ติดบ่วง "หนี้เลว" แก้ได้

icon 22 ส.ค. 66 icon 2,305
ติดบ่วง "หนี้เลว" แก้ได้
หนี้ครัวเรือน เป็นปัญหาคู่สังคมไทยที่หลายคนคงคุ้นหูกันอยู่แล้ว และข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย ระบุว่า 1 ใน 3 ของคนไทยมีหนี้ โดยมีสัดส่วนคนที่มีหนี้เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ 57% ของคนไทยมีหนี้เกิน 100,000 บาท และ 32% ของคนไทยมีหนี้ 4 บัญชีขึ้นไป ซึ่งก็ถือเป็นเรื่องปกติทั่วไป ที่ใครๆ ก็มีหนี้ถูกมั๊ยคะ แต่ประเด็นสำคัญอยู่ที่ "หนี้" ที่เรามีอยู่ ถูกจัดเป็นหนี้กลุ่มไหน "หนี้ดี" หรือ "หนี้เลว" และหากติดบ่วงหนี้เลวแล้ว เราจะหาทางออกได้อย่างไร?  
 
รู้จักประเภทหนี้
 
หนี้ ถูกจัดแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ หนี้ดี และหนี้เลว และแต่ละกลุ่มประกอบด้วยหนี้อะไรบ้าง มาทำความรู้จักกันก่อนเลยค่ะ
หนี้ดี เป็นหนี้ที่ก่อให้เกิดรายได้ เช่น หนี้เพื่อการศึกษา เพื่อสร้างโอกาสที่จะมีการงาน และอาชีพที่ดีในอนาคต หนี้เพื่อการประกอบอาชีพ กู้เงินเพื่อประกอบธุรกิจ หรือเป็นเงินหมุนเวียนในกิจการงานค้า กู้เงินซื้อรถตามความเหมาะสมเพิ่มประกอบธุรกิจ หรือหารายได้ หรือหนี้เพื่อความมั่นคงในระยะยาว กู้เงินซื้อบ้าน เป็นต้น
 
หนี้เลว เป็นหนี้ที่เกิดจากการกู้ยืมเพื่อการบริโภค โดยไม่ทำให้เกิดรายได้ เช่น การกู้ซื้อรถ ที่มีราคาแพง และเกินกำลังจะผ่อนไหว การกู้ยืมเงินไปใช้จ่ายเพื่อความสะดวกสบาย ท่องเที่ยว หรือแม้แต่หนี้บัตรเครดิต ที่ใช้จ่ายจนเกินตัว เกินพอดี จนจ่ายคืนไม่ไหว รวมถึงหนี้พนัน หนี้นอกระบบดอกเบี้ยโหด ก็ถือเป็นหนี้เลวเช่นกันค่ะ เพราะหนี้เหล่านี้ เกิดขึ้นเพื่อสร้างความสุขเพียงชั่วคราว ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือไม่ก่อประโยชน์ในอนาคต และยังทำให้สถานะการเงินของเราไม่มั่นคงอีกด้วย
 
ตัวอย่างกรณีติดบ่วงหนี้นอกระบบดอกเบี้ยสูง
 
ใครที่คิดจะกู้นอกระบบด้วยเหตุผลเพราะเงินกู้นอกระบบคิดดอกเบี้ยน้อย เป็นรายวัน น่าจะจ่ายคืนได้ง่ายๆ เราลองมาคำนวณกันดูนะคะว่า ดอกเบี้ยที่ว่าน้อยตามใบประกาศโฆษณา เมื่อคิดดอกเบี้ยจริงๆ แล้ว เราต้องเสียดอกเบี้ยต่อปีเป็นเท่าไหร่ และทำไมคนที่กู้เงินนอกระบบถึงติดบ่วงหนี้จนหาทางออกไม่ได้เกือบทุกราย
 
ตัวอย่าง ป้าละมัยกู้เงินนอกระบบเพื่อมาใช้จ่ายภายในบ้านเป็นเงิน 10,000 บาท โดยมีข้อกำหนดว่าต้องจ่ายคืนวันละ 150 บาท เป็นเวลา 3 เดือน แท้จริงแล้วเจ้าหนี้เงินกู้คิดดอกเบี้ยเท่าไหร่ คำนวณได้ ดังนี้ค่ะ
 
เห็นได้ว่า ป้าละมัยกู้เงินเพียง 10,000 บาท และจ่ายคืนเป็นรายวันเพียงวันละ 150 บาท เมื่อคิดดอกเบี้ยต่อปีแล้ว ป้าละมัยต้องเสียดอกเบี้ยถึง 140% ต่อปี เลยค่ะ แล้วแบบนี้หากป้าละมัยไม่จ่ายชำระตามกำหนด แล้วเจ้าหนี้คิดดอกเบี้ยแบบทบต้นเข้าไปอีก ป้าละมัยจะต้องเป็นหนี้ก้อนหนี้แบบยืดเยื้อมากกว่า 3 เดือน และดอกเบี้ยก็จะยิ่งเพิ่มขึ้นๆ ไปเรื่อยๆ แน่นอนค่ะ รู้แบบนี้แล้วก็ไม่แปลกใจเลยที่ทำไมเวลาคนกู้เงินนอกระบบแล้วสุดท้ายจ่ายคืนไม่ไหวจนกลายเป็นดินพอกหางหมูไปเรื่อยๆ แล้วหากเราติดบ่วงหนี้แบบนี้แล้วจะหาทางออกยังไงได้บ้าง ไปดูกันค่ะ 
 
ติดบ่วงหนี้เลว แก้ยังไงดี?
 
หากเราติดบ่วงหนี้เลว หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ แถมยังทำให้สถานะการเงินของเราไม่มั่นคง เราจะมีทางออกยังไงได้บ้าง 
  1. รวบรวมหนี้ โดยการทำลิสต์รายการหนี้สินทั้งหมด ว่ามีหนี้อะไร ยอดหนี้เท่าไหร่ ชำระต่อเนื่อง หรือค้างชำระมานานแค่ไหน 
     
  2. จัดระเบียบหนี้ เราต้องแยกว่าหนี้ที่มีว่าหนี้ไหนเป็นหนี้ดี หนี้เลว และควรจัดการหนี้ดอกเบี้ยสูง หรือหนี้เลว ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ และบั่นทอนสถานะทางการเงินของเราก่อนเป็นลำดับแรก
     
  3. ไม่ก่อหนี้เพิ่ม ควรงดรายจ่ายฟุ่มเฟือย และไม่ก่อหนี้ใหม่ๆ เพิ่มเข้ามาอีก และพยายามนำเงินที่มีไปจ่ายชำระหนี้ให้ได้มากที่สุด ก็จะทำให้หมดหนี้ได้เร็วขึ้น 
     
  4. อย่าผิดนัดชำระหนี้  หากเป็นหนี้แล้ว ควรชำระหนี้ให้ตรงตามกำหนด และครบถ้วน เพราะหากชำระล่าช้า อาจต้องเสียค่าปรับ ค่าธรรมเนียม หรือค่าใช้จ่ายในการติดตามทวงถามหนี้เพิ่มเติมอีกได้
สรุปแล้ว...การมีหนี้ไม่ใช่เรื่องที่ผิด แต่เราควรบริหารจัดการการเงิน และหนี้ ให้ดี โดยอาจมีการกำหนดสัดส่วนในการเป็นหนี้ เนื่องจากคนเราไม่ควรเป็นหนี้เกิน 40% ของรายได้ เพราะจะทำให้เราไม่มีเงินพอจ่ายในชีวิตประจำวัน ดังนั้น หากเรารู้จักวางแผนเรื่องการเงินด้วยวิธีการจดบัญชีรายรับรายจ่ายของตัวเองอย่างเป็นประจำสม่ำเสมอ วางงบประมาณการใช้จ่ายของตัวเอง กำหนดเป้าหมายชีวิตให้ชัดเจน และมีวินัยที่ดีในด้านการเงิน เราก็จะสามารถหลีกเลี่ยงไม่ติดบ่วงหนี้เลวได้นะคะ 
 
สอบถามข้อมูลรู้เรื่องการเงินอื่นๆ เพิ่มเติม ทักมาพูดคุยกับ GURU ได้ที่นี่!! https://page.line.me/uht3147t 
แท็กที่เกี่ยวข้อง บทความการเงิน 2566 กับดักหนี้ หนี้ดี หนี้เลว ทางออกของคนเป็นหนี้ การบริหารจัดการหนี้
Money Guru
เขียนโดย ชนานาถ จินตกสิกรรม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)