"Blacklist" มีจริงมั๊ย ติดแล้ว แก้ไขได้หรือเปล่า

icon 19 ก.ย. 66 icon 2,432
"Blacklist" มีจริงมั๊ย ติดแล้ว แก้ไขได้หรือเปล่า
คนที่ติดเครดิตบูโร ส่วนใหญ่มักเกิดจากการใช้จ่ายที่ผิดพลาด จนไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนด ส่งผลให้มียอดหนี้ และดอกเบี้ยในอัตราที่สูงขึ้น ซึ่งข้อมูลหนี้หรือสถานะทางการเงินที่ระบุอยู่บนรายงานข้อมูลเครดิตที่จัดเก็บโดยเครดิตบูโร หลายคนเข้าใจว่าการไม่จ่ายหนี้จนติดประวัติค้างชำระจะเรียกว่า "ติดแบล็กลิสต์" แต่ในความเป็นจริงแล้ว "Blacklist" มีจริงมั๊ย ติดแล้ว แก้ไขได้หรือเปล่า?
เครดิตบูโร มีหน้าที่รวบรวมจัดเก็บข้อมูลเครดิต ประวัติการชำระหนี้จากสถาบันการเงินที่เป็นสมาชิกของเครดิตบูโร โดยจะแสดงข้อมูลว่าที่ผ่านมาผู้กู้เคยขอสินเชื่ออะไรบ้างในช่วงที่ผ่านมา รวมไปถึงจำนวนบัญชีสินเชื่อที่มี การชำระหนี้ตรงหรือไม่ มีการค้างชำระเกิดขึ้นหรือเปล่า จะไม่มีแจ้งและให้สถานะบัญชี Blcklist แก่ผู้กู้หรือลูกหนี้แต่อย่างใด ซึ่งข้อมูลที่จัดเก็บ ได้แก่
  • ข้อมูลส่วนบุคคล : ชื่อ-นามสกุล เลขบัตรประชาชน วันเดือนปีเกิด สถานภาพการสมรส ฯลฯ
  • ข้อมูลประวัติสินเชื่อ : ซึ่งก็คือ ข้อมูลบัญชีสินเชื่อทั้งหมด ประเภทและเลขบัญชีสินเชื่อ วงเงินที่ได้รับอนุมัติ และวงเงินที่ใช้ สถานะบัญชี ประวัติการชำระหนี้ที่ผ่านมา รวมไปถึงวันปิดบัญชี
ซึ่งในการจัดเก็บข้อมูลประวัติการชำระหนี้ เครดิตบูโรจัดเก็บตามความเป็นจริงที่สถาบันการเงินส่งข้อมูลมาที่เครดิตบูโร และไม่ได้มีหน้าที่ให้สถานะ "บัญชีดำ" หรือ "Blacklist" กับใครค่ะ หากลูกหนี้ชำระหนี้ตรงตามเวลาที่กำหนดก็จะแสดงประวัติชำระว่า "ไม่ค้างชำระ" แต่หากไม่ชำระตรงตามเวลาจะแสดงในประวัติว่า "ค้างชำระ" เท่านั้นค่ะ
 
ถ้าไม่ได้ติด Blacklist แล้วทำไมขอสินเชื่อไม่ผ่าน?

การขอสินเชื่อกับสถาบันการเงิน แล้วไม่ได้รับการอนุมัติ อาจเกิดจากหลายปัจจัย ตามเงื่อนไขหรือเกณฑ์ที่สถาบันการเงินแต่ละแห่งกำหนดใช้ ซึ่งเหตุผลส่วนใหญ่ที่ธนาคารไม่อนุมัติสินเชื่อ คือ  
 
1.  รายได้ต่ำกว่าเกณฑ์ รายได้ไม่แน่นอน หรืออาชีพไม่มั่นคง เป็นสาเหตุยอดนิยมที่มักถูกปฏิเสธสินเชื่อ ซึ่งเหตุผลนี้มักเกิดกับกลุ่มฟรีแลนซ์ซึ่งอาจมีรายได้ไม่สม่ำเสมอ ดังนั้นผู้ขอสินเชื่อจึงจำเป็นต้องมีเงินเข้าบัญชีเป็นประจำ ต่อเนื่องอย่างน้อย 6 เดือน เป็นต้น
 
2. ภาระหนี้รวม รายรับน้อยกว่ารายจ่าย โดยปกติธนาคารจะกำหนดให้ผู้ขอสินเชื่อควรมีภาระหนี้สินไม่เกิน 40% ของรายได้ เพื่อพิจารณาความสามารถในการผ่อนชำระ และเป็นการป้องกันการผิดนัดชำระหนี้ั่นเองค่ะ
 
3. ประวัติเครดิตบูโร ก่อนจะพิจารณาอนุมัติสินเชื่อธนาคารจะเช็กข้อมูลเครดิตบูโร ซึ่งหากเรามีประวัติค้างชำระในข้อมูลเครดิตบูโร อาจทำให้ยากต่ออนุมัติสินเชื่อ เนื่องจากขาดวินัยทางการเงินค่ะ ดังนั้นผู้ขอสินเชื่อควรชำระหนี้สินอย่างสม่ำเสมอ และตรงตามกำหนดเพื่อจะได้ไม่มีประวัติค้างชำระ และสร้างวินัยทางการเงินที่ดีนะคะ
 
หากตัดสินใจจะขอสินเชื่อ ก็มีเคล็ดลับที่จะทำให้อนุมัติได้แบบง่ายๆ กับ "3 เคล็ดลับต้องรู้ กู้ผ่านง่ายเว่อร์" จะมีอะไรบ้างตามมาดูกันเลยค่ะ ดูรายละเอียดเพิ่มเติม กู้ปุ๊บ อนุมัติปั๊บ กับ 3 เคล็บลับต้องรู้ ช่วยให้กู้ผ่านได้ง่ายๆ
 
ถ้าติดเครดิตบูโรแล้ว นานแค่ไหน สถานะทางบัญชีจึงจะกลับเป็นปกติ?

หากค้างชำระจนติดเครดิตบูโร และต่อมามีการดำเนินการชำระหนี้ปิดบัญชีเรียบร้อย ข้อมูลในเครดิตบูโรจะถูกจัดเก็บไม่เกิน 3 ปี นับจากวันที่ได้รับรายงานข้อมูลการปิดบัญชีจากสถาบันการเงินที่เป็นสมาชิกหลังจากนั้น เมื่อครบกำหนด 3 ปี บัญชีบัตรเครดิตดังกล่าวก็จะถูกลบออกไปจากฐานข้อมูลเครดิตบูโร โดยอัตโนมัติค่ะ
 
เช่น ถ้าเจ้าของข้อมูลมีบัตรเครดิตที่ค้างชำระในเดือนสิงหาคม และต่อมาได้จ่ายหนี้ และปิดบัญชีในเดือนกันยายน ข้อมูลเครดิตของเดือนกันยายนจะแสดงยอดหนี้เป็น 0 มีสถานะบัญชีเป็น "ปิดบัญชี" และแสดงข้อมูลอยู่ในเครดิตบูโรอีกไม่เกิน 3 ปีค่ะ เครดิตบูโรจะไม่สามารถลบข้อมูลบัญชีบัตรเครดิตได้ในทันทีที่ได้ ชำระหนี้เสร็จสิ้นปิดบัญชี
 
สรุปแล้ว Blacklist ไม่มีจริง เครดิตบูโรจะจัดเก็บข้อมูลตามความจริง หากผู้กู้ชำระหนี้แล้วสถานะก็จะเป็น "ปกติ" หรือ "ไม่ค้างชำระ" แต่ถ้ายังไม่ชำระก็จะเป็นสถานะ "ค้างชำระ" เท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นการชำระตรงตามกำหนดหรือไม่ก็ตาม ซึ่งถ้าเคลียร์หรือปิดบัญชีแล้วสถานะก็จะแสดงว่า "ปิดบัญชี" เพียงแต่ข้อมูลจะยังไม่ถูกลบออกไปจนกว่าจะถึงกำหนดที่กฎหมายให้เก็บนะคะ ซึ่งแนวทางแก้ไขหากติดเครดิตบูโร ก็คือ สร้างวินัยทางการเงินชำระหนี้อย่างสม่ำเสมอ และตรงตามกำหนดค่ะ :)
 
อ้างอิงข้อมูลจาก www.ncb.co.th
 
สอบถามข้อมูลรู้เรื่องการเงินอื่นๆ เพิ่มเติม ทักมาพูดคุยกับ GURU ได้ที่นี่!! https://page.line.me/uht3147t
แท็กที่เกี่ยวข้อง ขอสินเชื่อ ขอสินเชื่อยังไงให้อนุมัติง่าย เครดิตบูโร ติดเครดิตบูโร ประวัติสินเชื่อ เคล็ดลับขอสินเชื่อ
Money Guru
เขียนโดย ชนานาถ จินตกสิกรรม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)