เพื่อนยืมเงินแล้วไม่คืน ทำแบบนี้! ได้คืนแน่

icon 2 ส.ค. 67 icon 1,539
เพื่อนยืมเงินแล้วไม่คืน ทำแบบนี้! ได้คืนแน่
ช่วงที่ผ่านมาหลายคนอาจเห็นข่าวซุบซิบเรื่องดารานักแสดงหยิบยืมเงินกันแล้วชิ่งหนี ไม่ยอมคืนใช่มั้ยคะ ก็ต้องบอกว่าเรื่องเงินๆ ทองๆ มันไม่เข้าใครออกใครจริงๆ หลายคนเอาสัญญาใจเป็นหลักประกัน ให้ยืมเงินก้อนใหญ่ไปง่ายๆ โดยที่ไม่มีเอกสารเป็นลายลักษณ์อักษรเลย พอเกิดปัญหาไม่คืน ไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย ก็ไม่มีสิทธิไปฟ้องร้องเค้านะคะ เพราะไม่มีหลักฐาน แล้วแบบนี้คนให้ยืมอย่างเราจะทำอะไรได้บ้างล่ะ ต้องเสียเงินไปฟรีๆ ใช่มั้ย...
 
วันนี้ขอพูดง่ายๆ เลยก็คือ ก่อนจะให้ใครยืมเงิน หรือจะยืมเงินใครก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนรักสนิทกันมาแต่เล็กแต่น้อยแค่ไหน มาจับมือ “เซ็นสัญญากู้ยืมเงิน” กันก่อนเลยค่ะ มีปัญหาตุกติกอะไรจะได้ใช้สัญญานั้นเป็นตัวไกล่เกลี่ย ทั้งนี้ก็เพื่อรักษามิตรภาพระหว่างเพื่อนกับเพื่อนด้วยนะ ส่วนสัญญากู้ยืมเงินนั้นจะประกอบไปด้วยอะไร เซ็นตรงไหน รวมไปถึงการดำเนินคดีเมื่อเกิดเหตุเบี้ยวหนี้ ไปดูกัน...

รู้! ก่อนทำ “สัญญากู้ยืมเงิน”

1. ยืมเงิน 2,000 บาทขึ้นไป ต้องทำสัญญากู้ยืมเงินเป็นลายลักษณ์อักษร 
2. สิ่งที่ต้องระบุในสัญญากู้ยืมเงิน ดังนี้
  1. วันที่ทำสัญญา
  2. ชื่อ-นามสกุล ทั้งผู้กู้และผู้ให้กู้
  3. จำนวนเงินทั้งตัวเลขและตัวหนังสือ
  4. กำหนดชำระคืน
  5. ดอกเบี้ยต่อเดือน/ต่อปี (ถ้ามี)
  6. ลายมือชื่อ (ลายเซ็น) ทั้งผู้กู้และผู้ให้กู้
  7. อื่นๆ เช่น พยาน, ผลของการผิดสัญญา เป็นต้น
 
ตัวอย่างสัญญากู้ยืมเงินแบบทั่วไป
 

ระวัง! ก่อนทำ “สัญญากู้ยืมเงิน”

1. เช็กจำนวนเงิน และทำความเข้าใจเนื้อหาในสัญญาก่อนเซ็น
2. ผู้กู้ห้ามเซ็นชื่อในกระดาษเปล่าหรือสัญญาที่เว้นช่องว่างผิดปกติเด็ดขาด เนื่องจากผู้ให้กู้อาจเติมเนื้อหาอื่นๆ ในสัญญาหลังจากที่เราเซ็นชื่อไปแล้วก็ได้
3. ต้องทำสัญญากู้ยืมเงินอย่างน้อย 2 ฉบับ สำหรับผู้ให้กู้ 1 ฉบับ และผู้กู้อีก 1 ฉบับ
4. การชำระหนี้ไม่ว่าจะเป็นบางส่วนหรือชำระทั้งหมด ผู้กู้ต้องขอรับใบเสร็จรับเงินหรือหลักฐานการรับเงิน ซึ่งมีลายเซ็นผู้ให้กู้กำกับด้วย 
5. เมื่อชำระหนี้ทั้งหมดแล้ว ผู้กู้ต้องขอสัญญากู้คืนจากผู้ให้กู้ด้วย
 

ยืมเงินแล้วไม่คืน ทำอะไรได้บ้าง ผิดกฎหมายอะไร

  • แจ้งความได้มั้ย?
ข้อนี้ต้องท่องไว้เลยว่า ตำรวจไม่รับแจ้งความนะคะ การผิดสัญญากู้ยืมเงินเป็น "คดีแพ่ง" ที่ตำรวจไม่มีหน้าที่ดำเนินคดีอาญาได้ค่ะ ทำได้เพียงลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐานเท่านั้น
 
  • ฟ้องศาลได้มั้ย?
สามารถฟ้องศาลเพื่อเรียกเงินคืนจากลูกหนี้ได้ค่ะ แต่ต้องใช้สัญญากู้ยืมเงินเพื่อเป็นหลักฐานประกอบในการฟ้องร้องด้วย หากไม่มีสัญญากู้ยืมเงินเป็นลายลักษณ์อักษรสามารถใช้ข้อความ Chat เช่น Facebook, LINE ฟ้องศาลได้เช่นกันนะคะ (ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544) แต่ต้องมีข้อความระบุชัดเจนว่ายืมเท่าไหร่ วันไหน ใครยืม
 
  • ผิดกฎหมายอะไร อายุความกี่ปี?
ผิดสัญญาแพ่ง มาตรา 213 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ผู้เป็นเจ้าหนี้สามารถฟ้องศาลให้มีคำสั่งบังคับลูกหนี้คืนเงินได้ มีอายุความ 10 ปี นับตั้งแต่วันถึงกำหนดชำระคืน แต่หากในสัญญากู้ยืมตกลงชำระเป็นงวดๆ กรณีนี้จะมีอายุความเพียง 5 ปี ค่ะ แต่หากมีการฟ้องร้องแล้วยังไม่คืนเงินอีก แถมยังแอบซุกซ่อน โอยย้ายหรือขายทรัพย์สิน ฯลฯ มีสิทธิ์โดนโทษทางอาญา มาตรา 350 เพิ่มเข้าไปอีกด้วยนะคะ จำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
 

สรุปแล้ว… ทั้งในมุมผู้กู้และผู้ให้กู้ ก่อนจะยืมเงินใครหรือให้ใครยืมเงิน อย่าหวังพึ่งความไว้ใจ หรือใช้สัญญาใจอะไรกันเลยค่ะ ควรทำสัญญากู้ยืมเงินให้เป็นลายลักษณ์อักษรเท่านั้น เพราะไม่มีใครรู้ว่าในอนาคตจะเกิดปัญหาหรือความบาดหมางอะไรขึ้นมาหรือเปล่า ทำสัญญากู้ยืมเงินไว้ยังไงก็ได้ประโยชน์ทั้ง 2 ฝ่ายนะคะ และหากมีปัญหาจนบานปลายก็ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของกฎหมายจะดีที่สุดค่ะ
 
yes ขอบคุณข้อมูล : สภาองค์กรผู้บริโภค, THAC, Sanook, keybookme​
แท็กที่เกี่ยวข้อง สัญญากู้ยืมเงิน เซ็นสัญญากู้ยืมเงิน ทำสัญญากู้ยืมเงิน เงินกู้ กู้เงิน
Money Guru
เขียนโดย ชไมพร มีศิริ Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่





เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)