อิ่มจุกๆ จ่ายเงินแบบเจ็บๆ ราคาบุฟเฟ่ต์++ คืออะไร?

icon 29 ส.ค. 66 icon 30,906
อิ่มจุกๆ จ่ายเงินแบบเจ็บๆ ราคาบุฟเฟ่ต์++ คืออะไร?
เห็นโปรโมชันบุฟเฟ่ต์ราคาดีXXX++ ไลน์อาหารหลากหลายน่ากิน ถึงเวลากินก็กินกันจนอิ่มแบบจุกๆ แต่พอถึงเวลาจ่ายเงินก็เจ็บแบบจุกๆ ไม่ต่างกันเลยค่ะ กับราคา ++ ที่เจอมาหลายๆ ร้าน แต่ก็เหมือนเจ็บแล้วไม่จำ เพราะความหิวเป็นเหตุสังเกตได้ วันนี้…เราจะพามาดูกันว่า ราคา ++ ทั้งหลาย ร้านค้า หรือร้านอาหารเค้าบวกอะไร และทำไมต้องบวกด้วยนะ

1. ค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT 7%) 

ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax) หรือ VAT เป็นการเก็บภาษีจากการขายสินค้า หรือการให้บริการ ที่จัดเก็บโดยคำนวณมาจากมูลค่าของสินค้า หรือบริการนั้นๆ ถือเป็นภาษีทางอ้อม ที่ผู้ประกอบการจะเรียบเก็บจากผู้บริโภค โดยยอดภาษี (VAT) จะถูกบวกเพิ่มลงไปในราคาสินค้า ซึ่งเราสามารถสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจนจากใบกำกับภาษี หรือใบเสร็จที่เราได้รับจากร้านค้าตอนชำระเงินค่ะ

ผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จะมีหน้าที่เก็บรวบรวมภาษี แล้วนำไปส่งให้กับกรมสรรพากรเพื่อส่งเข้าสู่คลังของประเทศ สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายพัฒนาประเทศ
 
ในส่วนของการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ VAT สามารถแบ่งเป็น 2 แบบ คือ การคำนวณ VAT ใน และการคำนวณ VAT นอก ซึ่งทั้ง 2 แบบมีความแตกต่างกัน ดังนี้ 
 
1.1 วิธีคิด VAT ใน
 
VAT ใน หมายถึง ราคาขายสินค้านั้นมีการรวม VAT เอาไว้แล้ว หากต้องการรู้ราคาสินค้าหรือบริการจริงๆ ก่อนรวม VAT หรือต้องการคำนวณหาว่า VAT ของสินค้านั้นเท่ากับกี่บาท มีวิธีคิดดังนี้
 
 
ตัวอย่างเช่น หากราคาขายสินค้าเท่ากับ 100 บาท และในยอดขาย 100 บาท + VAT 7% เอาไว้แล้ว สามารถหาราคาสินค้าก่อนรวม VAT หาคำนวณหา VAT ได้ดังนี้

คำนวณตามสูตรข้างต้น จะได้ [100 x (100 / 107) = 93.46] หมายถึงว่า ในราคาขายสินค้า 100 บาท คิดเป็นราคาก่อนรวม VAT 93.46 บาท และคิดเป็นภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) (100 - 93.46) = 6.54 บาท
 
1.2 วิธีคิด VAT นอก
 
VAT นอก หมายถึง ราคาขายที่ตั้งไว้ยังไม่ได้รวม VAT หากต้องการหาราคาสินค้าหรือบริการนั้นๆ ต้องการนำราคาสินค้าที่ถูกตั้งราคาแล้ว มาคำนวณ VAT เพิ่มเข้าไป
 
 
ตัวอย่างเช่น ราคาสินค้าที่ตั้งราคาไว้ 100 บาท ต้องการคำนวณหาราคาสินค้ารวม VAT 7% สามารถคำนวณหาได้ดังนี้

คำนวณตามสูตรข้างต้น [100 + (7 / 100) = 107] หมายถึงว่า ราคาขายของสินค้านั้นเมื่อรวม VAT แล้ว คือ 107 บาท เป็นราคาก่อน VAT 100 บาท เป็นภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) (107 - 100) = 7 บาท

2. ค่าบริการ (Service Charge 10%)

ค่าบริการ (Service Charge) คือ ค่าบริการที่ผู้ประกอบการคิดเพิ่มกับผู้บริโภคที่เข้ามาใช้บริการ โดยปกติจะคิดไม่เกิน 10% ตามหลักสากลที่ยอมรับกันได้ แต่ต้องมีการแจ้งให้ทราบอย่างชัดเจนว่าจะมีการเรียกเก็บ และเมื่อมีการเรียกเก็บค่าบริการ (Service Charge) ผู้ใช้บริการก็มักจะคาดหวังว่าจะได้รับบริการที่ดี สมกับราคาที่ต้องจ่ายออกไป 
 
คำนวณเงินตามบิลเรียกเก็บ VAT + Service Charge รวมแล้วเป็น 17% จริงหรือไม่? 
 
จากประสบการณ์ที่เคยพบมาในการคิดราคาแบบ "บวก บวก" ร้านค้ามักจะคิดค่าบริการรวมกับค่าอาหารก่อนแล้วจึงค่อยคิดภาษีมูลค่าเพิ่มรวมเข้าไปอีกครั้ง
 
 
ตัวอย่างเช่น ราคาสินค้า 100 บาทจะบวกค่าบริการ (Service Charge) 10% แล้วบวก VAT เพิ่ม 7% [{(100+(100x10%)}+(100x7%)] = 117.7 บาท เห็นได้ชัดเจนว่า จากราคาสินค้า 100 บาท พอถึงเวลาจ่ายจริง กลับถูกบวกเพิ่มไปอีก 17.7 บาท หรือคิดเป็น 17.7% ไม่ใช่ 17% อย่างที่หลายคนเข้าใจนะคะ
 
ทีนี้เราลองมาคำนวณราคาบุฟเฟ่ต์ 549++ กันค่ะ ว่าเมื่อถึงเวลาจ่ายเงินในบิลเรียกเก็บจะคิดเงินเท่าไหร่
 
ราคาที่ต้องจ่ายจริง = {549 + (10%)} + 7% = 646.17 บาท 
 
สรุปแล้วราคาที่ต้องจ่ายจริง บวกเพิ่มไปอีก 97.17 บาทเลยล่ะค่ะ ดังนั้นหากเห็นราคาที่มี ++ ก็ลองคำนวณดูให้ดีก่อนนะคะว่าสรุปสุดท้ายแล้วเราจะต้องจ่ายเงินเป็นจำนวนเท่าใดกันแน่
 
ใครสายบุฟเฟต์ รู้เรื่องราคากันแล้ว แวะมาเช็กโปรโมชันบุฟเฟ่ต์โรงแรมผ่านบัตรเครดิต แจ่มๆ กันตรงนี้ก่อนเลย >> https://bit.ly/3E5F983
 
 
สอบถามข้อมูลรู้เรื่องการเงินอื่นๆ เพิ่มเติม ทักมาพูดคุยกับ GURU ได้ที่นี่!! https://page.line.me/uht3147t 
แท็กที่เกี่ยวข้อง บทความการเงิน 2566 โปรโมชันบัตรเครดิต โปรโมชันบุฟเฟ่ต์ ภาษีมูลค่าเพิ่ม VAT นอก VAT ใน ค่าบริการ Service Charge วิธีการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม
Money Guru
เขียนโดย ชนานาถ จินตกสิกรรม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)