KYC กับ eKYC ต่างกันอย่างไร จะเปิดบัญชีเงินฝากดิจิทัลต้องรู้!

icon 29 มี.ค. 67 icon 1,670
KYC กับ eKYC ต่างกันอย่างไร จะเปิดบัญชีเงินฝากดิจิทัลต้องรู้!
การยืนยันตัวตนโดยเฉพาะการทำธุรกรรมทางเงินเป็นเรื่องสำคัญนะคะ ซึ่งทุกธนาคารจะใช้เทคโนโลยี KYC และ eKYC เข้ามาช่วยในการตรวจสอบและรู้จักลูกค้าอย่างละเอียด นอกจากการทำบัตรเครดิตแบบการ์ดและทำบัตรเครดิตแบบดิจิทัล การโอนเงินหรือเปิดบัญชีเงินฝากแบบดิจิทัล ก็จำเป็นต้องผ่านการยืนยันตัวตนแบบ KYC หรือ eKYC เช่นกันนะคะ ลองไปทำความรู้จักการยืนยันตัวทั้ง 2 แบบนี้ให้มากขึ้นค่ะ ว่าจำเป็นต่อการทำธุรกรรมในโลกออนไลน์มากน้อยแค่ไหน ดูเพิ่มเติม KYC คืออะไร ใครจะเปิดบัญชีเงินฝากดิจิทัลต้องรู้

KYC คืออะไร

KYC ย่อมาจาก Know Your Customer  เป็นกระบวนการที่องค์กรหรือธนาคารใช้ตรวจสอบและรู้จักลูกค้าอย่างละเอียดผ่านเอกสารข้อมูลต่าง ๆ เพื่อทราบข้อมูลเกี่ยวกับตัวตน และกิจกรรมทางการเงินของลูกค้า ซึ่งถือเป็นหลักเกณฑ์ของ พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 
 

การยืนยันตัวตนผ่าน KYC มีกี่แบบ

แบ่งประเภทการทำ KYC ได้ 2 ประเภท ดังนี้
 
1. ยืนยันตัวตน KYC แบบ Online (eKYC)
วิธีนี้เราสามารถทำเองได้โดยไม่ต้องไปถึงธนาคาร ดำเนินการผ่านระบบออนไลน์ได้เลย แต่มักจะต้องให้ข้อมูลด้านชีวมิติ (Biometric) เช่น ถ่ายรูปใบหน้า 
 
2. ยืนยันตัวตน KYC แบบ Face to Face
วิธีนี้ต้องไปแสดงตนกับเจ้าหน้าที่ธนาคาร เพื่อให้ตรวจสอบบัตรประชาชนผ่านเครื่อง Smart Card Reader 
 

eKYC คืออะไร

คือการยืนยันตัวตนส่วนหนึ่งของ KYC ย่อมาจากคำว่า Electronic Know Your Customer เป็นการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการยืนยันและตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลและตัวตนของลูกค้าในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์
 

การยืนยันตัวตนผ่าน eKYC มีกี่วิธี?

1. Biometric Authentication
การพิสูจน์ตัวตนโดยอาศัยข้อมูลทางชีวมิติ (Biometric) เช่น ลายนิ้วมือ, ใบหน้า เป็นต้น ที่พบเห็นกันได้บ่อย ๆ ก็อาจเป็นการเข้าแอปฯ Mobile Banking ผ่านการสแกนลายนิ้วมือ 

2. Optical Character Recognition (OCR) OCR
ระบบที่มีความสามารถในการอ่านข้อความจากเอกสาร ไฟล์ PDF, บัตรประชาชน หรือลายมือบนเอกสาร และแปลงข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบของดิจิทัล เพื่อทำการ Auto Fill In จากนั้นก็นำข้อมูลไปประมวลผลและยืนยันตัวตนของผู้ใช้บริการ 
 
3. National Digital ID (NDID) NDID
แพลตฟอร์มในการยืนยันตัวตนรูปแบบดิจิทัล ซึ่งวิธีนี้ลูกค้าสามารถที่กรอกข้อมูล, ถ่ายรูปบัตรประชาชน ผ่านสมาร์ทโฟนได้เลย
 

ข้อดีของการยืนยันตัวตนผ่าน KYC และ eKYC

1. ช่วยให้การทำธุรกรรมทางการเงินง่ายขึ้น ผ่านการจดจำอัตลักษณ์บุคคล เช่น ใบหน้า, ลายนิ้วมือ
2. มี ID เฉพาะบุคคล ทำให้ปลอมแปลงได้ยาก
3. ช่วยป้องกันการก่ออาชญากรรมทางการเงิน ซึ่งการยืนยันตัวตนของ KYC สามารถป้องกันการปลอมแปลงตัวตนได้
4. เพิ่มความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า ช่วยปกป้องข้อมูลต่างๆ ของลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลบัตรเครดิตไปจนถึงข้อมูลบัตรประชาชน ไม่ให้หลุดรอดโดยง่าย
5. เป็นการยกระดับนวัตกรรมการทำธุรกรรมทางการเงิน ซึ่งเหมาะอย่างยิ่งกับในยุค Cashless Society
 

ต้องบอกว่า KYC และ eKYC มีความจำเป็นไม่น้อยเลยในยุคเทคโนโลยีแบบนี้นะคะ เพราะทุก ๆ เทคโนโลยีมักจะแอบมีช่องโหว่ให้มิจฉาชีพเข้าถึง การยืนยันตัวจะเป็นอีกหนึ่งวิธีป้องกัน และสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าของทุกสถาบันการเงิน เพื่อให้ทุกการทำธุรกรรมทางเงินปลอดภัยมากที่สุดนะคะ ดูเพิ่มเติม KYC คืออะไร ใครจะเปิดบัญชีเงินฝากดิจิทัลต้องรู้
 
yes ขอบคุณข้อมูล : ttb, appman, scbtech, ginkgosoft
แท็กที่เกี่ยวข้อง บัญชีเงินฝากดิจิทัล บัญชีเงินฝากดิจิทัลดอกเบี้ยสูง บัญชีดิจิทัล KYC eKYC
Money Guru
เขียนโดย ชไมพร มีศิริ Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)