รู้เขา รู้เรา…เข้าใจ "ดอกเบี้ย" ก่อน รีไฟแนนซ์บ้าน 2567

icon 29 ส.ค. 67 icon 1,914
รู้เขา รู้เรา…เข้าใจ "ดอกเบี้ย" ก่อน รีไฟแนนซ์บ้าน 2567
วัตถุประสงค์หลักของการ รีไฟแนนซ์บ้าน คือต้องการลดดอกเบี้ย ดังนั้น ก่อนตัดสินใจ รีไฟแนนซ์บ้าน ก็ควรทำความเข้าใจว่า การรีไฟแนนซ์บ้านจะช่วยให้ประหยัดดอกเบี้ยได้อย่างไร และควรพิจารณาเปรียบเทียบธนาคารที่คิดอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าธนาคารเดิม ซึ่งในตารางดอกเบี้ยสินเชื่อ รีไฟแนนซ์บ้าน ของธนาคาร จะมีข้อมูลตัวเลขหลายหลายรูปแบบ วันนี้เราจะพามาทำความเข้าใจกันค่ะ ว่าแต่ละแบบมีความหมายว่าอย่างไร และดอกเบี้ยแบบไหนเหมาะกับใคร 
1. อัตราดอกเบี้ยคงที่  (Fixed Rate) คือ อัตราดอกเบี้ยที่ไม่ปรับตัวขึ้นหรือลดลง ถูกกำหนดให้คงที่ตลอดระยะเวลา เช่น 1 ปี 3 ปี หรือ 5 ปี ทำให้ผู้กู้ทราบล่วงหน้าว่าต้องชำระดอกเบี้ยในอัตราใด และสามารถวางแผนการเงินได้ง่ายขึ้น อัตราดอกเบี้ยคงที่ แบ่งได้ 3 รูปแบบ คือ 
 
1.1 ดอกเบี้ยคงที่ตลอดอายุสัญญา เป็นอัตราดอกเบี้ยที่ไม่เปลี่ยนแปลงตลอดระยะเวลาที่ผู้กู้ต้องชำระคืนเงินกู้ ไม่ว่าจะเป็นระยะเวลา 10 ปี 20 ปี หรือมากกว่านั้น โดยผู้กู้จะสามารถคาดการณ์ล่วงหน้าว่าต้องชำระเงินกู้ในอัตราดอกเบี้ยเท่าใดในแต่ละงวด ช่วยให้สามารถวางแผนการเงินได้ง่ายขึ้น
ตัวอย่าง อัตราดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์ธนาคารเกียรตินาคินภัทร
 
ข้อดีของดอกเบี้ยคงที่ตลอดอายุสัญญา : มีความเสี่ยงต่ำ ผู้กู้ไม่ต้องกังวลเรื่องอัตราดอกเบี้ยที่จะเปลี่ยนแปลงตามสภาวะตลาด ทราบแน่นอนว่าแต่ละเดือนต้องจ่ายเท่าไร และต้องจ่ายนานแค่ไหน 
 
ข้อเสียของดอกเบี้ยคงที่ตลอดอายุสัญญา : หากธนาคารมีการลดอัตราดอกเบี้ย ผู้กู้จะไม่ได้รับประโยชน์จากอัตราดอกเบี้ยที่ลดลงเพราะดอกเบี้ยถูกกำหนดไว้คงที่แล้ว
 
ดอกเบี้ยคงที่ตลอดอายุสัญญา เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการความมั่นคง และไม่ต้องการความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยในอนาคต 

1.2 ดอกเบี้ยคงที่ในช่วงแรก คือ อัตราดอกเบี้ยที่ถูกกำหนดให้คงที่ในช่วงแรกของระยะเวลาการกู้เงิน เช่น 1 ปี 3 ปี หรือ 5 ปี หลังจากนั้นจะปรับเป็นอัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัว ตามสภาวะตลาด หรือปรับตามอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง เช่น MLR, MRR หรือ MOR
 
ตัวอย่าง อัตราดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์
 
ข้อดีของดอกเบี้ยคงที่ในช่วงแรก : มักจะมีอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าดอกเบี้ยคงที่ตลอดอายุสัญญา ทำให้ผู้กู้สามารถประหยัดเงินในช่วงแรกได้
 
ข้อเสียของดอกเบี้ยคงที่ในช่วงแรก : ผู้กู้อาจต้องคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงของดอกเบี้ยในอนาคต และอาจต้องมีการปรับแผนการเงินใหม่เมื่อถึงช่วงที่ดอกเบี้ยลอยตัว

ดอกเบี้ยคงที่ในช่วงแรก เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการประหยัดดอกเบี้ยในช่วงต้น และเมื่อถึงช่วงที่ดอกเบี้ยปรับเป็นแบบลอยตัว ก็สามารถรีไฟแนนซ์เพื่อหาดอกเบี้ยที่ถูกลงจากธนาคารใหม่ได้ 

1.3 ดอกเบี้ยคงที่แบบขั้นบันได เป็นอัตราดอกเบี้ยกำหนดให้คงที่ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง และจะมีการปรับขึ้นหรือลงเป็นขั้นๆ เช่น ดอกเบี้ยปีแรก 1.99% ปีที่สอง 2.50% ปีที่สาม 3.30% หรือปรับตามช่วงเวลาที่กำหนด เช่น ทุก 1 ปี ทุก 3 ปี หรือทุก 5 ปี หลังจากนั้นจะปรับเป็นอัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัว
 
ตัวอย่างอัตราดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์ธนาคารทีทีบี
 
ข้อดีของดอกเบี้ยคงที่แบบขั้นบันได : ผู้กู้สามารถคาดการณ์การชำระดอกเบี้ยในแต่ละช่วงเวลาได้ เนื่องจากดอกเบี้ยถูกกำหนดไว้ล่วงหน้า
 
ข้อเสียของดอกเบี้ยคงที่แบบขั้นบันได : ผู้กู้ต้องเตรียมพร้อมรับมือกับดอกเบี้ยที่จะปรับเพิ่มขึ้นในอนาคต
 
ดอกเบี้ยคงที่แบบขั้นบันได เหมาะสำหรับผู้กู้ที่ต้องการความยืดหยุ่น และสามารถปรับแผนการเงินให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยในอนาคตได้

2. อัตราดอกเบี้ยลอยตัว (Floating Rate) คือ อัตราดอกเบี้ยที่มีการปรับเปลี่ยนตามสภาวะตลาดหรืออัตราดอกเบี้ยอ้างอิง เช่น MLR, MRR หรือ MOR ซึ่งอาจจะทำให้ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นหรือลดลง และไม่ได้กำหนดระยะเวลาการปรับดอกเบี้ยที่แน่นอน 
 

ตัวอย่างอัตราดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย

2.1 ดอกเบี้ย MLR (Minimum Loan Rate) คือ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ขั้นต่ำที่ธนาคารเรียกเก็บจากลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ส่วนใหญ่จะใช้คำนวณสำหรับเงินกู้ระยะยาวที่มีกำหนดระยะเวลาแน่นอน
 
2.2 ดอกเบี้ย MRR (Minimum Retail Rate) คือ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ขั้นต่ำที่ธนาคารเรียกเก็บจากลูกค้ารายย่อยชั้นดี ส่วนใหญ่จะใช้คำนวณเป็นอัตราดอกเบี้ยบ้าน และสินเชื่อส่วนบุคคล
 
2.3 ดอกเบี้ย MOR (Minimum Overdraft Rate) คือ อัตราดอกเบี้ยขั้นต่ำที่ธนาคารเรียกเก็บจากลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี มีประวัติการเงินดี โดใช้สำหรับสินเชื่อวงเงินเบิกเกินบัญชี (OD)
 
ข้อดีของอัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัว : อัตราดอกเบี้ยจะสามารถปรับเปลี่ยนตามการเปลี่ยนแปลงของตลาด ทำให้ผู้กู้สามารถรับประโยชน์จากอัตราดอกเบี้ยที่ลดลงในกรณีที่สภาวะเศรษฐกิจดีขึ้น ซึ่งอาจทำให้การชำระหนี้มีภาระลดลงในบางช่วงเวลาได้
 
ข้อเสียของอัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัว : จากการที่อัตราดอกเบี้ยสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาตามสภาวะตลาด อาจทำให้ผู้กู้ไม่สามารถคาดการณ์ค่าใช้จ่ายในการชำระหนี้ได้แน่นอน อาจมีความเสี่ยงที่อัตราดอกเบี้ยอาจเพิ่มขึ้นในอนาคต ซึ่งอาจทำให้การชำระหนี้มีภาระสูงขึ้นได้เช่นกัน
 
อัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัว มักจะไม่เปลี่ยนแปลงในช่วงระยะเวลาสั้นๆ  จึงเหมาะกับการกู้ยืมระยะสั้น เช่น หากต้องการรีไฟแนนซ์ไปธนาคารใหม่ที่คิดอัตราดอกเบี้ยลอยตัวที่คำนวณแล้วอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยคงที่ หรืออัตราดอกเบี้ยแบบผสมจากธนาคารอื่น ผู้กู้ก็สามารถเลือกอัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัวได้ เพราะหากผ่อนชำระไปจนถึงระยะเวลาที่จะสามารถรีไฟแนนซ์ไปธนาคารใหม่ได้อีก แล้วปรากฎว่าอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ณ ขณะนั้นสูงขึ้นมาก ผู้กู้ก็สามารถรีไฟแนนซ์ไปธนาคารใหม่ได้อีกครั้ง

สรุปแล้ว การเลือกประเภทของดอกเบี้ยสินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้าน นอกจากจะเปรียบเทียบหาอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลงจากดอกเบี้ยสินเชื่อเดิมแล้ว ยังควรพิจารณาจากความเหมาะสมกับสถานการณ์การเงินและการวางแผนในอนาคตของผู้กู้ประกอบด้วยนะคะ หากสนใจดูข้อมูลสินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้านทุกธนาคาร คลิกที่นี่
แท็กที่เกี่ยวข้อง รีไฟแนนซ์บ้าน 2567 รีไฟแนนซ์บ้าน 2567 ทุกธนาคาร รีไฟแนนซ์บ้าน 2567 ที่ไหนดี รีไฟแนนซ์บ้าน refinance บ้าน refinance บ้าน 2567 รีไฟแนนซ์บ้าน ธนาคารไหนดี
Money Guru
เขียนโดย ชนานาถ จินตกสิกรรม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)