บัตรเครดิตทุกใบคือตัวช่วยเรื่องการเงินเหมือน ๆ กัน แต่จริง ๆ แล้วก็มีความต่างกันกันนะคะ เวลาที่เราจะสมัครหรือเลือกใช้บัตรเครดิตซักใบ นอกจากจะต้องเปรียบเทียบบัตรเครดิตแต่ละแบงก์แล้ว เคยสังเกตกันมั้ยคะ... บนบัตรเครดิตจะมีคำว่า Mastercard, Visa, JCB และ UnionPay ตรงมุมบัตร คืออะไร แต่ละแบบต่างกันอย่างไร วันนี้ไปทำความเข้าใจให้มากกว่าเดิมกันค่ะ...
บัตรเครดิตวีซ่า (Visa)
มีจุดกำเนิดที่สหรัฐอเมริกา ก่อตั้งเมื่อปี 1958 เดิมชื่อ Bank America Card เป็นบัตรเดรดิตที่ออกโดย Bank of America เพื่อลดการใช้เงินสด ต่อมาจึงขยายไปสู่การก่อตั้งบริษัทสำหรับการใช้จ่ายไร้เงินสดภายใต้ชื่อ National BankAmerica Card สุดท้ายเปลี่ยนชื่อเป็น Visa ในปี 1976
ตัวอย่างบัตรเครดิตวีซ่าในไทย
- บัตรเครดิตกรุงศรี เฟิร์สช้อยส์ วีซ่า แพลตินัม
- สมาร์ททุกการใช้จ่าย 0% สั่งได้ทุกอย่าง ทำเองได้ง่ายๆ ผ่านฟีเจอร์ U PLAN บนแอป UCHOOSE
- 0% Pay Later บริการใหม่จากเฟิร์สช้อยส์ซื้อวันนี้ เริ่มผ่อน 2 เดือนข้างหน้า*
- รับเครดิตเงินคืนทุกเดือนแบบคุ้มๆ ครอบคลุมทุกไลฟ์สไตล์การใช้จ่ายตลอดปี เครดิตเงินคืนเข้าบัญชีบัตรไวในรอบบัญชีถัดไป
- เอ็กซ์คลูซีฟขั้นสุด ฟินไปกับโปรโมชั่นประจำเดือนเกิด
- Credit Health ให้คุณตรวจสอบสถานะสุขภาพทางการเงินได้ง่ายๆ ผ่านแอป UCHOOSE
- จ่ายคืนขั้นต่ำเบาๆ แค่ 3%* และเลือกแบ่งจ่ายคืนได้ตามใจสูงสุด 60 เดือน*
- ไม่มีค่าธรรมเนียมแรกเข้าและรายปีปีแรก*
บัตรเครดิตมาสเตอร์การ์ด (Mastercard)
มีจุดกำเนิดที่สหรัฐอเมริกาเช่นเดียวกัน ก่อตั้งเมื่อปี 1966 เดิมชื่อ Master Charge เริ่มต้นจากความร่วมมือกันของ 4 ธนาคารหลักในรัฐแคลิฟอร์เนีย ได้แก่ United California Bank, Wells Fargo, Crocker National Bank และ Bank of California ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น Mastercard และควบรวมกับ Europay International กลุ่มผู้ออกบัตรเครดิตรายใหญ่ของยุโรป
ตัวอย่างบัตรเครดิตมาสเตอร์การ์ดในไทย
- บัตรเครดิตโลตัส แพลทินัม บียอนด์
- รับความคุ้มคืนสูงสุด 5%* จากยอดใช้จ่ายที่โลตัสทุกสาขา และโลตัส ช้อปออนไลน์
- เลือกผ่อน 0% ทุกชิ้น ทั้งห้างโลตัส นาน 3 เดือน*
- รับเครดิตเงินคืน 3%* เมื่อเติมน้ำมันเอสโซ่ทั่วไทย ตั้งแต่บาทแรก ไม่ต้องลงทะเบียน ไม่ต้องแลกคะแนน
- รับความคุ้มคืน 0.5%* (ยอดใช้จ่ายทุกๆ 20 บาทต่อรายการ ได้รับคะแนนสะสมโลตัส รีวอร์ดส 1 คะแนน)
- บริการช่วยเหลือรถเสียฉุกเฉินบนท้องถนนและบริการช่วยเหลือที่พักอาศัยตลอด 24 ชั่วโมง*
- ประกัยภัยคุ้มครองการซื้อสินค้าผ่านเว็บไซต์ สูงสุดไม่เกิน 20,000 บาท
บัตรเครดิตเจซีบี (JCB)
มีจุดกำเนิดที่ญี่ปุ่น JCB ย่อมาจากคำว่า Japan Credit Bureau ก่อตั้งเมื่อปี 1961 มีจุดเด่นเรื่องสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ในประเทศญี่ปุ่น เช่น จองตั๋วเครื่องบิน, โรงแรม, ร้านอาหาร ไปจนถึงบริการต่าง ๆ ในสนามบินประเทศญี่ปุ่น
ตัวอย่างบัตรเครดิตเจซีบีในไทย
- บัตรเครดิตกรุงศรี เจซีบี แพลทินัม
- รับเครดิตเงินคืน 3% เมื่อมียอดใช้จ่ายครบทุก 1,000 บาท/เซลล์สลิป ณ ร้านอาหารทั่วโลก*
- รับเครดิตเงินคืน 1%* เมื่อใช้จ่ายด้วยบัตรเครดิตที่ประเทศญี่ปุ่น ฮ่องกง เกาหลีใต้ ไต้หวัน และสิงคโปร์*
- รับส่วนลด 10% ณ ร้านอาหารยอดนิยม Akiyoshi, Chabuton, Gyu Kaku, Katsuya, On Yasai, Pepper Lunch, See Fah, Tenya และ Yoshinoya**
- บริการ Airport Lounge มากกว่า 60 แห่ง ใน 45 สนามบิน รวมทั้งสิ้น 10 ประเทศ ได้แก่ 1.ญี่ปุ่น 2.ฮาวาย 3.จีน 4.เกาหลี 5.สิงคโปร์ 6.ไต้หวัน 7.มาเลเซีย 8.เวียดนาม 9.สหราชอาณาจักร 10.เยอรมนี
- ประกันความสูญเสียหรือเสียหาย จากการซื้อสินค้าผ่านบัตรเครดิต โดยรูดซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ และชำระค่าสินค้าผ่านระบบการชำระเงินทางอินเตอร์เน็ต
- เพิ่มความอุ่นใจอีกหนึ่งระดับ กรณีบัตรสูญหายหรือถูกโจรกรรม ด้วย แผนคุ้มครองบัตรหาย Zero Liability ย้อนหลังสูงสุด 24 ชั่วโมง
- รับเครดิตเงินคืน 1%* เมื่อเติมน้ำมันครบทุก 800 บาท/เซลล์สลิป ที่สถานีบริการน้ำมันบางจาก ที่ร่วมรายการ
- "กรุงศรี พอยต์” ทุก 25 บาท = รับ 1 พอยต์
บัตรเครดิตยูเนี่ยนเพย์ (UnionPay)
มีจุดกำเนิดที่จีน ก่อตั้งเมื่อปี 2002 โดยความร่วมมือของธนาคารในประเทศจีน ต้องบอกว่ายูเนี่ยนเพย์เติบโตอย่างก้าวกระโดด ใช้เวลาเพียง 20 ปี ก็สามารถขึ้นมาเป็นอีกหนึ่งผู้นำด้านบัตรเครดิตของโลกได้
ตัวอย่างบัตรเครดิตยูเนี่ยมเพย์ในไทย
- บัตรเครดิตยูเนี่ยนเพย์ แพลทินัม กสิกรไทย
- รับคะแนน X2 เมื่อใช้จ่ายที่ฮ่องกงและมาเก๊า จำกัด
- เที่ยวประเทศโซนเอเชีย รับเครดิตเงินคืนสูงสุด 4%
- มีล่ามภาษาจีนส่วนตัว ผ่านบริการ K-Contact Center
- พักผ่อนก่อนบินที่ Miracle Lounge
- พักผ่อนก่อนบินที่ K Point KLUB นั่งรอไฟลต์สบายที่ K Point KLUB เพียง 1500 คะแนน สายการบินไหนก็เข้าได้
- เดินทางอย่างวางใจ ประกันภัยการเดินทางต่างประเทศ วงเงินสูงสุด 200,000 บาท
จริง ๆ แล้วบัตรเครดิตท้้ง 4 แบบนี้ก็แทบไม่ได้แตกต่างกันเลยนะคะ เพราะสามารถรูดใช้จ่ายและมีสิทธิประโยชน์เช่นกัน จะต่างกันก็ตรงโปรโมชันพิเศษที่บางบัตรเน้นการใช้ในประเทศโซนเอเชีย บางบัตรเน้นที่ยุโรปและอเมริกาเท่านั้นเองล่ะค่ะ
ขอบคุณข้อมูล : Sanook, KTC, Punpro