มัดรวม 13 ศัพท์การเงินดิจิทัล ต้องรู้!

icon 19 ก.พ. 67 icon 24,534
มัดรวม 13 ศัพท์การเงินดิจิทัล ต้องรู้!
เมื่อก้าวสู่ยุคดิจิทัล มีอะไรหลายอย่างที่ต้องเรียนรู้เพิ่มเติม และต้องปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะเรื่องของการเงินดิจิทัล ที่เป็นเรื่องสำคัญที่เกี่ยวพันกับการดำเนินชีวิตของทุกคน ไม่ว่าจะกินใช้ ลงทุน ทำธุรกิจ ก็จะมีวิธีการ และคำศัพท์ใหม่ๆ เกิดขึ้นอยู่เสมอ วันนี้…เราจะพามารู้จัก 13 ศัพท์การเงินดิจิทัล ที่เราจำเป็นต้องรู้ ว่ามีอะไรบ้าง และแต่ละคำหมายความว่าอย่างไร 
 
1. Open Banking คือการที่ผู้ให้บริการทางการเงิน สามารถใช้ข้อมูลการเงินของลูกค้าจากสถาบันการเงินต่างๆ ได้อย่างสะดวก โดยมี API เป็นช่องทางเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างกัน ทำให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงบริการข้ามธนาคารได้สะดวกขึ้น 
 
ทั้งนี้ เจ้าของข้อมูลจะเป็นผู้ให้สิทธิอนุญาตให้ธนาคารส่งข้อมูลของตนเองให้แก่บุคคลอื่น เช่น ผู้ให้บริการทางการเงินรายอื่น บริษัท FinTech หรือหน่วยงานภาครัฐต่างๆ เพื่อให้นำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ทั้งในแง่การให้บริการหรือการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของตนเองในฐานะเจ้าของข้อมูลได้ดีขึ้น โดยต้องดำเนินการภายใต้หลักธรรมาภิบาลข้อมูลที่ดี และมีการรักษาความลับของข้อมูลอย่างเคร่งครัดด้วย
 
2. API Standard  (Application Programming Interface) เป็นการเชื่อมต่อ และรับส่งข้อมูลจากระบบหนึ่งไปยังอีกระบบหนึ่ง โดยมีมาตรฐานกลางร้วมกัน ซึ่งธนาคารหลายแห่งกำลังพัฒนา เช่น Bank Statement รูปแบบดิจิทัลเพื่อขอสินเชื่อ เป็นต้น 
 
3. Metaverse คือ เทคโนโลยีดิจิทัลเสมือนจริงที่ผสมผสานโลกแห่งความจริง และเทคโนโลยีเข้าด้วยกัน เช่น การไปทำธุรกรรมที่ธนาคารบนโลกเสมือนจริง แต่ตัวนั่งอยู่ที่บ้าน
 
4. DeFi (Decentralized Finance) คือ ระบบการเงินแบบไม่มีศูนย์กลางในการทำธุรกรรมทางการเงินต่างๆ ผ่านระบบ Blockchain ไม่ต้องผ่านตัวกลางที่เป็นธนาคาร
 
5. NFT (Non - Fungible Token) เป็นสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทหนึ่งอยู่ในเทคโนโลยี Blockchain ใช้แสดงความเป็นเจ้าของของสินทรัพย์ดิจิทัลนั้น มีเพียงชิ้นเดียว ไม่สามารถทำซ้ำ หรือทดแทนกันได้ 
 
6. Blockchain เป็นเทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่สามารถประมวลผลและบันทึกข้อมูลแบบไม่จำเป็นต้องมีตัวกลางควบคุม มีกลไกการบันทึกข้อมูลที่สามารถป้องกันการปลอมแปลงได้ ซึ่งผลลัพธ์คือข้อมูลในระบบ Blockchain จะมีความโปร่งใสและตรวจสอบได้ ส่งผลให้สามารถลดขั้นตอน และต้นทุนในการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลได้อย่างมาก ยกตัวอย่างเช่น การโอนเงินระหว่างประเทศจากเดิมที่เคยใช้เวลา 3 – 5 วันกว่าเงินจะถึงมือผู้รับ หากเป็นระบบ Blockchain จะลดลงมาเหลือ 3 – 5 นาทีเท่านั้น และยังเสียค่าธรรมเนียมถูกลงอีกด้วย ดังนั้นเทคโนโลยี Blockchain จึงเป็นที่คาดหวังว่าจะเป็นสิ่งที่จะสามารถสร้างนวัตกรรมการเงินใหม่ๆ และสร้างประโยชน์ให้กับเศรษฐกิจของโลก
 
7. CBDC (Central Bank Digital Currency) เป็นสกุงเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลาง หรือธนบัตรในรูปแบบดิจิทัล มีมูลค่าคงที่ สามารถใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย ช่วยลดค่าธรรมเนียมที่ไม่จำเป็น ปลอดภัย และมีความน่าเชื่อถือสูง
 
8. BIN attack เป็นการตัดเงินผ่านบัตรเดบิต และบัตรเครดิต ดดยที่เจ้าของบัตรไม่ได้ทำรายการเอง โดยใช้วิธีหลอกขอข้อมูล สุ่มเลขบัตร หรือการรั่วไหลจากแพลตฟอร์มเสี่ยง 
 
9. e-KYC (Electronic Know Your Customer) เป็นการทำความรู้จักกับลูกค้าผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ ในการระบุตัวตน และพิสูจน์ตัวตนลูกค้า ให้ปลอดภัย ป้องกันการสวมรอย โดยทำได้หลายรูปแบบ เช่น NDID การจดจำใบหน้า สแกนลายนิ้วมือ เป็นต้น
 
ดูข้อมูลเพิ่มเติม >> ทำไม KYC ถึงสำคัญกับบัตรเครดิตดิจิทัล

10. NDID (National Digital ID) คือ การยืนยันตัวตนรูปแบบดิจิทัล เพื่อขอสมัครหรือใช้บริการต่างๆ ผ่านช่องทางออนไลน์ เช่น การเปิดบัญชีเงินฝาก สะดวก รวดเร็ว ไม่ต้องเดินทางไปแสดงตัวตนที่สาขา และปลอดภัยตามมาตรฐานสากล 
 
ดูข้อมูลเพิ่มเติม >> พาไปรู้จัก NDID ระบบยืนตัวตนก่อนเปิดบัญชีเงินฝากดิจิทัล
 
11. Digital factoring เป็นใบแจ้งหนี้ดิจิทัล ใช้เป็นหลักประกันเพื่อขอสินเชื่อ ลดปัญหาการขอสินเชื่อซ้ำซ้อนโดยใช้ใบแจ้งหนี้เดียวกัน และการปลอมแปลงเอกสาร
 
12. SLA (Service Level Agreement) เป็นข้อตกลงเกี่ยวกับระยะเวลาการให้บริการทางการเงินในด้านต่างๆ เช่น การใช้บริการแก้ไขเหตุขัดข้อง ติดต่อธนาคารแล้วจะได้รับการติดต่อกลับ หรือได้รับการช่วยเหลือ จะต้องอยู่ภายในระยะเวลาที่กำหนด 
 
13. OTP (One Time Password) คือ รหัสผ่านที่สามารถใช้ได้เพียงครั้งเดียวต่อการเข้าสู่ระบบหนึ่งครั้ง ภายในระยะเวลาที่กำหนด มักใช้เพื่อยืนยันตัวตนก่อนทำธุรกรรมทางการเงินออนไลน์ 
 
ขอบคุณข้อมูลจาก ธนาคารแห่งประเทศไทย
แท็กที่เกี่ยวข้อง ศัพท์การเงินดิจิทัล ศัพท์การเงินน่ารู้ บัญชีเงินฝากดิจิทัล
Money Guru
เขียนโดย ชนานาถ จินตกสิกรรม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่



เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)