วางแผน ก่อน "รีไฟแนนซ์บ้าน 2568" ต้องเตรียมตัวอย่างไร?

icon 3 ก.ย. 67 icon 502
วางแผน ก่อน "รีไฟแนนซ์บ้าน 2568" ต้องเตรียมตัวอย่างไร?
โดยปกติสินเชื่อบ้าน หรือสินเชื่อ รีไฟแนนซ์บ้าน จะมีโปรโมชันอัตราดอกเบี้ยต่ำในช่วง 3 ปีแรก หลังจากนั้นก็จะเข้าสู่ช่วงอัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัว เป็น MRR หรือ MLR + หรือ - ตามเงื่อนไขของแต่ละธนาคาร สำหรับคนผ่อนบ้านที่ต้องการผ่อนหมดเร็ว และต้องการประหยัดดอกเบี้ยให้ได้มากที่สุด วิธีการ "รีไฟแนนซ์บ้าน" ก็ถือเป็นวิธีที่สามารถตอบโจทย์ได้ดี เพื่อให้ได้อัตราดอกเบี้ยต่ำลง ในทุกๆ 3 ปี หรือเมื่อครบกำหนดสัญญาที่จะสามารถรีไฟแนนซ์ไปธนาคารใหม่ได้ และหากนับถอยหลังก่อนรีไฟแนนซ์บ้านในปี 2568 ที่จะถึงนี้ควรเตรียมตัวอย่างไรบ้าง เพื่อให้การรีไฟแนนซ์บ้านราบรื่น และเป็นไปตามกำหนดระยะเวลาที่ต้องการ ตามไปดูกันค่ะ

เรื่องต้องรู้ก่อนการรีไฟแนนซ์บ้านในปี 2568

การเตรียมตัวก่อนการรีไฟแนนซ์บ้านในปี 2568 นับเป็นขั้นตอนที่สำคัญเพื่อให้ผู้ขอสินเชื่อได้ประโยชน์จากการลดดอกเบี้ย หรือได้รับเงื่อนไขที่ดีกว่าจากการรีไฟแนนซ์ไปธนาคารใหม่ ซึ่งเราได้รวบรวมเรื่องสำคัญที่ต้องเตรียม ก่อนการรีไฟแนนซ์บ้านมาฝากกัน ดังนี้
 
รีไฟแนนซ์บ้าน

1. ศึกษาแนวโน้ม และรูปแบบของอัตราดอกเบี้ย ประเด็นสำคัญของการรีไฟแนนซ์บ้าน คือต้องการลดอัตราดอกเบี้ยให้ต่ำลง ดังนั้น เราควรทำความเข้าใจเรื่องของอัตราดอกเบี้ยก่อนที่จะตัดสินใจรีไฟแนนซ์บ้าน เพราะการที่แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยในตลาดจะสูงขึ้น หรือลดลง ก็ย่อมส่งผลกระทบโดยตรงกับเงื่อนไขการรีไฟแนนซ์ รวมถึงการเลือกอัตราดอกเบี้ยแบบคงที่ หรืออัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัวก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญ เช่น หากมีแนวโน้มว่าอัตราดอกเบี้ยจะเพิ่มขึ้นในอนาคต การเลือกเงื่อนไขโปรโมชันรีไฟแนนซ์ที่เป็นแบบอัตราดอกเบี้ยคงที่อาจจะปลอดภัยกว่า เป็นต้น 

2. เตรียมทรัพย์สินให้พร้อมต่อการประเมินมูลค่า การรีไฟแนนซ์บ้านทุกครั้ง ธนาคารจะต้องทำการประเมินมูลค่าบ้าน ก่อนพิจารณาอนุมัติวงเงินสินเชื่อ ซึ่งผู้ขอสินเชื่ออาจทราบข้อมูลเบื้องต้นจากการหาข้อมูลราคาบ้านในพื้นที่บริเวณนั้น รวมถึงหากบ้านที่อยู่อาศัยมีจุดต้องปรับปรุงซ่อมแซม ก็ควรดำเนินการให้เรียบร้อยก่อนที่ธนาคารจะมาประเมิน เพื่อเพิ่มโอกาสในการได้ราคาประเมินที่สูงขึ้น
 
3. ตรวจสอบสถานะหนี้สินอื่นๆ ยิ่งใกล้ช่วงเวลาที่จะขอรีไฟแนนซ์บ้าน ผู้ขอสินเชื่อควรจัดการภาระหนี้สินที่มีอยู่ให้เหลือน้อยที่สุด เพราะในการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อของธนาคารจะดูเรื่องของสัดส่วนของหนี้สินต่อรายได้ ประกอบการพิจารณาอนุมัติด้วย โดยอัตราส่วนที่ใช้ประเมินภาระหนี้สินต่อเดือนเมื่อเทียบกับรายได้ จะเป็นการพิจารณาความสามารถในการชำระหนี้คืนของลูกหนี้ ซึ่งโดยทั่วไปเมื่อรวมหนี้ที่ต้องผ่อนทั้งหมดในแต่ละเดือนแล้ว ไม่ควรเกิน 35% - 45% ของรายได้

4. เตรียมเงินสำรองสำหรับค่าใช้จ่ายในการรีไฟแนนซ์ ซึ่งการเตรียมเงินสำรองอาจแบ่งได้เป็น 2 ส่วน คือ 
 
4.1 เงินสำรองสำหรับค่าใช้จ่ายในการรีไฟแนนซ์ เช่น ค่าประเมินหลักทรัพย์ ค่าจดจำนอง ค่าธรรมเนียมธนาคาร หรือค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 
 
4.2 เตรียมเงินสำรองสำหรับค่างวดใหม่ เพราะการรีไฟแนนซ์ อาจทำให้ค่างวดที่ต้องชำระเปลี่ยนไป เช่น หากรีไฟแนนซ์เพื่อลดอัตราดอกเบี้ย และต้องการลดระยะเวลาการผ่อนชำระให้สั้นลงด้วย ค่างวดที่ต้องชำระต่อเดือนก็อาจจะเพิ่มขึ้น เป็นต้น
 
5. เช็กเงื่อนไขพิเศษให้ดีก่อนรีไฟแนนซ์ 
 
5.1 เงื่อนไขค่าปรับกรณีปิดบัญชีก่อนกำหนด โดยปกติธนาคารจะมีเงื่อนไขว่าต้องผ่อนสินเชื่อกับธนาคารอย่างน้อย 3 - 5 ปี จึงจะขอรีไฟแนนซ์ไปธนาคารใหม่ได้ ซึ่งหากผู้ขอสินเชื่อต้องการรีไฟแนนซ์ก่อนครบกำหนด ควรคำนวณให้ดีว่าดอกเบี้ยที่จะประหยัดได้จากการรีไฟแนนซ์ จะคุ้มค่ากับค่าปรับที่จะต้องเสียหากปิดบัญชีก่อนกำหนดหรือไม่ 
 
5.2 เงื่อนไขโปรโมชันพิเศษจากธนาคารใหม่ เช่น โปรโมชันฟรีค่าธรรมเนียมประเมินหลักทรัพย์ ฟรีค่าจดจำนอง เป็นต้น รวมถึงอาจมีเงื่อนไขสำหรับกรณีต้องการวงเงินกู้เพิ่ม ซึ่งผู้ขอสินเชื่อสามารถเช็กข้อมูลกับธนาคารที่ต้องการขอสินเชื่อได้โดยตรง ว่ามีเงื่อนไข หรือโปรโมชันพิเศษอะไรที่ตรงกับความต้องการหรือไม่ 
 
6. เตรียมเอกสารให้พร้อม เอกสารที่ต้องใช้ในการรีไฟแนนซ์บ้าน สามารถแบ่งได้เป็น 3 ส่วน คือ 
 
6.1 เอกสารทางการเงิน เช่น สลิปเงินเดือน statement หรือหลักฐานการเสียภาษี
 
6.2 เอกสารส่วนบุคคล เช่น สำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน
 
6.3 เอกสารเกี่ยวกับหลักประกัน เช่น  โฉนดที่ดิน สัญญาเงินกู้ฉบับเดิม ใบเสร็จการชำระสินเชื่อกับธนาคารเดิม 

เตรียมตัวล่วงหน้านานเท่าไหร่? ก่อนรีไฟแนนซ์บ้าน 2568

การเตรียมตัวล่วงหน้าให้ดีก่อนการรีไฟแนนซ์บ้าน จะช่วยให้ผู้ขอสินเชื่อได้รับประโยชน์สูงสุด รวมถึงลดความเสี่ยงในการดำเนินการขอสินเชื่อ ซึ่งในการรีไฟแนนซ์บ้านควรมีการเตรียมตัวล่วงหน้าอย่างน้อย 3-6 เดือน เพื่อจะได้มีเวลาเพียงพอในการจัดการเรื่องสำคัญต่างๆ 
รีไฟแนนซ์บ้าน
 
เตรียมตัวล่วงหน้า 6 เดือน สำหรับ การจัดการหนี้สิน โดยควรเริ่มลดหนี้สินที่มีอยู่ เช่น หนี้บัตรเครดิต หรือสินเชื่ออื่นๆ เพื่อลดสัดส่วนหนี้สินต่อรายได้ให้น้อยลง และเพิ่มโอกาสในการได้รับอัตราดอกเบี้ยที่ดี
 
เตรียมตัวล่วงหน้า 3 เดือน สำหรับการเปรียบเทียบข้อเสนอจากธนาคารต่างๆ โดยเลือกเปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ย และเงื่อนไขจากหลายๆ ธนาคารเพื่อหาข้อเสนอที่ดีที่สุด รวมถึงเตรียมเอกสารการเงินให้พร้อม สำหรับการยื่นขอรีไฟแนนซ์ รวมถึงการเตรียมบ้านให้พร้อมต่อการประเมิน โดยผู้ขอสินเชื่ออาจทำการปรับปรุงบ้านให้อยู่ในสภาพที่ดี เพื่อจะได้เพิ่มมูลค่าเวลาประเมินทรัพย์สิน 
 
เตรียมตัวล่วงหน้า 1-2 เดือน สำหรับการเลือกธนาคารผู้ให้บริการสินเชื่อ โดยตัดสินใจเลือกธนาคารที่มีข้อเสนอที่ดี และตรงกับความต้องการที่สุด และติดต่อเพื่อสมัคร และยื่นเอกสารสำหรับการรีไฟแนนซ์บ้าน 
 
สรุปแล้ว หากกำลังนับถอยหลังที่จะ รีไฟแนนซ์บ้าน ในปี 2568 ควรมีเวลาเตรียมตัวล่วงหน้าอย่างน้อย 3 - 6 เดือน เพื่อจะได้เตรียมความพร้อมทั้งเรื่องภาระหนี้สิน เอกสาร เตรียมหลักทรัพย์ให้พร้อมสำหรับการประเมิน และสามารถเลือกเปรียบเทียบธนาคารที่ให้ข้อเสนออัตราดอกเบี้ย และเงื่อนไขที่ดีที่สุดจากการรีไฟแนนซ์นะคะ
แท็กที่เกี่ยวข้อง รีไฟแนนซ์บ้าน 2568 รีไฟแนนซ์บ้าน รีไฟแนนซ์บ้าน 2567 ที่ไหนดี รีไฟแนนซ์บ้าน 2567 ทุกธนาคาร refinance บ้าน 2567 , รีไฟแนนซ์บ้าน ธนาคารไหนดี รีไฟแนนซ์บ้าน 2567
Money Guru
เขียนโดย ชนานาถ จินตกสิกรรม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)