย

ทั้งนี้การพัฒนาและเชื่อมโยงระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลผ่าน NDID Platform ระหว่างกรมสรรพากร และภาคสถาบันการเงินในครั้งนี้ ยังสามารถสร้างความมั่นใจในการเข้าถึงการให้บริการด้านดิจิทัลและการนำข้อมูลด้านภาษีไปใช้ประโยชน์ และอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนและภาคธุรกิจในการทำธุรกรรมด้านภาษีกับกรมสรรพากรได้มากขึ้น สมาคมสถาบันการเงินของรัฐ จึงสนับสนุนให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ ยกเว้นค่าธรรมเนียมการใช้บริการดังกล่าว เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนเข้าถึงบริการมากขึ้น โดยปัจจุบันมีสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ จำนวน 3 แห่ง ประกอบด้วย ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ธนาคารออมสิน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ที่ให้บริการทางการเงินด้วยระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลผ่าน NDID Platform และในระยะต่อไป ธนาคารสมาชิกสมาคมสถาบันการเงินของรัฐ จะเร่งพัฒนาระบบในการให้บริการประชาชนต่อไป ซึ่งเชื่อว่าจะส่งผลให้การบริการด้านภาษีมีประสิทธิภาพ และเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลให้ขยายวงกว้างได้มากขึ้น ตามนโยบายของรัฐบาลอีกด้วย

การลงนามบันทึกความเข้าใจ เรื่อง การเข้าถึงระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล เพื่อสนับสนุนข้อมูลสำหรับการให้บริการธุรกรรมภาษีในครั้งนี้ เป็นการร่วมมือกันพัฒนาและศึกษาระบบ เพื่อเพิ่มความสามารถในการเชื่อมต่อระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และก้าวสู่ยุคดิจิทัลอย่างยั่งยืน
 
ดูข่าว/อีเว้นท์การเงินอื่นๆ ที่น่าสนใจ

แท็กที่เกี่ยวข้อง

สรรพากร blockchain ndid ยกระดับการยืนยันตัวตน เชื่อมข้อมูลการให้บริการภาษี

ข่าวและอีเว้นท์การเงินล่าสุด

ธอส. นำโปรโมชันสินเชื่อบ้านอัตราดอกเบี้ยต่ำ 6 เดือนแรกเพียง 1.99% ต่อปี ร่วมงาน "Thailand Smart Money ระยอง ครั้งที่ 7" ระหว่างวันที่ 28 - 30 มิ.ย. 2567
เปิดบัญชีเงินฝากประจำ ซูเปอร์ ซีเนียร์ ได้ดอกเบี้ยสูง 2.2% ต่อปี ฟรีประกันอุบัติเหตุ สูงสุด 3 ล้านบาท*
MONEY EXPO 2024 BANGKOK เปิดยิ่งใหญ่ ชู 7 โซนบริการการเงินการลงทุนครบวงจร แบงก์ นอนแบงก์ ประกัน เสิร์ฟโปรโมชั่นแรงแห่งปี
ออมสิน ออกสินเชื่อต้อนรับเปิดเทอม แบ่งเบาภาระผู้ปกครองตามนโยบายรัฐ ครอบคลุมค่าเทอม ชุดนักเรียน และอุปกรณ์ ดอกเบี้ยคงที่ 0.60% ต่อเดือน ผ่อนนาน 1 ปี


เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)