ป้องกันภัยจากแอปฯ ดูดเงิน เลือกสินเชื่อแบงก์ไหนดี

icon 27 มี.ค. 67 icon 17,429
ป้องกันภัยจากแอปฯ ดูดเงิน เลือกสินเชื่อแบงก์ไหนดี
มีข่าวให้เห็นกันอยู่บ่อย ๆ เรื่องคนตกเป็นเหยื่อหลอกโอนเงิน หรือดาวน์โหลดแอปฯ ดูดเงิน ทำให้ต้องเสียเงินกันไปมหาศาล คนหลายคนมีคำถามว่าจะเลือกสินเชื่อแบงก์ไหนดี เลือกยังไงเพราะไม่สามารถขอสินเชื่อหรือกู้เงินฉุกเฉินในระบบได้ ก็อาจเผลอดาวน์โหลดแอปฯ นั้นมาเพื่อหวังกู้เงินหรือขอสินเชื่อเงินด่วน แต่กลับต้องเสียเงินเสียเอง วันนี้ขอเตือนใจกันอีกครั้งไปเช็กวิธัป้องกันแอปฯ ดูดเงิน และหากเผลอตกเป็นเหยื่อไปแล้ว จะมีวิธีจัดการยังไงบ้าง ดูเพิ่มเติม Romance Scam หลอกให้รักแล้วจากไปพร้อมทรัพย์สิน

5 วิธีป้องกันแอปฯ ดูดเงินง่าย ๆ ด้วยตนเอง

1. ไม่คลิกลิงก์จาก SMS, LINE และอีเมล จากแหล่งที่มาที่ไม่รู้จัก
ทุกวันนี้มักมี SMS แปลกปลอมส่งมาประจำ แต่จำไว้ว่าธนาคารไม่มีนโยบายส่งข้อความ SMS แบบแนบลิงก์ หรือมีข้อความให้แอด Line ID ใด ๆ
 
2. ไม่ดาวน์โหลดแอปฯ จากแหล่งอื่นที่ไม่ใช่ App Store และ Google Play Store
iPhone, iPad เป็นระบบ iOS ก็ควรดาวน์โหลดแอปฯ จาก App Store ส่วนใครที่ใช้ระบบ Android ก็ควรจะดาวน์โหลดจาก Google Play Store
 
3. อัปเดตแอปพลิเคชันให้เป็นเวอร์ชันล่าสุด
เรื่องนี้จำเป็นนะคะ ควรหมั่นอัปเดตระบบของสมาร์ตโฟน รวมถึงแอปฯ ให้เป็นเวอร์ชันล่าสุดเสมอ เพื่อให้ระบบรักษาความปลอดภัยรวมถึงฟังกชั่นต่าง ๆ อัปเดตตามไปด้วย
 
4. ไม่ใช้โทรศัพท์มือถือที่ปลดล็อก (root/jailbreak)
การดัดแปลงอุปกรณ์อาจจะทำให้สามารถใช้ลูกเล่นของโทรศัพท์ได้มากขึ้น แต่ผลที่ตามมาอาจจะได้ไม่คุ้มเสีย
 
5. หมั่นสังเกตยอดเงินในบัญชีตนเองเสมอ
อย่าลืมเช็กข้อมูลเงินเข้า-ออกของบัญชีตัวเองอยู่เสมอนะคะ หรือตั้งค่ายอดเงินทำธุรกรรมแต่ละครั้งในแอปพลิเคชัน เพื่อป้องกันอีกทางก็ได้ค่ะ หากผิดปกติ ให้ติดต่อคอลเซ็นเตอร์หรือสาขาธนาคารทันที
 

เผลอดาวน์โหลดแอปฯ อันตรายไปแล้ว ทำไงดี

1. กด Force-Reset ส่วนใหญ่เป็นการกดปุ่ม Power และปุ่มลดเสียงพร้อมกันค้างไว้ 10-20 วินาที
2. ตัดการเชื่อมต่อของโทรศัพท์ เช่น ถอด Sim Card หรือ ปิด Wifi 
 

ช่องทางแจ้งความมิจฉาชีพออนไลน์

1. รวบรวมหลักฐาน เช่น ชื่อแอปฯ ดูดเงิน รวมถึงภาพการใช้งานแอปฯ
2. แจ้งความที่สถานีตำรวจ เพื่อนำใบบันทึกประจำวันไปติดต่อธนาคาร เพื่อดำเนินขั้นตอนเกี่ยวกับธุรกรรมการเงินของเรา
3. ร้องทุกข์ได้ที่ กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) หรือแจ้งความผ่านช่องทางออนไลน์ได้ที่ thaipoliceonline.com หรือสายด่วนตำรวจไซเบอร์ 1441 ตลอด 24 ชั่วโมง
4. ส่งเรื่องต่อไปยังสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) เพื่อติดตามและจับกุมต่อไป
 

มิจฉาชีพอยู่รอบตัวเรานะคะ แม้จะเตือนหรือมีข่าวให้เห็นกันอยู่บ่อย ๆ แต่ก็ยังมีคนตกเป็นเหยื่อและต้องเสียเงินเสียเวลาอยู่ตลอด ก่อนทำธุรกรรมการเงินออนไลน์อะไรต้องเช็กให้ละเอียดนะคะ อย่าใจเร็วโอนไว ดูเพิ่มเติม Romance Scam หลอกให้รักแล้วจากไปพร้อมทรัพย์สิน
 
yes ขอบคุณข้อมูล : Krungsri, เมืองไทย แคปปิตอล, SCB, CIMB
แท็กที่เกี่ยวข้อง สินเชื่อแบงก์ไหนดี แอปฯ ดูดเงิน กู้เงิน ดูดเงิน สแกมเมอร์ Scammer
Money Guru
เขียนโดย ชไมพร มีศิริ Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)