ใครที่กำลังจะซื้อบ้าน แน่นอนว่ายุคดอกเบี้ยขึ้นแบบนี้คนซื้อบ้านต้องแบกภาระการผ่อนที่หนักกว่าเดิมแน่นอน การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย ส่งผลต่อดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ ที่เห็นๆ กันเลยก็คือ ดอกเบี้ย MRR ที่ขยับขึ้นกันทุกแบงก์นั่นเอง ดูเพิ่มเติม
อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อ MLR MOR และ MRR ล่าสุด ในเมื่อดอกเบี้ยขึ้นกันหมดแบบนี้จะเลือกดอกเบี้ยเงินกู้แบงก์ไหนดีล่ะ แล้ว MRR คืออะไร นำไปคิดดอกเบี้ยยังไง
MRR คืออะไร
MRR (Minimum Retail Rate) คือ อัตราดอกเบี้ยรูปแบบลอยตัว (Floating Rate) ที่ธนาคารเรียกเก็บจากลูกค้ารายย่อยชั้นดี ส่วนใหญ่จะใช้คำนวณเป็นอัตราดอกเบี้ยบ้านและสินเชื่อส่วนบุคคล
MLR และ MOR คืออะไร
นอกจากดอกเบี้ย MRR แล้ว ยังมีดอกเบี้ยอีก 2 ประเภท คือ MLR และ MOR
MLR (Minimum Loan Rate) คือ อัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทเงินกู้แบบมีระยะเวลา (Term Loan) เช่น มีประวัติการเงินที่ดี มีหลักทรัพย์ค้ำประกันอย่างเพียงพอ โดยส่วนใหญ่ใช้กับเงินกู้ระยะยาวที่มีกำหนดระยะเวลาที่แน่นอน เช่น สินเชื่อบ้านทั่วไป, สินเชื่อเพื่อการประกอบธุรกิจ เป็นต้น
MOR (Minimum Overdraft Rate) คือ อัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากลูกค้ารายใหญ่ชั้นดีประเภทเงินเบิกเกินบัญชี
วิธีคำนวณดอกเบี้ย MRR สำหรับสินเชื่อบ้านเบื้องต้น : ข้อมูลจาก Krungsri
ตัวอย่าง การคิดดอกเบี้ย MRR สำหรับคำนวณค่างวดบ้าน
ขอสินเชื่อบ้านในวงเงินกู้ 2,000,000 บ. MRR = 7% กำหนดอัตราดอกเบี้ยเอาไว้ว่าปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย 5% ต่อปี, ปีที่ 2 MRR-0.25%
การคำนวณดอกเบี้ยกู้บ้านสำหรับปีที่ 1 เป็นอัตราคงที่ 5% คำนวณได้ดังนี้
ดอกเบี้ยสำหรับปีที่ 1 = 2,000,000 x 5% = 100,000 บ.
ดอกเบี้ยสำหรับปีที่ 2 อัตราดอกเบี้ย MRR -0.25%
ให้นำ MRR 7% - 0.25% = 6.75%
ดอกเบี้ยสำหรับปีที่ 2 = 2,000,000 x 6.75% = 135,000 บ.
เห็นได้ชัดเลยนะคะว่ายิ่งนานดอกเบี้ยยิ่งสูงขึ้น ซึ่งวิธียอดฮิตสำหรับคนที่ผ่อนบ้านมาแล้ว 3 ปีขึ้นไปก็คือ
"รีไฟแนนซ์" และ
"รีเทนชั่น" นั่นเอง ซึ่งก็จะมีขั้นตอนของการเปรียบเทียบว่าดอกเบี้ยเงินกู้แบงก์ไหนดีเข้ามาอีกรอบ ดูเพิ่มเติม
รีไฟแนนซ์บ้าน ต้องรู้อะไรบ้าง ส่วนใครที่ได้โบนัสหรือเงินก้อนใหญ่มา ก็สามารถนำไปโปะได้เช่นกัน ซึ่งวิธีการเหล่านี้ก็จะมีส่วนช่วยลดภาระการผ่อนของเราได้นะคะ
ขอบคุณข้อมูล : Krungsri, KBank, Land and House