มือใหม่หัดกู้ ต้องดูอะไร ดอกเบี้ยเงินกู้แบงก์ไหนดี

icon 20 มิ.ย. 67 icon 2,013
มือใหม่หัดกู้ ต้องดูอะไร ดอกเบี้ยเงินกู้แบงก์ไหนดี
เมื่อมีความจำเป็นต้องกู้เงินหรือขอสินเชื่อ ไม่ว่าจะเป็นสินเชื่ออะไรก็ตามนะคะ มือใหม่หลายๆ คน อาจตื่นเต้นหรือกังวลว่าจะผ่านมั้ย เอกสารถูกต้องหรือเปล่า ฯลฯ ก่อนขอสินเชื่อก็เช็กแล้วว่าดอกเบี้ยเงินกู้แบงก์ไหนดีที่สุด ก็ต้องมาลุ้นกันอีกรอบว่าธนาคารจะอนุมัติหรือเปล่า วันนี้พามือใหม่ที่กำลังคิดจะกู้ ทั้งสินเชื่อเล็กๆ ไปจนถึงสินเชื่อก้อนใหญ่ว่าต้องเตรียมตัวยังไง ทำตามนี้รับรองกู้ผ่านแน่นอนค่ะ ดูเพิ่มเติม เช็ก! วิธีเตรียมเอกสารขอสินเชื่อเงินสดดอกเบี้ยต่ำให้ผ่านง่ายๆ

1. คิดดอกเบี้ยแบบไหน แบบคงที่ (Flat Rate) หรือลดต้นลดดอก (Effective Rate) ?

สินเชื่อแต่ละแบบจะมีวิธีคำนวณดอกเบี้ยไม่เหมือนกันนะคะ เช่น สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ จะคิดดอกเบี้ยแบบคงที่ (Flat Rate) ซึ่งจะผ่อนชำระเท่ากันทุกงวด และเราก็ไม่ต้องกังวลเรื่องดอกเบี้ยที่ปรับตัวขึ้นหรือลง 
 
อีกแบบคือ ดอกเบี้ยลดต้นลดดอก (Effective Rate) มักใช้กับสินเชื่อบ้าน, สินเชื่อบุคคล เป็นต้น ซึ่งวิธีนี้ดอกเบี้ยจะเปลี่ยนแปลงตามเงินต้นที่นำมาคำนวณในแต่ละงวด เงินที่เราจ่ายไปแต่ละเดือนจะตัดดอกเบี้ยก่อน ส่วนที่เหลือถึงจะตัดเงินต้น และดอกเบี้ยประเภทนี้จะได้รับผลกระทบเรื่องดอกเบี้ยที่ปรับตัวขึ้นหรือลง 
 

2. รู้จัก MRR MLR MOR

ปกติอัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัว จะถูกกำหนดคำนวณด้วย MRR และ MRR ของแต่ละธนาคาร “ไม่เท่ากัน” นะคะ ดูเพิ่มเติม อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อ MLR MOR และ MRR ล่าสุด
 

3. สินเชื่อสอดคล้องกับความต้องการหรือเปล่า?

เช็กให้ชัวร์ว่าสินเชื่อที่มีอยู่ตรงกับวัตถุประสงค์ของสินเชื่อนั้นหรือไม่ สมมติถ้าเราต้องการเงินมาซ่อมบ้าน ควรเลือกการกู้ยืมระยะยาว อย่างเช่น "สินเชื่อบ้านแลกเงิน" เพื่อให้การผ่อนไม่หนักเกินไปนะคะ 
 

4. เอกสารประกอบการขอสินเชื่อให้ผ่านง่ายๆ มีอะไรบ้าง

✅ เอกสารส่วนตัว
1. สำเนาบัตรประชาชน บัตรข้าราชการ หรือหนังสือเดินทาง
2. สำเนาทะเบียนบ้าน
3. สำเนาทะเบียนสมรส/ใบหย่า
4. สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ/นามสกุล (ถ้ามี)
 
✅ เอกสารรายได้ แบ่งเป็น 3 กรณี
1. กรณีเป็นผู้มีรายได้ประจำ
  • หนังสือรับรองเงินเดือนหรือหนังสือรับรองเงินเดือนแบบใช้สวัสดิการของหน่วยงาน
  • สลิปเงินเดือนย้อนหลัง 6 เดือน
  • สมุดบัญชีเงินเดือนย้อนหลัง 6 เดือน
2. กรณีเจ้าของธุรกิจ
  • สำเนาทะเบียนการค้าหรือหนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท
  • รายชื่อผู้ถือหุ้น
  • รายการเดินบัญชีเงินฝากย้อนหลัง 12 เดือน
  • สำเนาบัตรประจำตัวผู้เสียภาษี
  • หลักฐานการเสียภาษี เช่น ภ.พ. 30 เป็นต้น
  • รูปถ่ายกิจการ 4-5 ภาพพร้อมแผนที่ตั้งโดยสังเขป
3. กรณีประกอบอาชีพอิสระ
  • รายการเดินบัญชีย้อนหลัง 6 เดือน
  • ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ เช่น แพทย์, ทนาย, สถาปนิก เป็นต้น
เอกสารหลักประกัน (กรณีให้ขอสินเชื่อแบบมีหลักประกัน)
1. สำเนาจะซื้อจะขาย / สัญญาวางมัดจำ / สัญญาเช่าซื้อการเคหะฯ และหนังสือรับรองยอดคงเหลือ
2. หลักฐานการเป็นเจ้าของอาคาร
3. สำเนาโฉนดที่ดิน / นส.3ก / หนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุด / อช.2 ทุกหน้า
4. ใบอนุญาตปลูกสร้าง / ต่อเติม
5. แบบแปลน
6. ใบประมาณการปลูกสร้าง / สัญญาว่าจ้างก่อสร้าง
 

มือใหม่หัดกู้เงินไม่ต้องกังวลไปนะคะ นอกจากต้องดูว่าดอกเบี้ยเงินกู้แบงก์ไหนดี อย่าลืมเช็กสินเชื่อให้ตรงตามวัตถุประสงค์ ตรงตามความต้องการของเรามากที่สุด ภาระการผ่อนที่จะเกิดขึ้นจะได้คุ้มค่ากับเงินและเวลานะคะ แต่ถ้าหากไม่แน่ใจเราสามารถเดินเข้าไปพูดคุย เพื่อขอคำแนะนำกับธนาคารที่สนใจได้เลยนะ
 
yes ขอบคุณข้อมูล : ttb, ธนาคารแห่งประเทศไทย
แท็กที่เกี่ยวข้อง ดอกเบี้ยเงินกู้แบงก์ไหนดี ดอกเบี้ยเงินกู้ กู้เงิน ขอสินเชื่อแบงก์ไหนดี สินเชื่อแบงก์ไหนดี
Money Guru
เขียนโดย ชไมพร มีศิริ Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่





เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)