เมื่อต้อง
รีไฟแนนซ์บ้าน จะทำอย่างไรกับประกันคุ้มครองสินเชื่อ (MRTA) เป็นคำถามที่คน รีไฟแนนซ์บ้าน ทุกคนอยากรู้… สำหรับประกันคุ้มครองสินเชื่อ (MRTA) เป็นประกันที่คนกู้บ้านทุกคนต้องรู้จัก เพราะเมื่อใดก็ตามที่เราคิดจะขอสินเชื่อบ้าน หรือสินเชื่อ รีไฟแนนซ์บ้าน ธนาคารจะนำเสนอโปรโมชันอัตราดอกเบี้ยที่น่าสนใจ เมื่อเราทำประกัน MRTA ควบคู่ไปด้วยทุกครั้ง แล้วเมื่อถึงเวลาที่เราจะ รีไฟแนนซ์บ้าน เราจะจัดการกับประกัน MRTA อย่างไรได้บ้าง วันนี้เรามี 2 ทางเลือกสำหรับเรื่องนี้มาฝากกันค่ะ
ประกัน MRTA คืออะไร?
ประกัน MRTA หรือ Mortgage Reducing Term Assurance เป็นประกันชีวิตคุ้มครองการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย โดยจำนวนเงินคุ้มครองจะลดลงตามยอดเงินกู้ที่ลดลงในแต่ละเดือน ตามระยะเวลาการผ่อนชำระหนี้ และให้ความคุ้มครองกรณีเกิดเหตุไม่คาดฝันกับผู้กู้จนทำให้ไม่สามารถผ่อนชำระหนี้ต่อไปได้
ตัวอย่างเช่น หากผู้ขอสินเชื่อทำประกัน MRTA และในอนาคตเกิดเหตุทำให้ผู้กู้เงินเสียชีวิต หรือทุพพลภาพถาวร โดยที่ยังค้างภาระผ่อนชำระบ้านอยู่ ประกัน MRTA จะทำหน้าที่จ่ายเงินชำระหนี้คภัยคงเหลือกับธนาคารหรือสถาบันการเงินที่ให้กู้ยืม ทำให้ครอบครัวของผู้กู้ไม่ต้องรับภาระหนี้สินที่เหลืออยู่
การจ่ายค่าเบี้ยประกัน MRTA จะเป็นการจ่ายเบี้ยเพียงครั้งเดียว ซึ่งผู้ขอสินเชื่อสามารถผ่อนชำระค่าเบี้ยกับธนาคารได้ โดยธนาคารจะให้เป็นวงเงินสินเชื่อมาพร้อมกับยอดสินเชื่อที่ขอได้เลย ส่วนค่าเบี้ยประกันจะขึ้นอยู่กับทุนประกัน ระยะเวลาที่ให้ความคุ้มครอง รวมถึงเพศ และอายุของผู้ขอสินเชื่อด้วย
ประโยชน์ของประกัน MRTA
- ช่วยรับภาระหนี้หากเกิดเหตุไม่คาดคิด ทำให้ครอบครัวไม่ต้องรับภาระหนี้สินที่ยังคงค้างอยู่
- ช่วยลดความเสี่ยงในการสูญเสียที่อยู่อาศัยจากการไม่สามารถชำระหนี้ได้
- เบี้ยประกันจะคงที่ตลอดระยะเวลาประกัน ทำให้สามารถวางแผนการเงินได้ง่ายขึ้น
- ประกัน MRTA มีความคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไปตามระยะเวลาผ่อนชำระ ดังนั้นค่าเบี้ยประกันสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 100,000 บาท
*ทั้งนี้ ควรทำความเข้าใจในเงื่อนไข และข้อกำหนดของประกัน MRTA ให้ชัดเจน รวมถึงเงื่อนไขการคุ้มครอง และการชำระเงินเบี้ยประกัน
รีไฟแนนซ์บ้านอย่างไรได้ประโยชน์สูงสุด เมื่อมีทำประกัน MRTA
ประกันภัยคุ้มครองสินเชื่อเป็นประกันภัยที่มีอายุการรับประกันขั้นต่ำ 10 ปีขึ้นไป หากผู้กู้ต้องการรีไฟแนนซ์บ้านเมื่อครบ 3 ปี จะต้องทำอย่างไรกับประกันภัย MRTA เรามี 2 ทางเลือกในการจัดการมาฝากกันค่ะ
1. เลือกเวนคืนกรมธรรม์ฉบับเดิม แล้วทำประกันภัยฉบับใหม่
เมื่อทำการรีไฟแนนซ์สินเชื่อบ้านไปธนาคารใหม่ ผู้กู้สามารถเลือกการเวนคืนกรมธรรม์ประกัน MRTA ที่ถืออยู่เดิมเพื่อขอรับเงินส่วนต่างคืน และนำเงินที่ได้รับคืนมาไปใช้ทำประกัน MRTA กับธนาคารใหม่ได้ หรืออาจนำมาใช้เพื่อประโยชน์อย่างอื่นได้ตามต้องการ ทั้งนี้ จำนวนเงินที่จะได้รับคืนจะได้รับไม่เต็มตามจำนวนที่เคยจ่ายไป แต่จะได้รับคืนตามสัดส่วนกับระยะเวลาที่ได้รับความคุ้มครองไปแล้ว
2. เลือกสลักหลังกรมธรรม์ เพื่อเปลี่ยนชื่อผู้รับผลประโยชน์
ในการทำประกัน MRTA จะมีการระบุชื่อผู้รับผลประโยชน์ ซึ่งก็คือชื่อธนาคารเจ้าของสินเชื่อเดิม หากเราต้องการรีไฟแนนซ์บ้านไปธนาคารใหม่ ผู้กู้สามารถแจ้งเปลี่ยนชื่อผู้รับผลประโยชน์ในกรมธรรม์ประกันฉบับนั้นไปเป็นธนาคารเจ้าของเงินกู้ที่รีไฟแนนซ์ไปได้ โดยจะได้รับความคุ้มครองตามเดิม
เคล็ดลับจัดการประกัน MRTA ก่อนตัดสินใจรีไฟแนนซ์บ้าน : การเลือกเวนคืนกรมธรรม์ หรือเปลี่ยนชื่อผู้รับผลประโยชน์ในกรมธรรม์ ผู้กู้ควรสอบถามกับธนาคารให้ดีในเรื่องของเงื่อนไขสินเชื่อที่แตกต่างจากเดิมทั้งวงเงินกู้ และระยะเวลาผ่อนชำระ ว่าจะส่งผลต่อทุนประกัน และวงเงินคุ้มครองอย่างไรบ้าง
1. ผู้กู้อาจเลือกเวนคืนกรมธรรม์ หากเพิ่งต่อสัญญากรมธรรม์ไปได้ไม่นาน เพราะอาจทำให้ได้รับเงินเวนคืนมากพอที่จะทำประกันคุ้มครองสินเชื่อกับธนาคารใหม่ ด้วยวงเงินสินเชื่อที่ลดลง ก็จะทำให้เบี้ยประกัน MRTA ลดลงไปด้วย อาจทำให้มีเงินเหลือพอที่นำไปใช้ทำประโยชน์อย่างอื่นได้
2. ผู้กู้อาจเลือกสลักหลังกรมธรรม์เพื่อเปลี่ยนชื่อผู้รับผลประโยชน์ เมื่อกรมธรรม์ฉบับเดิมยังมีทุนประกันที่ครอบคลุมวงเงินที่ขอรีไฟแนนซ์ไป และจะได้ไม่ต้องเสียเงินทำประกันฉบับใหม่ หรือเมื่อเวนคืนกรมธรรม์ แล้วได้รับเงินคืนน้อยไม่พอที่จะทำประกันฉบับใหม่ การเปลี่ยนชื่อผู้รับผลประโยชน์อาจเป็นทางเลือกที่ดีกว่า
*ทั้งนี้ประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อ MRTA ไม่ใช่ประกันภัยภาคบังคับ ผู้ขอสินเชื่อสามารถตัดสินใจว่าจะซื้อ หรือไม่ซื้อก็ได้ และการทำประกัน MRTA ไม่ได้เป็นเครื่องการรันตีว่าเราจะขอสินเชื่อผ่าน แต่เป็นองค์ประกอบที่ให้ความอุ่นใจในการรับรองว่าหากเกิดเหตุที่ทำให้ผู้ขอสินเชื่อไม่สามารถผ่อนต่อได้ ก็ยังมีประกันสินเชื่อคุ้มครองอยู่ และหากอยากขอสินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้าน ให้ผ่านง่ายสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติม
รีไฟแนนซ์บ้าน ผ่านแน่ แค่ทำแบบนี้ หรือ
สนใจดูข้อมูลสินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้านทุกธนาคาร คลิกที่นี่