ตัวเลข 72 บอกได้ ลงทุนเท่าไหร่ ใช้เวลากี่ปี จะได้ผลตอบแทน 2 เท่า

icon 10 ส.ค. 66 icon 32,162
ตัวเลข 72 บอกได้ ลงทุนเท่าไหร่ ใช้เวลากี่ปี จะได้ผลตอบแทน 2 เท่า
การตั้งเป้าหมายการเงิน ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนในหุ้น กองทุน หรือการเก็บออมโดยฝากเงินไว้ในบัญชีเงินฝากดิจิทัล หรือบัญชีเงินฝากประจำ ทุกคนต่างก็มีวัตถุประสงค์ที่จะได้ผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้น วันนี้เรามีวิธีคิดง่ายๆ ที่จะให้คุณสามารถคาดการณ์ล่วงหน้าว่า เป้าหมายทางการเงินของคุณต้องใช้ระยะเวลาเท่าไหร่ และต้องได้ผลตอบแทนเท่าใด ถึงจะทำเงินเพิ่มได้เป็น 2 เท่า โดยใช้กฎตัวเลข 72 มาฝากกันค่ะ 

กฎตัวเลข 72

กฎตัวเลข 72 หรือ Rule of 72 เป็นสูตรการคำนวณแบบง่าย ที่ใช้ประมาณการผลตอบแทนว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า ต้องใช้ระยะเวลาเท่าใด หรือ ต้องได้ผลตอบแทนเท่าไหร่

กฎตัวเลข 72 กับการคำนวณเงินออม หรือเงินลงทุน  

นาย A ฝากเงินไว้ในบัญชีเงินฝากดิจิทัล 100,000 บาท อัตราดอกเบี้ย 1.50% ต่อปี นาย A ต้องฝากเงินเป็นระยะเวลากี่ปี ถึงจะมีเงินเพิ่มเป็น 2 เท่า 

สูตร : จำนวนปี (ที่เงินลงทุน หรือเงินออมจะกลายเป็น 2 เท่า) = 72 / อัตราผลตอบแทนต่อปี (%)
 
ดังนั้น นาย A ต้องฝากเงินไว้ (72 / 1.50) = 48 ปี ถึงจะมีเงินเพิ่มเป็น 2 เท่า
จากตัวอย่างการคำนวณ นาย A ต้องใช้เวลาถึง 48 ปี ในการฝากเงินไว้ในบัญชีเงินฝากดิจิทัล เพื่อที่จะให้เงินฝาก 100,000 บาท เพิ่มเป็น 200,000บาท (2 เท่า) แล้วหากนาย A ต้องการย่นระยะเวลาที่จะให้เงินฝากเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า ให้เหลือเพียง 5 ปี นาย A ควรฝากเงิน หรือนำเงินก้อนนี้ไปลงทุนที่ได้ผลตอบแทนเท่าไหร่   
 
สูตร : อัตราผลตอบแทน (ที่จะทำให้เงินลงทุน หรือเงินออมจะกลายเป็น 2 เท่า) =  72/ ระยะเวลาการลงทุนหรือการออม (ปี)
 
ดังนั้น นาย A ต้องลงทุนที่ได้ผลตอบแทน (72/5) = 14.4% ต่อปี นาย A จะใช้ระยะเวลาเพียง 5 ปี เงินลงทุนก็จะเพิ่มเป็น 2 เท่า
 
 
 
จากการคำนวณนี้ เมื่อเราทราบอัตราผลตอบแทน เราจะสามารถรู้ได้ว่า เราจะใช้ระยะเวลาเท่าไหร่ที่จะทำให้เงินโตขึ้นเป็น 2 เท่า ยิ่งเราได้ผลตอบแทนสูงเท่าไหร่ ระยะเวลาที่เงินจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าก็จะน้อยลงเท่านั้นนะคะ

กฎตัวเลข 72 กับการคำนวณเงินกู้

นอกจากเราจะสามารถใช้ กฎตัวเลข 72 ประมาณการผลตอบแทนจากการลงทุน หรือการออมแล้ว เรายังสามารถนำมาใช้กับการคิดหนี้เงินกู้ได้ ดังนี้ค่ะ 
 
นาย B มีหนี้บัตรเครดิต 100,000 บาท ธนาคารคิดดอกเบี้ยอยู่ที่ 16% หากนาย B ไม่ชำระหนี้เลย หนี้ของนาย B จะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าในระยะเวลาเท่าใด 
 
สูตร : จำนวนปี (ที่เงินต้นที่กดจากบัตรกดเงินสด จะเพิ่มกลายเป็น 2 เท่า) = 72 / อัตราดอกเบี้ยต่อปี (%)
 
ดังนั้น นาย B จะมีหนี้เพิ่มเป็น 2 เท่า หากไม่ชำระหนี้เลยภายในระยะเวลา (72/16) =  4.5 ปี
 

เห็นตัวเลขแบบนี้แล้ว เราควรต้องตระหนักให้ดีว่า การเก็บออม หรือการลงทุน กว่าจะได้เงินเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าต้องใช้ระยะเวลาค่อนข้างยาวนาน แต่หากเป็นเงินกู้ที่เราเพิกเฉย ไม่ยอมชำระหนี้แล้ว เงินต้นจะทบขึ้นมาเป็นเท่าตัวอย่างรวดเร็ว และจะยิ่งทำให้เราติดบ่วงหนี้จนหาทางออกไม่เจอก็เป็นได้
 
ดังนั้น เราควรรู้จักวางแผนการเงิน ทั้งในเรื่องการออม การลงทุน โดยเลือกออม หรือลงทุนกับผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ให้ผลตอบแทนได้ตามที่เราต้องการ หรือควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญก่อนตัดสินใจลงทุน ส่วนในเรื่องของการกู้ยืมเงิน หรือใช้จ่ายบัตรเครดิตก็ควรคิดอย่างรอบคอบ ก่อหนี้เท่าที่จำเป็น และผ่อนชำระให้ตรงตามกำหนด ก็จะทำให้เราสามารถเข้าสู่เป้าหมายทางการเงินได้ตามที่วางแผนเอาไว้นะคะ

สอบถามข้อมูลรู้เรื่องการเงินอื่นๆ เพิ่มเติม ทักมาพูดคุยกับ GURU ได้ที่นี่!! https://page.line.me/uht3147t 
แท็กที่เกี่ยวข้อง บทความการเงิน 2566 ตั้งเป้าหมายการเงิน วางแผนการเงิน กฎตัวเลข 72 เคล็ดลับบริหารเงิน เรื่องต้องรู้ของคนมีเงิน เรื่องต้องรู้ของคนมีหนี้ บัญชีเงินฝากดิจิทัล
Money Guru
เขียนโดย ชนานาถ จินตกสิกรรม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่



เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)