แจกสูตร…เช็ก "ความแข็งแรงทางการเงิน" แบบง่าย

icon 1 เม.ย. 67 icon 17,966
แจกสูตร…เช็ก "ความแข็งแรงทางการเงิน" แบบง่าย
การเช็ก "ความแข็งแรงทางการเงิน" เป็นขั้นตอนสำคัญในการวางแผนการเงินส่วนบุคคลหรือธุรกิจ เพราะจะช่วยให้เราทราบสถานะทางการเงินปัจจุบัน และความสามารถในการเผชิญหน้ากับสถานการณ์ทางการเงินต่างๆ ได้ดีขึ้น ซึ่งวันนี้เราจะมาแจกสูตรสำหรับเช็กความแข็งแรงทางการเงินแบบง่ายๆ กันค่ะ จะมีสูตรอะไรบ้างตามไปดู และลองคำนวณไปพร้อมๆ กันเลย 
 
5 สูตรเช็กความแข็งแรงทางการเงินแบบง่าย
อัตราส่วนทางการเงิน สูตรคำนวณ Benchmark คำอธิบาย
อัตราส่วนแสดงการอยู่รอด (Survival Ratio) รายได้ต่อเดือน / รายจ่ายต่อเดือน >1 มากกว่า 1 แสดงว่ารายได้ปัจจุบันสามารถทำให้อยู่รอดได้
อัตราส่วนสภาพคล่อง (Liquidity Ratio) รายได้ต่อเดือน / รายจ่ายต่อเดือน >1 มากกว่า 1 แสดงว่า มีเงินสดเพียงพอที่จะปิดหนี้ระยะสั้นได้หมดทันที
อัตราส่วนสภาพคล่องพื้นฐาน หรือ อัตราส่วนค่าใช้จ่ายประจำวัน (Basic Liquidity Ratio) สินทรัพย์สภาพคล่อง/ค่าใช้จ่ายต่อเดือน 3 - 6 เท่า น้อยกว่า 3 แสดงว่า มีเงินสดสำรองน้อยเกินไป หากเกิดเหตุฉุกเฉินอาจทำให้มีปัญหาทางการเงินได้
อัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์ (Debt to Asset Ratio) หนี้สิน/สินทรัพย์
< 0.5 
หากค่าหนี้มีค่าสูงเกิน 0.5 แสดงว่าบุคคลดังกล่าวอาจจะมีสินทรัพย์ไม่เพียงพอที่จะชำระหนี้สินได้หมดในอนาคต
อัตราส่วนการชำระคืนหนี้สินจากรายได้ (Debt Service Ratio)  การชำระคืนหนี้สินต่อเดือน / รายได้รวมต่อเดือน < 0.45 ควรต่ำกว่า 35% และไม่ควรสูงเกิน 45% หากมีค่ามากๆ อาจมีความเสี่ยงเรื่องการผ่อนชำระหนี้ในอนาคตได้
 
1. อัตราส่วนแสดงการอยู่รอด (Survival Ratio) เป็นอัตราส่วนที่แสดงถึงความสามารถในการอยู่รอดในแต่ละเดือน โดยดูจากรายได้ในปัจจุบันที่มีว่าครอบคลุมค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในชีวิตหรือยัง
 
 
อัตราส่วนการอยู่รอด = รายได้ต่อเดือน / รายจ่ายต่อเดือน
 
 
  • หากผลลัพธ์ที่ได้มีค่ามากกว่า 1 แสดงว่ารายได้ปัจจุบันสามารถทำให้เราอยู่รอดได้ และยังไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพทางการเงิน เพราะรายได้มากกว่ารายจ่าย 
  • หากผลลัพธ์ที่ได้มีค่าน้อยกว่า 1 แสดงว่ารายได้ปัจจุบันน้อยกว่ารายจ่าย ซึ่งจะส่งผลเสียต่อสุขภาพทางการเงินนั่นเอง
ตัวอย่างเช่น หากเรามีรายได้ต่อเดือน 40,000 บาท มีค่าใช้จ่ายต่อเดือน 25,000 บาท สามารถคำนวณได้ = 40,000/25,000 = 1.6 หมายความว่า เราจะยังสามารถอยู่รอดได้เพราะมีเงินเพียงพอที่จะใช้จ่ายในแต่ละเดือน ซึ่งเมื่อเรามีเงินเพียงพอต่อการใช้จ่ายแล้ว ก็ช่วยลดโอกาสที่จะนำเงินเก็บออกมาใช้ หรือการก่อหนี้เพิ่ม 

2. อัตราส่วนสภาพคล่อง (Liquidity Ratio) เป็นการประเมินความสามารถในการชำระหนี้ระยะสั้น 
 
 
อัตราส่วนสภาพคล่อง = สินทรัพย์สภาพคล่อง/หนี้สินระยะสั้น 
 
 
  • หากอัตราส่วนสภาพคล่องมากกว่า 1 แสดงว่า มีเงินสดเพียงพอที่จะปิดหนี้ระยะสั้นได้หมดทันที
  • หากอัตราส่วนสภาพคล่องน้อยกว่า 1 แสดงว่า ภาระหนี้ระยะสั้นมากเกินอำนาจในการชำระเงิน อาจแสดงถึงการมีสำรองเงินสด หรือเงินฝาก น้อยเกินไป 
ตัวอย่างเช่น นาย A มีสินทรัพย์สภาพคล่อง 200,000 บาท มีหนี้สินระยะสั้น 100,000 บาท จะคำนวณได้ 200,000/100,000 = 2 หมายความว่า นาย A มีเงินเพียงพอที่จะสามารถชำระหนี้สินระยะสั้นได้ และช่วยลดโอกาสการก่อหนี้เพิ่ม หรือการเป็นหนี้เสียในอนาคต

3. อัตราส่วนสภาพคล่องพื้นฐาน หรือ อัตราส่วนค่าใช้จ่ายประจำวัน (Basic Liquidity Ratio) เป็นการประเมินความสามารถในการดำรงชีวิต หรือการเอาตัวรอด ในกรณีฉุกเฉินที่ไม่สามารถหารายได้ได้ และยังสามารถใช้สินทรัพย์ที่มี เช่น เงินสด หรือเงินฝาก ในการดำรงชีวิตต่อไปได้ 
 
 
อัตราส่วนสภาพคล่องพื้นฐาน = สินทรัพย์สภาพคล่อง/ค่าใช้จ่ายต่อเดือน
 
 
  • หากคำนวณแล้วได้ค่าน้อยกว่า 3 เท่า แสดงว่า มีเงินสดสำรองน้อยเกินไป หากเกิดเหตุฉุกเฉินอาจทำให้มีปัญหาทางการเงินได้ ควรสำรองเงินสดเพิ่มขึ้น 
  • หากคำนวณแล้วได้ระหว่าง 3 - 6 เท่า แสดงว่า มีเงินสดเพื่อรองรับค่าใช้จ่ายฉุกเฉินต่อไปได้อีกอย่างน้อย 3 - 6 เดือน เช่น หากคำนวณแล้วได้ค่า 3 เท่า คือ สามารถใช้เงินสดที่มีเพื่อรองรับค่าใช้จ่ายต่อไปได้อีกอย่างน้อย 3 เดือน เป็นต้น ซึ่งค่าที่เหมาะสมก็ขึ้นอยู่กับความผันผวนของค่าใช้จ่ายของแต่ละบุคคลด้วย
ตัวอย่างเช่น นาย B มีสินทรัพย์สภาพคล่อง 200,000 บาท มีค่าใช้จ่ายต่อเดือน 50,000 บาท จะคำนวณได้ 200,000/50,000 = 4 หมายความว่า นาย B ยังมีเงินสำรองไว้ใช้จ่ายยามฉุกเฉิน ช่วยให้มีเวลาที่จะหารายได้เพิ่มเพื่อมาใช้จ่ายในการดำรงชีพ และลดโอกาสที่จะนำเงินลงทุนเพื่ออนาคตมาใช้จ่าย หรือลดโอกาสในการก่อหนี้เพิ่ม

4. อัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์ (Debt to Asset Ratio) เป็นอัตราส่วนที่แสดงให้เห็นถึงความมั่นคงทางการเงิน ว่ามีหนี้สินเท่าใดเมื่อเทียบกับสินทรัพย์ที่มี สัดส่วนหนี้ทั้งหมดที่มีสูงเกินไปหรือเปล่า มีความเสี่ยงที่จะไม่สามารถจ่ายหนี้ได้ตามกำหนดชำระหรือไม่
 
 
อัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์ = หนี้สิน/สินทรัพย์ 
 
 
  • ไม่ควรมีค่าสูงกว่า 50% (หรือควร <0.5) เนื่องจากหากค่าหนี้มีค่าสูง แสดงว่าบุคคลดังกล่าวอาจจะมีสินทรัพย์ไม่เพียงพอที่จะชำระหนี้สินได้หมดในอนาคต หรือมีสัดส่วนหนี้สินอยู่สูงกว่าสินทรัพย์ ซึ่งอาจจะเกิดความเสี่ยงในการชำระหนี้เพราะเกิดปัญหาด้านสภาพคล่องหรือการขาดรายได้
ตัวอย่างเช่น นางวิไลมีหนี้สิน 1,500,000 บาท มีสินทรัพย์ 3,000,000 บาท จะคำนวณได้ 1,500,000/3,000,000 = 0.5 หมายความว่า นางวิไลยังมีความมั่นคงทางการเงิน สามารถนำสินทรัพย์ที่มีไปต่อยอดให้เติบโตมากขึ้นได้ 

5.  อัตราส่วนการชำระคืนหนี้สินจากรายได้ (Debt Service Ratio) เป็นอัตราส่วนที่แสดงว่า เรามีความสามารถหารายได้มาชำระหนี้สินที่มีอยู่ได้หรือไม่
 
 
อัตราส่วนการชำระคืนหนี้สินจากรายได้ (รายเดือน) = การชำระคืนหนี้สินต่อเดือน / รายได้รวมต่อเดือน
 
 
  • เกณฑ์มาตรฐานสำหรับอัตราส่วนนี้ ควรต่ำกว่า 35% และไม่ควรสูงเกิน 45% หากมีค่ามากๆ อาจมีความเสี่ยงเรื่องการผ่อนชำระหนี้ในอนาคต
ตัวอย่างเช่น นายเอนกมีรายได้สุทธิเดือนละ 100,000 บาท ยอดหนี้ที่ต้องผ่อนชำระต่อเดือน เช่น ค่าผ่อนบ้าน ค่าผ่อนรถ ค่าบัตรเครดิต รวมแล้วประมาณ 40,000 บาท จะคำนวณได้ 40,000/100,000 = 0.40 หรือคิดเป็นยอดหนี้ที่ต้องผ่อนชำระ 40% ของรายได้ต่อเดือน แสดงว่านายเอนกมีความสามารถในการหารายได้เพื่อมาชำระหนี้สินที่มีได้อยู่ หรือหากนายเอนกจะก่อหนี้เพิ่มก็ไม่ควรเกินอีก 5,000 บาทต่อเดือน ซึ่งหากมียอดหนี้ที่ต้องชำระน้อยเมื่อเทียบกับรายได้ ก็จะช่วยลดโอกาสในการนำเงินเก็บออกมาใช้หนี้ หรือก่อหนี้เพิ่มในอนาคตได้
 
ซึ่งในการขอสินเชื่อธนาคารจะประเมินความสามารถในการชำระหนี้ประกอบการพิจารณาอนุมัติ รวมถึงประกอบการพิจารณาวงเงินที่จะให้กู้ร่วมด้วย โดยอาจพิจารณาจาก รายได้ ค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ย รวมถึงจำนวนหนี้สินที่ต้องผ่อนชำระต่อเดือนของผู้ขอสินเชื่อ

นอกจากสูตรการคำนวณเพื่อเช็กความแข็งแรงทางการเงินข้างต้นแล้ว ยังมีเหตุผลอีกหลายประการที่ทำให้การเช็กความแข็งแรงทางการเงินเป็นสิ่งจำเป็น ได้แก่
  1. วางแผนการเงิน : การเช็กความแข็งแรงทางการเงินช่วยให้เราเข้าใจถึงภาพรวมของสถานการณ์การเงินของตนเองหรือธุรกิจ เพื่อวางแผนการเงินให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์และเป้าหมายทางการเงินต่างๆ
     
  2. การวางแผนการเงินส่วนบุคคล : การเช็กความแข็งแรงทางการเงินช่วยให้เราสามารถวางแผนการเงินส่วนบุคคลได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การเตรียมเงินสำรองฉุกเฉิน, การลงทุนเพื่อการเลี้ยงชีพหลังเกษียณ, หรือการวางแผนการเงินสำหรับการศึกษาบุตร เป็นต้น
     
  3. การเตรียมความพร้อมในกรณีฉุกเฉิน : การเช็กความแข็งแรงทางการเงินช่วยให้มีการเตรียมความพร้อมในกรณีเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิด เช่น การสูญเสียงาน, การเจ็บป่วย, หรือภัยธรรมชาติ โดยการมีเงินสำรองหรือบำรุงเงินสำรองฉุกเฉินช่วยให้สามารถรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินได้ดีขึ้น
     
  4. การเสริมสร้างฐานะการเงิน : การเช็กความแข็งแรงทางการเงินช่วยให้เราสามารถระบุ และปรับปรุงจุดอ่อนในการเงิน เพื่อเสริมสร้างฐานะการเงินให้มั่นคง และสามารถรับมือกับสถานการณ์ทางการเงินที่มีความไม่แน่นอนได้
     
  5. การลงทุน : การเช็กความแข็งแรงทางการเงินช่วยให้มีการตัดสินใจเกี่ยวกับการลงทุนที่มีพื้นฐานทางการเงินแข็งแรงและมั่นคง เพื่อลดความเสี่ยงในการลงทุนและเพิ่มโอกาสในการได้รับผลตอบแทนที่ดีได้
การเช็กความแข็งแรงทางการเงินเป็นขั้นตอนสำคัญที่ช่วยให้เรามีการวางแผนการเงินที่มีประสิทธิภาพและเป็นระบบในอนาคต ดังนั้น เราควรเช็กความแข็งแรงทางการเงินอย่างสม่ำเสมอ เพื่อที่จะได้วางแผนการเงินในอนาคตให้เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้นะคะ
แท็กที่เกี่ยวข้อง ความแข็งแรงทางการเงิน อัตราส่วนทางการเงิน
Money Guru
เขียนโดย ชนานาถ จินตกสิกรรม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่



เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)