พังแน่! ถ้าจ่ายหนี้บัตรเครดิตขั้นต่ำ

icon 23 ก.ย. 67 icon 1,656
พังแน่! ถ้าจ่ายหนี้บัตรเครดิตขั้นต่ำ
ขอบคุณภาพ : PPTV
 
คนไทยเป็นหนี้อะไรมากที่สุด? ตอบเลย! “หนี้บัตรเครดิต”
คนวัยเริ่มทำงานอายุ 25-29 ปี มากกว่า 58% เป็นหนี้ และมากกว่า 25% เป็นหนี้เสีย ส่วนใหญ่เป็นหนี้บัตรเครดิต กินเที่ยวเต็มวงเงินภายในไม่ถึง 1 ปี 
 
จากผลสำรวจของศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ ม.หอการค้าไทย คนไทยมีหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้อย่างหนี้บัตรเครดิตถึง 60.2% ในขณะที่หนี้ดีอย่างหนี้ที่อยู่อาศัย อยู่ที่ 36.1% เท่านั้น (ขอบคุณข้อมูล : ThaiPBS วันที่ 12 ก.ย. 67)
 
ทำไมคนไทยมีหนี้บัตรเครดิตมากมายขนาดนี้ จริงๆ ก็ปฏิเสธไม่ได้นะว่ามนุษย์เป็นสัตว์สังคม และคนไทย (not all) ยังถือเรื่อง "ภาษีสังคม" เป็นใหญ่ โดยเฉพาะสังคมมนุษย์ออฟฟิศวัยทำงานทั้งหลาย ที่ต้องมีซื้อข้าวของ ติดแบรนด์ ต้องหรู ลักชูนู่นนี่ หรือมีปาร์ตี้เก๋ๆ ทุกสัปดาห์บ้างอะไรบ้าง การใช้บัตรเครดิตรูดก่อนจ่ายทีหลังจึงเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ง่ายมากๆ รูดทุกวัน รูดเพลินจนไม่ได้คำนวณว่าเป็นจำนวนเงินเท่าไหร่ไปแล้ว สิ้นเดือนเจอบิลก็ช็อกสิ! ทำไงดี?... จ่ายเต็มจำนวนไม่ไหว ก็จ่ายขั้นต่ำไปก่อนละกัน ทำแบบนี้ก็พังแน่นอนค่ะ! เชื่อว่าบางคนไม่รู้ด้วยซ้ำว่าจ่ายบัตรเครดิตขั้นต่ำบ่อยๆ ไปแล้วจะเจออะไร อาจคิดแค่ก็จ่ายๆ ไป บิลมาก็ไม่ได้เช็ก อย่าลืมว่า "ดอกเบี้ย" เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องคิดถึงเป็นอันดับแรกเลยนะคะ วันนี้มาเลย ไปดูว่าจ่ายขั้นต่ำไปทุกเดือนๆ จะต้องเจออะไร งานนี้มีช็อกแน่นอน 😱
 
ขอบคุณภาพ : FB กรุงเทพธุรกิจ
 

💥จ่ายบัตรเครดิตขั้นต่ำ คืออะไร?

คือ การชำระหนี้บัตรเครดิตเพียง 8% ของยอดในแต่ละรอบบิล (จะปรับจ่ายขั้นต่ำเป็น 10% ในปี 2568) เช่น รอบบิลเดือน ม.ค. ค่าบัตรเครดิตเต็มจำนวนอยู่ที่ 20,000 บ. โดยหากจ่ายขั้นต่ำ 8% จะอยู่ที่ 1,600 บ. ทำให้เหลือหนี้ที่ยังไม่ได้จ่ายอยู่ 18,400 บ. ซึ่งเงินคงเหลือนี้จะถูกนำไปคิดดอกเบี้ย โดยอัตราดอกเบี้ยในการจ่ายขั้นต่ำบัตรเครดิตอยู่ที่ประมาณ 16% ต่อปี
 

💥จ่ายบัตรเครดิตขั้นต่ำ คำนวณยังไง?

กรณีจ่ายตรงเวลา แต่จ่ายขั้นต่ำ จะแบ่งวิธีคำนวณออกเป็น 2 ขั้นนะคะ ตามสูตรดังนี้
 
ขั้นที่ 1 คิดอัตราดอกเบี้ยจากรายการที่เกิดขึ้นทั้งหมด
จำนวนเงินต้นของสินค้าที่ค้างชำระ x อัตราดอกเบี้ยต่อปี x จำนวนวันที่ค้างชำระ ÷ 365 = จำนวนดอกเบี้ยในขั้นที่ 1
ขั้นที่ 2 คิดอัตราดอกเบี้ยจากเงินคงเหลือหลังจากที่ทำการจ่ายขั้นที่ 1 ไปแล้ว
(จำนวนเงินต้นของสินค้าที่ต้องชำระ – จำนวนเงินขั้นต่ำที่ชำระไปแล้ว) x อัตราดอกเบี้ยต่อปี x จำนวนวันที่ค้างชำระ ÷ 365 = จำนวนดอกเบี้ยในขั้นที่ 2
 
🔎ดูวิธีคำนวณแบบละเอียด คลิกที่นี่ จ่ายหนี้บัตรเครดิตขั้นต่ำ กับดักสู่วงจรการเป็นหนี้
 

💥จ่ายบัตรเครดิตขั้นต่ำ ทำได้หรือไม่ได้กันแน่?

เราสามารถจ่ายบัตรเครดิตขั้นต่ำได้ค่ะ ไม่มีข้อห้ามอะไร แต่ว่าฟังก์ชันนี้น่าจะเหมาะกับกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน เงินขาดมือมากกว่านะคะ ไม่ใช่ทำเป็นกิจวัตร จ่ายขั้นต่ำไปเรื่อยๆ ทุกเดือน แถมยังไปสร้างหนี้เพิ่มมาโปะหนี้เก่าเข้าไปอีก อันนี้น่าจะไม่ไช่จุดประสงค์ที่แท้จริงของการจ่ายบัตรเครดิตขั้นต่ำนะคะ ลองไปดูกันว่าจะเจออะไรหากจ่ายบัตรเครดิตขั้นต่ำไปเรื่อยๆ
 
1.  บัตรเครดิตคิดดอกเบี้ยทันที นับแต่วันที่ใช้จ่าย
คนที่เพิ่งมีบัตรเครดิตใบแรก รู้มั้ยว่าหากเลือกจ่ายขั้นต่ำ ดอกเบี้ยจะเริ่มคิดทันทีนับแต่วันที่รูดจ่าย ดังนั้นยิ่งค้างชำระนานเท่าไหร่ ดอกเบี้ยจะยิ่งมากขึ้นนั่นเอง
 
2. เลือกจ่ายขั้นต่ำบัตรเครดิต ระยะเวลาปลอดดอกเบี้ยจะหายไปทันที
ปกติแล้วสถาบันการเงินจะมีระยะเวลาปลอดดอกเบี้ย เช่น 30 วัน, 45 วัน, หรือ 60 วัน เป็นต้น หากจ่ายขั้นต่ำระยะเวลาปลอดดอกเบี้ยจะหายไป ทำให้ต้องจ่ายหนี้มากขึ้นในรอบบิลถัดไปนั่นเอง
 
3. ยิ่งผ่อนนาน ดอกเบี้ยยิ่งสูง
บางครั้งสถาบันการเงินก็มีโปรโมชันจ่ายขั้นต่ำแล้วผ่อนชำระ แต่รู้มั้ยคะว่าจริงๆ แล้วเมื่อลองคิดยอจ่ายขั้นต่ำเมื่อรวมดอกเบี้ยและเงินต้นเข้าไปแล้ว จะมากกว่าการจ่ายแบบเต็มจำนวนครั้งเดียวเสียอีก
 
เช่น หนี้บัตรเครดิต 50,000 บ. มีโปรโมชันผ่อนจ่ายบัตรเครดิตขั้นต่ำ 20 งวด งวดละ 2,800 บ. เท่ากับว่าต้องจ่ายหนี้ 56,000 บาท ทั้งที่หากเลือกจ่ายเต็มจำนวนไปเลยจะประหยัดกว่าเห็นๆ
 

เห็นภาพกันมากขึ้นมั้ยคะกับความน่ากลัวของการจ่ายขั้นต่ำบัตรเครดิตไปเรื่อยๆ ทุกเดือนๆ ระวังยอดหนี้ที่เคยมีจะพุ่งขึ้นไปอีกหลายเท่าตัว ต้องบอกว่าบัตรเครดิตไม่ใช่ของน่ากลัวถ้าใช้ให้เป็นยังไงก็คุ้มและได้ประโยชน์ คนเรามีไลฟ์สไตล์ติดหรู ชอบช้อปปิ้งก็ไม่ใช่เรื่องผิดค่ะ เพียงแต่ต้องรู้จักวิธีจัดการหนี้ที่ก่อนั้นให้ถูกต้อง จ่ายครบ จ่ายตรงเวลา เลี่ยงขึ้นต่ำ ยังไงก็รอดค่ะ wink
 
ขอบคุณข้อมูล : THAIPBS, PPTV, CH7, ttb, makebykbank
แท็กที่เกี่ยวข้อง จ่ายหนี้บัตรเครดิตขั้นต่ำ หนี้บัตรเครดิต บัตรเครดิต จ่ายบัตรเครดิต
Money Guru
เขียนโดย ชไมพร มีศิริ Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่





เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)