เปลี่ยนภาษีเป็นความสุข ไม่ยาก... แค่วางแผน

ข่าว icon 20 พ.ย. 58 icon 2,530
เปลี่ยนภาษีเป็นความสุข ไม่ยาก... แค่วางแผน


ใกล้จะสิ้นปีแล้ว เทศกาลแห่งความสุขนั้นก็ทยอยกันมาไม่ขาดสายเลยทีเดียวค่ะ หลายๆ คนคงจะมีการวางแผนไปเที่ยว หรือวางแผนใช้เงินกันอยู่ใช่มั้ยคะ แต่ถ้าอยากจะเที่ยวอย่างสบายใจเฉิบ เราต้องไม่ลืมเรื่องสำคัญอีกเรื่องนึง คือ เรื่องของการวางแผนภาษี นั่นเองค่ะ วันนี้เรามีข้อมูลดีๆ จาก ธนาคารไทยพาณิชย์ ที่จะมาบอกว่าค่าลดหย่อนภาษีต่างๆ นั้น จะสามารถเปลี่ยนเป็นความสุขกลับคืนมาหาเราได้อย่างไรค่ะ
ก่อนอื่น... ลองมาดูกันว่าเราจะใช้อะไรลดหย่อนภาษีได้บ้าง?
  • ส่วนตัวและคู่สมรส
    1. ค่าใช้จ่าย 40% ของรายได้ทั้งปี ไม่เกิน 60,000 บาท
    2. ค่าใช้จ่ายส่วนตัว 30,000 บาท
    3. คู่สมรสไม่มีรายได้ 30,000 บาท
    4. ท่องเที่ยวภายในประเทศ สูงสุด 15,000 บาท
    5. ค่าประกันสังคม ไม่เกิน 9,000 บาท
    6. ดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัย ไม่เกิน 100,000 บาท
  • เลี้ยงดูบุพการีและบุตร
    7. เลี้ยงดูพ่อแม่ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป คนละ 30,000 บาท
    8. เบี้ยประกันสุขภาพของพ่อแม่ คนละ 15,000 บาท
    9. มีบุตรไม่เกิน 3 คน คนละ 15,000 บาท ที่ศึกษาอยู่ในประเทศ รับเพิ่มคนละ 2,000 บาท
    10. เลี้ยงดูบุคคลทุพพลภาพ ไม่เกิน 60,000 บาท
  • เงินบริจาค
    11. บริจาคเพื่อการศึกษาเท่าไร จะใช้ลดหย่อนได้ 2 เท่า แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้พึงประเมิน
    12. บริจาคเพื่อสาธารณประโยชน์ ลดหย่อนได้ตามจริง แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้พึงประเมิน
  • ประกันชีวิตและกองทุน
    13. เบี้ยประกันชีวิต ไม่เกิน 100,000 บาท
    14. เบี้ยประกันชีวิต คู่สมรสมีรายได้สูงสุด 100,000 บาท และคู่สมรสไม่มีรายได้ ไม่เกิน 10,000 บาท
    15. เงินสะสมกองทุน LTF ลดหย่อนได้ 15% ของรายได้ และไม่เกิน 500,000 บาท
    16. เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ ลดหย่อนได้ไม่เกิน 15% ของรายได้ และไม่เกิน 200,000 บาท
    17. เงินสะสม กบข. ไม่เกิน 500,000 บาท
    18. เงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ไม่เกิน 500,000 บาท
    19. เงินสะสมกองทุน RMF ลดหย่อนได้ไม่เกิน 15% ของรายได้ และไม่เกิน 500,000 บาท
หมายเหตุ: ผลิตภัณฑ์ในส่วนของประกันชีวิตและกองทุนนั้นสามารถซื้อเพิ่มเพื่อลดหย่อนภาษีได้ และลดหย่อนรวมกันสูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
การเปลี่ยนภาษีเป็นความสุขด้วยการวางแผนนั้น สิ่งสำคัญคือ เราต้องให้ความสนใจเรื่องของวัตถุประสงค์กันก่อนว่า เราต้องการอะไรเป็นหลัก เช่น ต้องการลงทุน ต้องการวางแผนเกษียณ หรือต้องการป้องกันความเสี่ยง หลังจากนั้นก็เลือกลดหย่อนภาษีตามมา เพื่อจะได้ตรงตามเป้าหมายของชีวิตและใช้สิทธิลดหย่อนภาษีอย่างถูกต้องไปพร้อมๆ กันค่ะ
และพิเศษ! สำหรับคนที่กำลังสนใจจะซื้อประกันชีวิตเพื่อใช้ในการลดหย่อนภาษีนั้น ทาง SCB ก็มีโปรโมชั่นดีๆ มาฝากกันค่ะ กับแคมเปญ "ประกันชีวิตสร้างสุขเรื่องภาษีด้วยยาดีจาก SCB" โดยเริ่มตั้งแต่วันนี้ - 30 ธ.ค. 58 เท่านั้นนะคะ งานนี้บอกเลยว่าโอกาสดีๆ นั้นรอคุณอยู่ ไม่ว่าเป็นการรับเครดิตเงินคืนสูงสุด 2,000 บาท และนอกจากนั้นยังมีสิทธิได้ผ่อนเบี้ยประกันฯ 0% นานถึง 6 เดือนอีกด้วย ได้ถึง 2 ต่อแบบนี้ ต้องรีบกันหน่อยนะคะ 
แค่มีแผนคุ้มครองที่ดี ทุกเป้าหมายในชีวิตก็กลายเป็นเรื่องง่าย
ขอขอบคุณข้อมูลจาก: ธนาคารไทยพาณิชย์

แท็กที่เกี่ยวข้อง


ข่าวและอีเว้นท์การเงินล่าสุด

ธอส. นำโปรโมชันสินเชื่อบ้านอัตราดอกเบี้ยต่ำ 6 เดือนแรกเพียง 1.99% ต่อปี ร่วมงาน "Thailand Smart Money ระยอง ครั้งที่ 7" ระหว่างวันที่ 28 - 30 มิ.ย. 2567
เปิดบัญชีเงินฝากประจำ ซูเปอร์ ซีเนียร์ ได้ดอกเบี้ยสูง 2.2% ต่อปี ฟรีประกันอุบัติเหตุ สูงสุด 3 ล้านบาท*
MONEY EXPO 2024 BANGKOK เปิดยิ่งใหญ่ ชู 7 โซนบริการการเงินการลงทุนครบวงจร แบงก์ นอนแบงก์ ประกัน เสิร์ฟโปรโมชั่นแรงแห่งปี
ออมสิน ออกสินเชื่อต้อนรับเปิดเทอม แบ่งเบาภาระผู้ปกครองตามนโยบายรัฐ ครอบคลุมค่าเทอม ชุดนักเรียน และอุปกรณ์ ดอกเบี้ยคงที่ 0.60% ต่อเดือน ผ่อนนาน 1 ปี


เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)