นอกจาก "บัตรเครดิตดิจิทัล" ที่ตอนนี้บางสถาบันการเงินเริ่มออกผลิตภัณฑ์นี้มาใช้กันแล้ว และหลายคนน่าจะมีบัตรเครดิตดิจิทัลอยู่ในมืออย่างแน่นอน... เรารู้จักบัตรเครดิตดิจิทัลกันมาบ้างแล้ว วันนี้จะพาไปรู้จักธนาคารเสมือนจริง หรือธนาคารที่ดำเนินธุรกิจบนช่องทางดิจิทัล หรือ Virtual Bank กันบ้างค่ะ คืออะไร จำเป็นแค่ไหนในอนาคต
Virtual Bank คืออะไร
คือธนาคารเสมือนจริง เป็นธนาคารพาณิชย์ที่ไม่มีสาขาในโลกจริง และให้บริการผ่านช่องทางดิจิทัลทั้งหมด โดยส่วนใหญ่มีกลุ่มลูกค้าเป้าหมายเป็นลูกค้ารายย่อยหรือบุคคลทั่วไป และ SMEs
Virtual Bank ให้บริการยังไง
1. ไม่มีสาขาและตู้ ATM แต่มีสำนักงานใหญ่
2. ให้บริการผ่านช่องทางดิจิทัลเป็นหลัก
3. ต้นทุนดำเนินงานต่ำกว่าธนาคารพาณิชย์รูปแบบเดิม
4. ยืดหยุ่นกว่าธนาคารรูปแบบเดิม ออกนวัตกรรมทางการเงินรูปแบบได้อย่างรวดเร็ว
5. สร้างประสบการณ์การใช่บริการทางการเงินอย่างมีประสิทธิภาพ
6. มีบัญชีเงินฝากแบบไม่มีสมุดคู่ฝาก เจ้าของบัญชีสามาถแบ่งบัญชีออกเป็นบัญชีย่อยได้ตามวัตถุประสงค์ในการฝากเงิน
7. บัญชีเงินฝากจะได้รับดอกเบี้ยสูงก่วาเงินฝากทั่วไป และอาจได้รับดอกเบี้ยเป็นรายวัน
8. มี AI ช่วยแนะนำการออมและการใช้จ่ายให้เหมาะกับพฤติกรรมของเจ้าของบัญชี
9. เปิดบัญชีได้ง่ายๆ เพียงแค่มีสมาร์ทโฟน
10. ให้สินเชื่อโดยผู้กู้ไม่ต้องแสดงหลักฐานรายได้ อนุมัติสินเชื่ออย่างรวดเร็ว
11. มีบริการสำหรับผู้ประกอบ SMEs รายย่อย เช่น เชื่อมบัญชีเงินฝากกับระบบทำบัญชีออนไลน์
Virtual Bank ในประเทศไทย
ในประเทศไทยแม้จะมีบริการเปิดบัญชีออนไลน์แต่ส่วนใหญ่ยังต้องยืนยันตัวตนผ่านระบบ NDID หรือบางแห่งต้องยืนยันตัวตนที่ตู้ ATM หรือที่สาขาอีกครั้งหนึ่ง จึงจะสามารถเปิดบัญชีและใช้บริการต่างๆ ได้อย่างสมบูรณ์แบบื ส่วนที่ ธปท. กำลังสนับสนุนและผลักดัน Virtual Bank นั้น คือ มีขอบเขตการดำเนินธุรกิจเหมือนธนาคารดั้งเดิม อยู่ภายใต้การกำกับดูแลเหมือนธนาคารดั้งเดิม และจดทะเบียนจัดตั้งหรือมีสำนักงานใหญ่ในประเทศไทย เพื่อให้แบงก์ชาติกำกับดูแลการทำธุรกิจในไทยได้
แม้ตอนนี้ในประเทศไทย Virtual Bank ยังไม่ได้ถูกใช้อย่างแพร่หลายนัก และอยู่ในระหว่างการดำเนินการของทาง ธปท. ซึ่งแน่นอนว่า Virtual Bank ดีต่อนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ มีโอกาสในการเปิดธนาคารใหม่ในประเทศไทย รวมถึงเป็นการเพิ่มช่องทางในการเข้าถึงการบริการของธนาคารแก่ประชาชนทั่วไป ไปจนถึงการพัฒนานวัตกรรมการให้บริการทางการเงินอีกด้วย ก็ต้องติดตามกันต่อไปนะคะ ดูข้อมูลความรู้ด้านการเงินเพิ่มเติม
คลิกเลย
ขอบคุณข้อมูล : techsauce.co, springnews, workpointtoday