เช็คหมดเปลือก ก่อนซื้อรถ EV คันแรก ต้องเผื่อใจไว้จ่ายค่าอะไรบ้าง?

icon 30 พ.ย. 66 icon 23,452
เช็คหมดเปลือก ก่อนซื้อรถ EV คันแรก ต้องเผื่อใจไว้จ่ายค่าอะไรบ้าง?
จากสถิติการจดทะเบียนรถพลังงานไฟฟ้า ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ทั่วประเทศ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 (ระหว่างวันที่ 1 ต.ค. 2565 - 30 ก.ย. 2566) มีจำนวนทั้งสิ้น 73,341 คัน เมื่อเทียบกับจำนวนการจดทะเบียนฯในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ที่มีจำนวนทั้งสิ้น 14,696 คัน โดยมีอัตราการจดทะเบียนฯ เพิ่มขึ้นจำนวน 58,645 คัน คิดเป็น 399.05% ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขที่สูงมากๆ ทั้งนี้ สายรักษ์โลกรายใหม่ที่กำลังคิดจะซื้อรถยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle : EV) ขอแนะนำตรองดูให้ดีอีกสักนิดก่อนตัดสินใจนะคะ ว่า…ก่อนที่เราจะประหยัดค่าเชื้อเพลิง เพราะรถยนต์ไฟฟ้าไม่ต้องใช้น้ำมัน เราต้องเสียค่าใช้จ่ายอะไรเพิ่มเติมบ้าง รวมทั้งจะมีค่า maintanance อะไรนอกเหนือจากการใช้รถยนต์สันดาป ที่เราต้องเผื่อใจตรียมพร้อมรับมือก่อนออกรถใหม่บ้าง

ออกรถ EV คันแรก มีค่าใช้จ่ายอะไรที่ต้องเตรียมบ้าง 

1. ค่ารถ + เงินดาวน์
 
ถึงแม้ว่ารัฐบาลจะให้การสนับสนุน ทั้งการลดภาษีนำเข้า ให้เงินอุดหนุน และลดภาษีรถยนต์ เพื่อที่จะให้ราคารถไฟฟ้าถูกกว่ารถสันดาป และสามารถจับจองเป็นเจ้าของได้ง่ายขึ้น โดยราคาเริ่มต้นของรถไฟฟ้าจะอยู่ที่ประมาณ 500,000 บาท ถึงหลักล้านกว่าบาทกันเลย ซึ่งการตัดสินใจซื้อรถการวางเงินดาวน์ก็เป็นค่าใช้จ่ายลำดับต้นๆ ที่เราจะต้องจ่ายออกไปค่ะ เราจะขอยกตัวอย่าง ราคาและการวางเงินดาวน์ของรถไฟฟ้า Tesla Model 3 ดังนี้ค่ะ
จากภาพตัวอย่างข้างต้น หากเราเลือกซื้อรถ Tesla Model 3 ราคา 1,599,000 บาท หากเลือกวางเงินดาวน์ขั้นต่ำ 10% จำนวนเงินที่ต้องเตรียมสำหรับวางเงินดาวน์ คือ 159,900 บาท แต่ทั้งนี้ หากเราวางเงินดาวน์น้อย จำนวนเงินที่เราต้องผ่อนชำระต่อเดือนก็จะสูงขึ้น จากตัวอย่างการเลือกผ่อนชำระ 60 เดือน อัตราดอกเบี้ย 2% จำนวนเงินผ่อนต่อเดือนจะอยู่ที่ 26,384 บาท
 
2. ค่าภาษี 
 
ใครที่ซื้อรถไฟฟ้าตอนนี้ จะได้รับส่วนลดค่าภาษีโดยเริ่มตั้งแต่วันที่รถนั้นจดทะเบียนเป็นระยะเวลา 1 ปี จากมาตรการลดภาษีประจำปีสำหรับรถที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าที่เป็นรถใหม่สำเร็จรูปจากโรงงานและนำมาจดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ ตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 10 พ.ย. 2568 จะมีการลดภาษีลงร้อยละ 80 จากอัตราที่กำหนด ของอัตราภาษีประจำปีท้ายกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ ดังนี้
  • รถเก๋งที่ใช้พลังงานไฟฟ้าที่มีน้ำหนัก 1,800 กิโลกรัม ปกติจัดเก็บภาษีประจำปี 1,600 บาท ลดภาษีประจำปีแล้ว คงเหลือ 320 บาท
  • รถตู้ส่วนบุคคลที่ใช้พลังงานไฟฟ้าที่มีน้ำหนัก 1,800 กิโลกรัม ปกติจัดเก็บภาษีประจำปี 800 บาท ลดภาษีประจำปีแล้ว คงเหลือ 160 บาท
  • ส่วนรถจักรยานยนต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้า ปกติจัดเก็บภาษีประจำปี 50 บาท ลดภาษีประจำปีแล้ว คงเหลือ 10 บาท เป็นต้น
ทั้งนี้ เราขอสรุปอัตราภาษีที่ต้องเตรียมจ่ายในปีแรก และปีถัดๆ ไป สำหรับรถยนต์ EV ประเภทรถยนต์นั่งส่วนบุคคล ไม่เกิน 7 คน มาให้ตามรายละเอียดด้านล่างนี้นะคะ
 
 
3. ค่าประกันภัยรถยนต์
 
ก็พอจะทราบกันอยู่แล้วว่าประกันภัยรถไฟฟ้า จะมีราคาแพงกว่ารถยนค์ทั่วไป เพราะรายละเอียดการคุ้มครองความเสียหาย และความเสี่ยงที่แตกต่างกัน เช่น
 
  • ค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมมีราคาสูง : สำหรับรถยนต์ไฟฟ้านั้นมีค่าอะไหล่ที่มีราคาสูงกว่ารถยนต์ที่ใช้น้ำมันค่ะ บริษัทประกันภัยจึงต้องแบกรับในส่วนนี้ เพราะรถบางรุ่น บางยี่ห้อ ยังต้องนำเข้าชิ้นส่วนมาจัดจำหน่าย โดยที่ยังไม่มีการผลิตในประเทศ ทำให้ค่าชิ้นส่วน หรืออะไหล่ยังมีราคาแพง
     
  • ให้ความคุ้มครองแบตเตอรี่ : ราคาแบตเตอรี่สำหรับรถไฟฟ้ามีราคาค่อนข้างสูงอยู่ที่หลักแสนบาท เพราะสำหรับรถไฟฟ้า ตัวแบตเตอรี่เปรียบเสมือนหัวใจของรถที่มีขนาดใหญ่มาก เพราะเป็นแหล่งสร้างพลังงานเพื่อใช้หมุนเวียนในทุกระบบของรถ และหากรถ EV เสีย หรือเกิดอุบัติเหตุขึ้นมา ศูนย์บริการมักจะแนะนำให้เปลี่ยนแบตเตอรี่ยกชุดแทนการซ่อมแซม เพราะทำได้ง่ายกว่า เช่น จากข้อมูลของรถ BYD ราคาแบตเตอรี่ของ ATTO 3 เริ่มต้น 528,730 บาท สำหรับรุ่น Standard Range และ 656,030 บาท สำหรับรุ่น Extended Range ซึ่งถือเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงมาก เป็นต้น
     
  • ศูนย์บริการและการซ่อมบำรุงมีจำกัด : เนื่องจากรถไฟฟ้าเพิ่งเริ่มเป็นที่นิยม มีข้อจำกัดเรื่องศูนย์บริการ และการซ่อมบำรุงอาจมีค่าใช้จ่ายสูงเนื่องจากต้องใช้ช่างที่มีความรู้ และความชำนาญเฉพาะทางเท่านั้น ทำให้ค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมก็จะสูงตามไปด้วย
 
4.ค่าไฟฟ้า
 
รถ EV เป็นรถที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า ผู้ใช้งานจำเป็นต้องมองหา และเตรียมแหล่งชาร์จไฟ เพื่อชาร์จอย่างสม่ำเสมอ หากมีการติดตั้งตู้ชาร์จที่บ้านอาจจะต้องมีการคำนวณค่าไฟในการชาร์จเพื่อความคุ้มค่า เช่น ชาร์จตามกำหนดเวลาคิดค่าไฟ ช่วง Off Peak เพื่อประหยัดค่าไป เป็นต้น โดยช่วงเวลา Off Peak เป็นช่วงเวลาที่ระบบมีความต้องการใช้ไฟฟ้าต่ำ คือ ตั้งแต่เวลา 22.00 น. ถึง 09.00 น. ในวันจันทร์ถึงวันศุกร์ และตั้งแต่เวลา 00.00 น. ถึง 24.00 น. ในวันเสาร์และวันอาทิตย์ วันแรงงานแห่งชาติ และวันหยุดราชการตามปกติ แต่ไม่รวมถึงวันพืชมงคล วันหยุดชดเชย และวันหยุดราชการเพิ่มเป็นกรณีพิเศษตามมติคณะรัฐมนตรี 
 
อัตราค่าไฟฟ้าสถานีอัดประจุไฟฟ้า สำหรับยานยนต์ไฟฟ้า
 
 
5.ค่าตู้ชาร์จ ค่าติดตั้ง และค่าไฟฟ้า
 
เพื่อความสะดวกในการใช้งานรถไฟฟ้า หลายคนที่ซื้อรถก็มักจะติดตั้งตู้ชาร์จที่บ้าน เนื่องจากสถานีชาร์จยังไม่ค่อยแพร่หลาย โดยในการติดตั้งจะมีทั้งแบบหัวชาร์จสำหรับไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) และแบบ หัวชาร์จสำหรับไฟฟ้ากระแสตรง (DC) ซึ่งส่วนมากที่ชาร์จตามบ้านจะเป็นแบบ AC หากต้องการติดตั้งจะต้องเตรียมความพร้อม เช่น ดำเนินการขอไฟเพิ่ม ติดตั้งตู้ควบคุม และเครื่องตัดไฟพร้อมระบบความปลอดภัยต่างๆ สำหรับรองรับการใช้งาน ซึ่งจะขึ้นอยู่กับไฟบ้านปัจจุบันที่ใช้งานอยู่ด้วย โดยทั่วไปราคาค่าติดตั้งเริ่มต้นที่ 40,000 - 90,000 บาท
 

สรุปแล้ว การคิดจะซื้อรถ EV สักคัน ก็เหมือนกับว่าเราต้องซื้อเทคโนโลยีใหม่ๆ เพิ่มเข้ามาด้วย ในช่วงแรกอาจจะมีค่าใช้จ่าย เพื่อเตรียมความพร้อมมากสักหน่อย แต่เราจะสามารถประหยัดในเรื่องของค่าน้ำมันได้แน่นอนค่ะ และนอกจากนี้การใช้รถไฟฟ้าก็เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วยนะคะ 
 
แท็กที่เกี่ยวข้อง รถไฟฟ้า ประกันรถ EV ซื้อรถ EV รถยนต์ไฟฟ้า MOTOR EXPO 2023 motor expo ซื้อรถ EV คันแรก ค่าใช้จ่ายในการออกรถ EV
Money Guru
เขียนโดย ชนานาถ จินตกสิกรรม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่



เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)