รู้ไว้ใช่ว่า… "เครดิตสกอริ่ง" มีผลกระทบต่อการกู้ยืมอย่างไร

icon 5 ก.ค. 67 icon 2,977
รู้ไว้ใช่ว่า… "เครดิตสกอริ่ง" มีผลกระทบต่อการกู้ยืมอย่างไร
ใครที่กำลังมองหาสินเชื่อเพื่อเพิ่มสภาพคล่องทางการเงิน จะมั่นใจได้แค่ไหนว่าธนาคารจะอนุมัติสินเชื่อครั้งนี้ วันนี้เราจะมาพูดคุยกันในเรื่องของ "คะแนนเครดิต" หรือ "Credit Scoring" กันค่ะ ว่าคืออะไร มีผลกระทบต่อการเงิน และการกู้ยืมอย่างไร ต้องมีคะแนนเท่าไหร่ถึงจะดี และมีประโยชน์ต่อผู้ที่จะขอสินเชื่ออย่างไรบ้าง 
 
คะแนนเครดิต(Credit Scoring) คืออะไร 
 
คะแนนเครดิต (Credit Scoring) คือ คะแนนที่ใช้ในการวัดความเสี่ยงในการกู้ยืมเงิน เป็นตัวช่วยชี้วัดโอกาสหรือความน่าจะเป็นที่จะไม่ผิดนัดชำระหนี้ของผู้ขอกู้ ที่บริษัทข้อมูลเครดิต (NCB) เป็นผู้เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้วิธีการทางสถิติในการประมวลผล ซึ่งเครดิตสกอริ่ง มีผลกระทบต่อการเงิน และการกู้ยืม ดังนี้
 
  • อัตราดอกเบี้ย : ในกรณีที่มีคะแนนเครดิตสูง สามารถทำให้ผู้กู้ได้รับสินเชื่อที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำลง ซึ่งจะเป็นการช่วยลดภาระในการชำระหนี้ในอนาคตได้
     
  • การอนุมัติสินเชื่อ : สำหรับผู้ที่มีคะแนนเครดิตดี มีโอกาสสูงที่จะได้รับการอนุมัติสินเชื่อ 
     
  • วงเงินสินเชื่อ : ยิ่งมีคะแนนเครดิตที่สูง อาจทำให้ได้รับวงเงินสินเชื่อที่มากกว่า
     
  • ข้อกำหนดและเงื่อนไข : ผู้ที่มีคะแนนเครดิตต่ำ อาจได้รับข้อกำหนดและเงื่อนไขที่ไม่ดี เช่น อัตราดอกเบี้ยสูง หรือระยะเวลาชำระหนี้ที่สั้นลง เป็นต้น

    *แต่ทั้งนี้การพิจารณาอนุมัติสินเชื่อไม่ได้พิจารณาจากคะแนนเครดิตเท่านั้น แต่ยังมีการพิจารณาจากปัจจัยอื่นๆ ประกอบด้วย
ซึ่งบริษัทข้อมูลเครดิตจะมีปัจจัยที่ใช้ประเมิน และแบ่งคะแนนเครดิต ดังนี้
 
ปัจจัยที่ใช้ประเมินคะแนนเครดิต
  • ยอดหนี้คงเหลือ/ยอดวงเงินที่ใช้ เปรียบเทียบกับวงเงินสินเชื่อ
  • ยอดหนี้คงเหลือ/ยอดวงเงินที่ใช้ รวมแต่ละประเภทสินเชื่อ
  • จำนวนบัญชีที่เพิ่งเปิด แต่ละประเภทสินเชื่อ
  • จำนวนเงินคงค้างล่าสุด
  • ความยาวของประวัติสินเชื่อตามแต่ละประเภทสินเชื่อ
  • จำนวนบัญชีที่มีประวัติชำระเงินที่ดี
  • ความยาวของบัญชีสินเชื่อที่มี
  • ความถี่ในการสมัครสินเชื่อใหม่
 
ระดับคะแนนเครดิต
  • 753 - 900 คะแนน = AA
  • 725 - 752 คะแนน = BB
  • 699 - 724 คะแนน = CC
  • 681 - 698 คะแนน = DD
  • 666 - 680 คะแนน = EE
  • 646 -  665 คะแนน = FF
  • 616 - 645 คะแนน = GG
  • 300 - 615 คะแนน= HH
 
และมีวิธีการอ่านรายงานคะแนนเครดิต หรือเครดิตสกอริ่ง โดยมีข้อมูลตั้งแต่ ประเภทของคะแนนเครดิต, คะแนนเครดิต (300 - 900), ระดับคะแนนเครดิต (AA - HH), ความน่าจะเป็นในการชำระหนี้ที่ได้จากการประมวลผลข้อมูล ซึ่งในรายงานก็จะมีคำอธิบายการประมวลผลประกอบด้วย ดังนี้
"คะแนนเครดิต" มีประโยชน์อย่างไรต่อผู้ขอสินเชื่อ 
 
  1. ช่วยให้สามารถเลือกขอสินเชื่อให้เข้ากับพฤติกรรมการชำระหนี้ของตนเองได้มากขึ้น 
     
  2. ช่วยให้เรารู้เท่าทันการใช้เงิน และการชำระหนี้ของตนเอง สามารถจัดการบริหารการเงินได้ดีขึ้น และไม่สร้างความเสี่ยงทางการเงิน 

สรุปแล้ว การพิจารณาอนุมัติสินเชื่อของธนาคาร จะประกอบด้วยหลายๆ ปัจจัยไม่ว่าจะเป็น รายได้ อายุงาน เงินเดือนประจำ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้เป็นข้อมูลจริงที่จะปรับเปลี่ยนตามระยะเวลาที่เปลี่ยนไป แต่ข้อมูลคะแนนเครดิต หรือเครดิตสกอริ่ง เป็นข้อมูลที่เราสามารถสร้างให้ดีขึ้นได้อยู่เสมอ หากเราทำความเข้าใจ และจัดการคะแนนเครดิตให้ดี เช่น การบริหารจัดการการชำระหนี้ให้ครบ ตรงเวลาก็จะทำให้มีคะแนนเครดิตที่สูงขึ้น และอาจเพิ่มโอกาสในการอนุมัติสินเชื่อในอนาคตได้ เราควรหมั่นตรวจรายงานข้อมูลเครดิต เพื่อสังเกตพฤติกรรมชำระหนี้ของตนเองอยู่เสมอ โดยเฉพาะในส่วนของคะแนนเครดิต หรือเครดิตสกอริ่ง จะเป็นการสรุปข้อมูลเครดิตของเราว่าจัดอยู่ในเกณฑ์ดีหรือไม่นะคะ
 
ขอบคุณข้อมูลจาก www.ncb.co.th
แท็กที่เกี่ยวข้อง เครดิตสกอริ่ง ตรวจข้อมูลเครดิตและเครดิตสกอริ่ง คะแนนเครดิต กู้เงินไม่ผ่านเป็นเพราะอะไร ทำไมธนาคารไม่อนุมัติเงินกู้ ติดเครดิตบูโร Credit Scoring
Money Guru
เขียนโดย ชนานาถ จินตกสิกรรม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)