โครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ เปิดให้ประชาชนลงทะเบียนแล้วที่ ธ.ก.ส., ธ.ออมสิน และ ธ.กรุงไทย

ข่าว icon 15 ก.ค. 59 icon 72,120
โครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ เปิดให้ประชาชนลงทะเบียนแล้วที่ ธ.ก.ส., ธ.ออมสิน และ ธ.กรุงไทย


เริ่มแล้ว! โครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้มีรายได้น้อย โดยประชาชนผู้มีรายได้น้อยสามารถลงทะเบียนได้ที่ธนาคารของรัฐทั้ง 3 แห่ง ได้แก่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.), ธนาคารออมสิน และธนาคารกรุงไทย ให้รัฐนำข้อมูลไปใช้ในการจัดสวัสดิการในอนาคตอย่างเหมาะสมและยั่งยืน
ลงทะเบียนเพื่ออะไร
รองรับการจัดสวัสดิการในอนาคต โดยธนาคารจะส่งข้อมูลให้กรมสรรพากร แล้วหน่วยงานต่างๆ จะนำข้อมูลไปใช้เพื่อจัดสวัสดิการได้อย่างถูกต้อง
ช่วงเวลาการลงทะเบียน
15 ก.ค. 59 - 15 ส.ค. 59
คุณสมบัติของผู้ลงทะเบียน
  • สัญชาติไทย 
  • อายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป (เกิดก่อน 16 ส.ค. 2541)
  • ว่างงานหรือมีรายได้ไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี
ทั้งนี้ ผู้ลงทะเบียนจะต้องยินยอมเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล เช่น รายได้ การถือครองทรัพย์สินของตน เจ้าหนี้และจำนวนหนี้สินที่คงค้าง ฯลฯ เพื่อให้รัฐบาลมีข้อมูลสำหรับนำไปใช้ในการจัดทำสวัสดิการของรัฐโดยต้องลงลายมือชื่อในแบบลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐไว้เป็นหลักฐาน
เอกสารประกอบการลงทะเบียน
  • แบบลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ
  • บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ลงทะเบียน พร้อมสำเนาที่รับรองถูกต้อง 1 ชุด
  • กรณีมอบอำนาจให้ผู้อื่นมายื่นแทน ต้องมีหนังสือมอบอำนาจ และ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจที่รับรองถูกต้อง 1 ชุด
  • กรณีเป็นผู้พิการ ต้องมีสำเนาบัตรประจำตัวผู้พิการ
  • กรณีเป็นผู้ป่วย ต้องมีใบรับรองแพทย์
การลงทะเบียน
กรณีลงทะเบียนด้วยตนเอง

  • แสดงตนที่ธนาคารสาขาที่สะดวก ได้แก่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.), ธนาคารออมสิน และธนาคารกรุงไทย ทุกสาขา
  • แสดงบัตรประจำตัวประชาชน
  • กรอกแบบฟอร์มแจ้งข้อมูลส่วนตัว รายได้ ทรัพย์สิน และหนี้สิน พร้อมทั้งลงลายมือชื่อของตนเอง
  • เก็บหลักฐานไว้ยืนยันการลงทะเบียน
กรณีมอบอำนาจให้ผู้อื่นลงทะเบียนแทน
  • ดาวน์โหลดแบบลงทะเบียนจากเว็บไซต์ของกระทรวงการคลัง หรือ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร, ธนาคารออมสิน, ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
  • กรอกแบบฟอร์มแจ้งข้อมูลส่วนตัว รายได้ ทรัพย์สิน และหนี้สิน พร้อมทั้งลงลายมือชื่อของตนเอง
  • นำเอกสารการลงทะเบียนติดต่อที่สาขาของธนาคาร (พร้อมใบมอบฉันทะ และสำเนาบัตรประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ)
ตรวจสอบการลงทะเบียน
1 ต.ค. 59 เป็นต้นไป โดยผู้ลงทะเบียนสามารถเข้าไปที่หน้าเว็บไซต์ของกรมสรรพากร แล้วกรอกหมายเลขบัตรประจำตัวประชาชนของตน โดยระบบจะแจ้งผลการลงทะเบียนให้ทราบว่า ได้ลงทะเบียนเรียบร้อยแล้วหรือไม่
ดาวน์โหลดแบบฟอร์มการลงทะเบียน ธ.ก.ส. คลิก
ดาวน์โหลดแบบฟอร์มการลงทะเบียน ธ.ออมสิน คลิก
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
  • ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) โทร. 02-555-0555 หรือ www.baac.or.th
  • ธนาคารออมสิน โทร. 1115 หรือ www.gsb.or.th
  • ธนาคารกรุงไทย โทร. 02-111-1111 หรือ www.ktb.co.th

แท็กที่เกี่ยวข้อง

ลงทะเบียน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร โครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ

ข่าวและอีเว้นท์การเงินล่าสุด

ธอส. นำโปรโมชันสินเชื่อบ้านอัตราดอกเบี้ยต่ำ 6 เดือนแรกเพียง 1.99% ต่อปี ร่วมงาน "Thailand Smart Money ระยอง ครั้งที่ 7" ระหว่างวันที่ 28 - 30 มิ.ย. 2567
เปิดบัญชีเงินฝากประจำ ซูเปอร์ ซีเนียร์ ได้ดอกเบี้ยสูง 2.2% ต่อปี ฟรีประกันอุบัติเหตุ สูงสุด 3 ล้านบาท*
MONEY EXPO 2024 BANGKOK เปิดยิ่งใหญ่ ชู 7 โซนบริการการเงินการลงทุนครบวงจร แบงก์ นอนแบงก์ ประกัน เสิร์ฟโปรโมชั่นแรงแห่งปี
ออมสิน ออกสินเชื่อต้อนรับเปิดเทอม แบ่งเบาภาระผู้ปกครองตามนโยบายรัฐ ครอบคลุมค่าเทอม ชุดนักเรียน และอุปกรณ์ ดอกเบี้ยคงที่ 0.60% ต่อเดือน ผ่อนนาน 1 ปี


เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)