ยุคดอกเบี้ยปรับขึ้นบ่อย ๆ แบบนี้ สินเชื่อที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดก็คือ "สินเชื่อที่อยู่อาศัย" สินเชื่อสำหรับคนซื้อบ้านซื้อคอนโดนั่นเอง แล้วยิ่งใครที่โดนดอกเบี้ยแบบลอยตัว เงินที่ผ่อนไปทุกงวดก็ไปลงที่ดอกเบี้ยเต็ม ๆ เลยล่ะค่ะ แต่วิธียอดฮิตสำหรับคนที่ต้องการลดภาระผ่อนให้เบาลงก็คือ รีไฟแนนซ์ และ รีเทนชัน นั่นเอง แต่รู้มั้ยว่าจริง ๆ แล้ว 2 วิธียอดฮิตนี้อาจไม่ใช่ทางออกจริง ๆ ของเราก็ได้ แล้วต้องเลือกยังไงล่ะ สินเชื่อแบงก์ไหนดอกเบี้ยถูกเพื่อคนอยากลดภาระการผ่อนบ้านบ้าง... วันนี้พาไปรู้จักรีไฟแนนซ์และรีเทนชันให้มากขึ้นกว่าเดิมกันค่ะ
รีไฟแนนซ์ คืออะไร
คือ การเปลี่ยนสินเชื่อจากธนาคารเดิมเป็นธนาคารใหม่ โดยต้องยื่นกู้ ยื่นเอกสารใหม่เหมือนขอสินเชื่อบ้านใหม่ทั้งหมด ซึ่งมีโอกาสได้โปรโมชันพิเศษจากธนาคาร เช่น ดอกเบี้ยต่ำหรือดอกเบี้ยคงที่ 3 ปีแรก เป็นต้น
ข้อดี - ข้อเสีย ของรีไฟแนนซ์
1. ได้อัตราดอกเบี้ยถูกลง ซึ่งเมื่อดอกเบี้ยลดลง ยอดผ่อนก็นำไปหักเงินต้นได้มากขึ้น
2. สามารถเปลี่ยนโครงสร้างหนี้ เช่น เปลี่ยนจากการกู้ร่วม เป็นกู้คนเดียวก็ได้
3. สามารถขอเพิ่มระยะเวลาในการผ่อนได้ เมื่อจำนวนงวดเพิ่มขึ้น ก็จะช่วยให้ยอดผ่อนบ้านต่องวดถูกลงได้
4. ต้องเตรียมเอกสารสำหรับยื่นกู้ใหม่ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น เอกสารส่วนตัว, เอกสารรายได้ต่าง ๆ เพราะนี่คือการขอสินเชื่อใหม่อีกรอบนั่นเอง
6. มีค่าธรรเนียมยิบย่อย เพราะเป็นการขอสินเชื่อใหม่
5. คนที่มีหนี้สินเพิ่ม หรือมีประวัติเครดิตไม่ดี อาจยื่นขอสินเชื่อรีไฟแนนซ์ไม่ผ่าน
รีเทนชัน คืออะไร คือ การขอลดอัตราดอกเบี้ยกับธนาคารเดิมที่เรากำลังผ่อนอยู่นั่นเอง ซึ่งส่วนใหญ่ธนาคารจะอนุมัติลดอัตราดอกเบี้ยให้กับลูกค้าชั้นดี เช่น ลูกค้าที่ไม่เคยผิดนัดชำระมาก่อน แต่ว่าดอกเบี้ยใหม่ที่ไ่ด้รับอาจไม่ได้ต่ำเท่ากับการรีไฟแนนซ์
ข้อดี - ข้อเสีย ของรีเทนชัน
1. ไม่ต้องยุ่งยากทำเอกสาร ไม่ต้องยื่นเอกสารใหม่
2. ไม่ตรวจเครดิตบูโร
3. ค่าธรรมเนียมไม่แพง หรือบางธนาคารอาจยกเว้นค่าธรรมเนียมเพราะเป็นลูกค้าเก่า
4. อัตราดอกเบี้ยใหม่ที่ได้ อาจไม่ต่ำเท่ากับการรีไฟแนนซ์
เป็นอย่างไรกันบ้างคะ เข้าใจรีไฟแนนซ์และรีเทนชันมากขึ้นมั้ย... จริง ๆ แล้วแต่ละคนแต่ละเคสก็มีวิธีการลดยอดผ่อนต่างกันออกไปนะคะ หากลองคำนวณดูแล้วยอดผ่อนไม่ได้ลดลง หรือลดลงแค่นิดเดียว ก็อาจมองหาสินเชื่อหรือโปรโมชันจากหลาย ๆ แบงก์เพิ่มเติมนะคะ อย่าลืมว่า รีไฟแนนซ์ทำได้ทุก 3 ปี แต่ไม่ใช่ว่าต้องทำทุก ๆ 3 ปีนะคะ... นอกจาก 2 วิธีที่จะทำให้ปิดหนี้บ้านหนี้คอนโดได้เร็วขึ้นแล้ว ไปดูวิธีอื่นเพิ่มเติมกันดีกว่าค่ะ คลิกเลย
3 ทางเลือกของคนอยากเป็นเจ้าของบ้าน ทำแบบนี้ปิดหนี้ได้เร็ว
ขอบคุณข้อมูล : ธนาคารอาคารสงเคราะห์