วางแผนชำระหนี้ให้หมดไว แค่เปลี่ยนนิสัย 7 ข้อนี้

icon 5 ก.พ. 67 icon 21,777
วางแผนชำระหนี้ให้หมดไว แค่เปลี่ยนนิสัย  7 ข้อนี้
หากเป็นหนี้แล้ว ไม่ว่าหนี้นั้นจะเป็นหนี้ดี หรือหนี้เลว สิ่งที่ลูกหนี้พึงกระทำคือ การชำระหนี้ให้ครบตามกำหนดระยะเวลา และนอกจากการชำระหนี้แล้วลูกหนี้ควรปรับลดพฤติกรรมการใช้จ่ายที่ไม่เหมาะสม การใช้จ่ายเกินตัว เพื่อให้การวางแผนชำระหนี้ประสบความสำเร็จ และหมดหนี้โดยไว

เปลี่ยนนิสัย 7 ข้อนี้ หมดนี้ไวแน่นอน

1. จ่ายหนี้แต่เอาเงินมาหมุนใช้เหมือนเดิม 
 
ลูกหนี้ที่ชำระหนี้ตรงเวลา ไม่เคยผิดนัดชำระหนี้ แต่เมื่อจ่ายหนี้แล้วก็ยังคงเอาเงินมาหมุนวนใช้ต่อไปเรื่อยๆ สุดท้ายถึงจะจ่ายหนี้แต่ยังใช้จ่ายเงินเข้ากระเป๋าซ้ายออกกระเป๋าขวา โอกาสที่หนี้จะลดลงแทบจะเป็นไปได้ยากมาก หากอยากจะปลดหนี้ให้ไวก็ต้องมีวินัยใช้เงินอย่างรัดกุม เช่น จากที่ชอบกินข้าวนอกบ้าน ก็ซื้อวัตถุดิบมาทำอาหารกินเองที่บ้านแทน หรือลดการออกไปปาร์ตี้สังสรรค์กับเพื่อนๆ เป็นต้น

2. หนี้ยังไม่หมดแต่ยังรูดบัตรเครดิตใช้จ่ายตลอด
 
การปลดหนี้ก็เหมือนกับการเล่นเกมจิตวิทยากับตัวเอง หากใจไม่แข็งพอ เจอของชอบ ของถูกใจก็รูดปื๊ด รูดปื๊ด ตลอด ก็อาจต้องยอมแพ้ และสุดท้ายก็จะติดกับดักหนี้จนไม่สามารถหาทางออกได้ ดังนั้นการหลีกเลี่ยงการเป็นหนี้คือกำจัดหนี้บัตรเครดิตให้หมด และไม่ก่อหนี้ใหม่ระหว่างที่กำลังจะชำระหนี้คืน

3. จ่ายหนี้พร้อมกันในครั้งเดียว
 
ในกรณีที่มีหนี้มากกว่า 1 บัญชี และในแต่ละเดือนต้องจ่ายหนี้พร้อมกันทีละมากๆ ลูกหนี้บางรายก็เลือกที่จะกู้เงินจากที่ใหม่ เพื่อมาโปะหนี้ที่มีอยู่ หมุนเงินวนไปอย่างนั้นจนยอดหนี้ไม่ได้ลดลง ดังนั้น หากต้องการปิดจบหนี้ให้ไว อาจจะเริ่มต้นจากการจ่ายขั้นต่ำของแต่ละที่ และให้ทยอยโปะหนี้ที่ก้อนเล็กที่สุดก่อนจากนั้นค่อยทบไปเรื่อยๆ จนหมด
 

4. จ่ายหนี้หมดแต่ไม่ปิดบัญชีหนี้
 
การที่เราสามารถเคลียร์ยอดหนี้เป็น 0 บาทได้แล้ว แต่ยังไม่ได้ทำการปิดบัญชีหนี้ อาจทำให้เรามีโอกาสที่จะก่อหนี้ซ้ำได้อีก ดังนั้นเมื่อวางแผนการชำระหนี้จนหมดแล้วควรรีบปิดบัญชีหนี้โดยทันที

5. จ่ายหนี้หมดแต่ไม่เก็บออมเงิน

หนี้ก็ต้องจ่าย เงินออมก็ต้องเก็บ ในกรณีที่สามารถเคลียร์หนี้หมดแล้วแต่ก็ยังคงใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่ายไม่รู้จักเก็บออมเงิน หรือเอาเงินไปจ่ายหนี้ แต่ไม่ได้มีการแบ่งสัดส่วนมาออมบ้าง พอถึงเหตุการณ์ฉุกเฉินที่ต้องใช้เงิน ก็อาจจะต้องกู้หนี้ยืมสินมาใช้จ่ายหมุนเวียนอยู่ดี เพราะไม่มีเงินเก็บ ดังนั้น หากต้องการปิดจบหนี้ให้ไว ก็ควรแบ่งเงินเก็บออมเผื่อฉุกเฉินไว้บ้างนะคะ 
 
6. ไม่จัดลำดับความสำคัญของหนี้
 
เมื่อมีภาระหนี้สินเยอะหลายคนก็มักจะจับต้นชนปลายไม่ถูก ไม่รู้ว่าหนี้ก้อนไหนที่ต้องจัดการก่อน หรือหลัง ทางที่ดี เราควรจดรายการหนี้สินที่มีเพื่อเรียงลำดับ และวางแผนการชำระหนี้ให้ได้อย่างเหมาะสมกับรายรับที่มี และจะได้รู้ว่าเราต้องหารายได้เพิ่มเติมเพื่อมาจ่ายหนี้ด้วยหรือไม่

7. ไม่ตรวจสอบข้อมูลเครดิตของตนเอง

อย่าละเลยข้อมูลเครดิตของตนเอง เพราะการตรวจเครดิตบูโรจะช่วยให้เราทราบสถานะทางการเงินของตนเอง ว่าการเงินของเราเป็นอย่างไร มีหนี้ค้างชำระหรือไม่ เพื่อที่จะได้มาวางแผนจัดการหนี้ได้อย่างถูกต้อง และเหมาะสม หากค้างชำระบ่อยจนกลายเป็นหนี้เสีย ในอนาคตหากต้องการขอสินเชื่ออื่นๆ เพิ่มเติม อาจทำให้สินเชื่อไม่ได้รับอนุมัติ 
 
สุดท้ายแล้ว หากต้องการปิดหนี้ให้ไว นอกจากการหลีกเลี่ยง หรือเปลี่ยน 7 นิสัยข้างต้นแล้ว การรัดเข็มขัดหรือควบคุมค่าใช้จ่ายให้อยู่ในกรอบ และลดทอนพฤติกรรมการใช้จ่ายเงินที่ไม่เหมาะสมก็จะเป็นตัวช่วยที่ทำให้สถานะการเงินของเรามุ่งสู่อิสรภาพทางการเงินได้โดยเร็วที่สุดนะคะ
 
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม >> ติดบ่วง "หนี้เลว" แก้ได้
 
ขอบคุณข้อมูล www.ncb.co.th
แท็กที่เกี่ยวข้อง วางแผนชำระหนี้ พฤติกรรมการเงิน ปิดจบหนี้ให้ไว
Money Guru
เขียนโดย ชนานาถ จินตกสิกรรม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)