LTF & RMF พารวย ด้วยภาษี

ข่าว icon 6 พ.ย. 58 icon 3,381
LTF & RMF พารวย ด้วยภาษี


เราได้รู้กันคร่าวๆ แล้วนะคะว่า กองทุนที่คนนิยมลงทุนมาก เพื่อนำไปลดหย่อนภาษีนั้นคือ กองทุน LTF และ RMF วันนี้เราลองมาดูกันค่ะว่า กองทุนทั้งสองแบบนั้นมีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง? โดยจะแสดงให้ดูเป็นตาราง เพื่อความเข้าใจที่ง่ายและชัดเจนมากขึ้นค่ะ
ข้อเปรียบเทียบ LTF RMF 
1. นโยบายการลงทุน ลงทุนในหุ้นระยะยาว ไม่ต่ำกว่า 65% มีการลงทุนที่หลากหลาย เน้นเพื่อมีเงินเก็บออมไว้ใช้หลังเกษียณ
2. การจ่ายเงินปันผล มีทั้งที่จ่ายเงินปันผล และไม่จ่ายเงินปันผล ไม่มีการจ่ายเงินปันผล
3. เงื่อนไขการซื้อ ไม่จำเป็นต้องซื้อต่อเนื่องทุกปี ต้องซื้อต่อเนื่องทุกปีเพื่อรักษาสิทธิ์
4. เงื่อนไขการขายคืน ลงทุนมากกว่า 5 ปีปฏิทิน ลงทุนมากกว่า 5 ปีปฏิทิน และอายุเกิน 55 ปี
5. การลงทุนสูงสุด
15% ของเงินได้พึงประเมิน
ไม่เกิน 500,000 บาท
15% ของเงินได้พึงประเมิน ไม่เกิน 500,000 บาท (เมื่อรวมกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, กบข., ประกันชีวิตแบบบำนาญ, กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน)
6. การลงทุนขั้นต่ำ ไม่มีขั้นต่ำ ขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่ บลจ. กำหนด 3% ของเงินได้พึงประเมิน หรือ 5,000 บาท โดยเลือกจำนวนที่ต่ำกว่า
7. การนับปี ซื้อช่วงไหนของปีก็นับเป็น 1 ปี นับวันชนวันที่ลงทุน ถึงจะคิดเป็น 1 ปี

(รูปภาพจาก: www.bloggang.com)
และหลังจากที่ได้รู้ความแตกต่างของกองทุนทั้งสองแบบไปแล้วนั้น คราวนี้เราลองมาดูว่า การที่จะประหยัดภาษีผ่านกองทุนทั้งสอง เพื่อเป็นการหว่านเพาะ "เมล็ดพันธุ์เงินออม" ให้งอกเงยขึ้นด้วยการใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีที่ทางการกำหนด อย่ารอช้าค่ะ รีบไปดูกันเลยว่าการลงทุนผ่านกองทุนรวมทั้ง 2 แบบ นี้มีประโยชน์ทางภาษีถึง 2 ประการคือ
  1. กองทุนรวมเป็นนิติบุคคลไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ เมื่อกองทุนรวมนำเงินไปลงทุนในหลักทรัพย์จนเกิดผลกำไร ผลกำไรของกองทุนรวมนี้จะได้รับการยกเว้นภาษี นอกจากนี้ หากผู้ถือหน่วยลงทุนขายคืนหน่วยลงทุนตามเงื่อนไขที่กำหนดและมีกำไร หรือที่เรียกว่า Capital gain กำไรนั้นก็ได้รับการยกเว้นภาษีด้วยเช่นกัน ดังนั้น หากผู้ลงทุนสามารถเลือกลงทุนในกองทุนรวมได้อย่างถูกประเภท มีความเข้าใจถึงนโยบายการลงทุนและเงื่อนไขของแต่ละกองทุนแล้วก็จะได้รับประโยชน์จากการลงทุนในกองทุนรวมไม่น้อยเลยทีเดียว
  2. มีรายได้เพิ่มจากการประหยัดภาษี โยทางการจะให้สิทธิประโยน์ทางภาษีแก่ผู้ลงทุนใน LTF และ RMF ให้ได้รับยกเว้นภาษีได้สูงสุดกองละไม่เกิน 15% ของเงินได้พึงประเมิน
    - กรณีลงทุนใน LTF เต็มเพดานที่ 500,000 บาทต่อปี
    - กรณีลงทุนใน RMF นับรวมเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือกองทุนบำเหน็จบำนาญราชการ (กบข.) เต็มเพดานที่ 500,000 บาท
ทั้งนี้ จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ทางการกำหนด ซึ่งหากลองคำนวณดีๆ แล้ว จะพบว่าเครื่องมือการลงทุนดังกล่าวช่วยประหยัดภาษีได้ตั้งแต่ 10% - 35% ของเงินลงทุน ขึ้นอยู่กับฐานภาษีขั้นสูงสุดของผู้ลงทุนว่าอยู่ในอัตราเท่าใด หากพิจารณาในเชิงเม็ดเงินที่ประหยัดได้ และอัตราผลตอบแทนที่แท้จริงแล้วจะพบว่ามีตัวเลขที่น่าสนใจทีเดียว เห็นมั้ยคะว่าหนทางรวยนั้นไม่ไกลเกินเอื้อม เพียงแต่เราต้องเข้าใจหลักการเท่านั้นเอง

(รูปภาพจาก: earn.kruchamp.com)
ขอขอบคุณ: คู่มือ RMF - LTF แฝดคู่สวย ช่วยประหยัดภาษี โดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

แท็กที่เกี่ยวข้อง


ข่าวและอีเว้นท์การเงินล่าสุด

ธอส. นำโปรโมชันสินเชื่อบ้านอัตราดอกเบี้ยต่ำ 6 เดือนแรกเพียง 1.99% ต่อปี ร่วมงาน "Thailand Smart Money ระยอง ครั้งที่ 7" ระหว่างวันที่ 28 - 30 มิ.ย. 2567
เปิดบัญชีเงินฝากประจำ ซูเปอร์ ซีเนียร์ ได้ดอกเบี้ยสูง 2.2% ต่อปี ฟรีประกันอุบัติเหตุ สูงสุด 3 ล้านบาท*
MONEY EXPO 2024 BANGKOK เปิดยิ่งใหญ่ ชู 7 โซนบริการการเงินการลงทุนครบวงจร แบงก์ นอนแบงก์ ประกัน เสิร์ฟโปรโมชั่นแรงแห่งปี
ออมสิน ออกสินเชื่อต้อนรับเปิดเทอม แบ่งเบาภาระผู้ปกครองตามนโยบายรัฐ ครอบคลุมค่าเทอม ชุดนักเรียน และอุปกรณ์ ดอกเบี้ยคงที่ 0.60% ต่อเดือน ผ่อนนาน 1 ปี


เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)