เงื่อนไขการอนุมัติสินเชื่อ “รีไฟแนนซ์บ้าน” ปี 2567 มีอะไรเปลี่ยนแปลง และต้องระวัง เช็กเลย!!

icon 18 ต.ค. 67 icon 1,131
เงื่อนไขการอนุมัติสินเชื่อ “รีไฟแนนซ์บ้าน” ปี 2567 มีอะไรเปลี่ยนแปลง และต้องระวัง เช็กเลย!!
ในปี 2567 การรีไฟแนนซ์บ้าน ยังเป็นทางเลือกที่ผู้ขอสินเชื่อนิยมใช้ในการลดภาระดอกเบี้ยหรือเพิ่มสภาพคล่องทางการเงิน แต่เมื่อเงื่อนไขในการอนุมัติสินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้านมีการเปลี่ยนแปลง ผู้ขอสินเชื่อควรต้องระวังเรื่องอะไรบ้างก่อนตัดสินใจ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาระทางการเงินเพิ่มเติมแทนที่จะช่วยลดหนี้ได้อย่างที่ตั้งใจ ซึ่งวันนี้เราขอรวบรวมเรื่องที่มีการเปลี่ยนแปลง และข้อควรระวังสำหรับการรีไฟแนนซ์มาฝากกันค่ะ 
 
1. การปรับตัวของอัตราดอกเบี้ย
 
เมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยมีการปรับเพิ่ม หรือลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปี 2567 ธนาคารต่างๆ ก็ได้มีการปรับเงื่อนไขการให้สินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้านตามไปด้วยค่ะ ถึงแม้ว่าธนาคารจะมีโปรโมชันอัตราดอกเบี้ยต่ำในช่วง 1 - 3 ปีแรก แต่โดยรวมข้อเสนออัตราดอกเบี้ยอาจมีการปรับสูงกว่าปีที่ผ่านมา ดังนั้น หากมีการขอสินเชื่อระยะยาว ผู้ขอสินเชื่อควรต้องระมัดระวัง เรื่องของอัตราดอกเบี้ยลอยตัวอย่าง MLR หรือ MRR ประกอบการตัดสินใจด้วยนะคะ ลองคำนวณให้ดี ว่าในระยะยาวแล้วช่วงอัตราดอกเบี้ยที่เลือก เหมาะสม หรือเป็นอัตราดอกเบี้ยที่ยอมรับได้ และจ่ายคืนไหวหรือไม่ 
 
2. ความเข้มงวดในการประเมินเครดิตและรายได้
 
อย่างที่ทราบกันว่าการมีประวัติเครดิตที่ดี และมีรายได้ที่มั่นคงจะช่วยเพิ่มโอกาสในการได้รับอนุมัติสินเชื่อได้ ซึ่งปัจจุบันธนาคารมีการประเมินความสามารถทางการเงินของผู้กู้มากขึ้น การอนุมัติสินเชื่ออาจจะพิจารณาเกณฑ์รายได้ของผู้กู้ และประเมินความสามารถในการผ่อนชำระในระยะยาวของผู้กู้ประกอบด้วย ทำให้ธนาคารมีการตรวจสอบประวัติเครดิต และสถานะทางการเงินละเอียดยิ่งขึ้น ดังนั้นหากต้องการรีไฟแนนซ์บ้านในปี 2567 นี้ ก็ควรเคลียร์ประวัติเครดิตให้ดี รวมถึงควรมีเอกสารแสดงรายได้ที่แสดงเห็นว่าผู้กู้มีรายได้เพียงพอที่จะชำระหนี้ต่อในระยะยาวด้วยนะคะ
 
3. รู้และเข้าใจข้อกำหนดเกี่ยวกับประกัน MRTA/MLTA
ในกรณีที่มีการขอสินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้าน ข้อเสนออัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่า มักจะพ่วงด้วยการซื้อประกัน MRTA หรือประกัน MLTA  ซึ่งเป็นประกันชีวิตคุ้มครองหนี้สินในการรีไฟแนนซ์บ้านนั่นเองค่ะ ซึ่งหากต้องการดอกเบี้ยต่ำลงโดยเลือกข้อเสนอที่พ่วงประกันชีวิตคุ้มครองหนี้ ก็จะมีผลทำให้มีค่าใช้จ่ายส่วนนี้เพิ่มเติม แต่ข้อดีก็คือ ประกัน MRTA หรือ MLTA จะเป็นการป้องกันความเสี่ยงทางการเงินหากผู้กู้เสียชีวิตก่อนชำระหนี้หมด แต่การตัดสินใจว่าจะทำประกันหรือไม่ทำ ผู้ขอสินเชื่ออาจต้องพิจารณาเรื่องความคุ้มค่าทั้งในด้านต้นทุน และประโยชน์ที่จะได้รับด้วย
  • MRTA (Mortgage Reducing Term Assurance) เป็นประกันที่มูลค่าความคุ้มครองจะลดลงเรื่อยๆ ตามจำนวนหนี้ที่ได้ชำระคืน คือ เมื่อจำนวนหนี้ลดลง วงเงินประกันก็ลดลงตามไปด้วย ดังนั้นค่าเบี้ยประกันจะถูกกว่า
  • MLTA (Mortgage Level Term Assurance) เป็นประกันที่จะมีวงเงินคุ้มครองคงที่ตลอดระยะเวลาของสัญญา ซึ่งจะส่งผลให้ค่าเบี้ยประกันสูงกว่า MRTA แต่ก็จะได้รับความคุ้มครองสูงกว่า ในกรณีที่ผู้กู้เสียชีวิตก่อนครบกำหนด
4. เปรียบเทียบเงื่อนไขการรีไฟแนนซ์ กับการรีเทนชั่น
 
ถ้าเปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยการรีไฟแนนซ์บ้านดูจะประหยัดดอกเบี้ยได้มากกว่าการรีเทนชัน แต่ทั้งนี้การเจรจากับธนาคารเดิมเพื่อขอปรับลดดอกเบี้ย หรือการทำรีเทนชั่นก็เป็นตัวเลือกที่ผู้กู้ไม่ควรมองข้าม เพราะการรีเทนชันก็มีข้อดี คือ เงื่อนไขอาจจะมีความยืดหยุ่นกว่า โดยเฉพาะหากผู้กู้มีประวติการชำระสินเชื่อที่ดีมาโดยตลอด อาจจะลองเลือกเปรียบเทียบเงื่อนไขระหว่างการรีไฟแนนซ์ กับการรีเทนชั่นอีกครั้งประกอบการตัดสินใจได้นะคะ ว่าแบบไหนจะคุ้มค่ากว่ากัน 
 
ความต่างระหว่างการรีไฟแนนซ์ กับการรีเทนชั่น
รีไฟแนนซ์ (Refinance) รีเทนชัน (Retention)
1. สามารถเลือกเปรียบเทียบธนาคารที่ให้ข้อเสนออัตราดอกเบี้ยที่ดีที่สุดได้ 
1. เป็นการขอลดอัตราดอกเบี้ยจากธนาคารเดิม มากน้อยขึ้นกับการพิจารณาของแต่ละธนาคาร
2. ต้องเตรียมเอกสารใหม่ทั้งหมด (เหมือนยื่นกู้ใหม่) 2. เตรียมเอกสารน้อย
3. รออนุมัติ ประมาณ 2 - 3 สัปดาห์ 3. อนุมัติเร็ว ประมาณ 7 วันทำการ
4. มีค่าธรรมเนียมต่างๆ หลายรายการ
  • ค่าธรรมเนียมการจัดการสินเชื่อตามสัญญาใหม่ 0-3%
  • ค่าธรรมเนียมในการจำนอง 1%
  • ค่าประเมินราคาหลักประกัน 0.25-2%
  • ค่าประกันอัคคีภัยประมาณ 2,000 บาทต่อมูลค่าบ้าน 1 ล้านบาท
  • ค่าอากรแสตมป์ 0.05% ของวงเงินกู้ เป็นต้น
4. มีค่าธรรมเนียมประมาณ 1 - 2% ของวงเงินกู้

สรุปแล้ว หากคิดจะรีไฟแนนซ์บ้านในปี 2567 ก็ยังถือเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ โดยเฉพาะเรื่องของการลดภาระดอกเบี้ย รวมถึงการขอเพิ่มวงเงิน แต่ทั้งนี้ ผู้กู้ต้องระมัดระวังในเรื่องของเงื่อนไขต่างๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลง ควรศึกษาข้อมูลให้รอบคอบและเลือกเปรียบเทียบข้อเสนอจากหลายธนาคาร จะช่วยให้การรีไฟแนนซ์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดนะคะ
แท็กที่เกี่ยวข้อง รีไฟแนนซ์บ้าน รีไฟแนนซ์บ้าน 2567 รีไฟแนนซ์บ้าน 2567 ที่ไหนดี รีไฟแนนซ์บ้าน 2567 ทุกธนาคาร refinance บ้าน refinance บ้าน 2567 รีไฟแนนซ์บ้าน ธนาคารไหนดี
Money Guru
เขียนโดย ชนานาถ จินตกสิกรรม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่





เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)