จ่ายหนี้บัตรเครดิตขั้นต่ำ กับดักสู่วงจรการเป็นหนี้

icon 5 ก.ค. 66 icon 12,484
จ่ายหนี้บัตรเครดิตขั้นต่ำ กับดักสู่วงจรการเป็นหนี้
ก่อนตัดสินใจสมัครบัตรเครดิต ทุกคนคงเลือกเปรียบเทียบบัตรเครดิตกันมาแล้ว ว่าบัตรเครดิตแบงก์ไหนดี เหมาะกับไลฟ์สไตล์ของตัวเองมากที่สุด และเมื่อสมัครบัตรเครดิตได้ตามที่ต้องการแล้ว หากใช้จ่ายไม่ระมัดระวัง ก็อาจนำพาไปสู่กับดักวงจรหนี้ได้นะคะ เนื่องจากไลฟ์สไตล์ และพฤติกรรมการใช้เงินของคนรุ่นใหม่ รวมถึงการเข้าถึงธุรกรรมการเงินที่ง่าย สะดวกรวดเร็วมากขึ้น อาจทำให้เราก่อหนี้ได้ง่ายขึ้นโดยไม่รู้ตัว และเมื่อใช้จ่ายแบบไม่ระมัดระวัง สุดท้ายก็กลายเป็นการก่อหนี้ จนไม่สามารถบริหารจัดการการเงินได้ทัน โดยเฉพาะหนี้บัตรเครดิตที่เมื่อถึงเวลามีแจ้งเตือนว่าถึงวันครบกำหนดชำระ จะมีแจ้งยอดพร้อมระบุขั้นต่ำที่ต้องจ่ายในงวดนั้นๆ หลายคนก็มักจะเลือกจ่ายขั้นต่ำแทนที่จ่ายแบบเต็มจำนวน เพราะจะได้นำเงินสดไปใช้หมุนเวียนอย่างอื่น โดยที่ไม่ได้ฉุกคิดเลยว่าเริ่มต้นที่จะจ่ายขั้นต่ำ กำลังจะพาเราก้าวเข้าสู่วงจรหนี้โดยไม่รู้ตัวค่ะ เพราะจะเกิดดอกเบี้ยบัตรเครดิตจากยอดที่ค้างชำระ และหากทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ  สุดท้ายอาจจะหาทางออกไม่เจอก็เป็นได้
 
ดอกเบี้ยบัตรเครดิต เกิดขึ้นเมื่อไหร่?
 
โดยปกติแล้วการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต จะมีระยะเวลาปลอดดอกเบี้ยประมาณ 45 - 55 วันแล้วแต่ธนาคาร หรือบริษัทบัตรเครดิตจะกำหนด ซึ่งหากเราสามารถชำระคืนได้ตรงตามกำหนด เราก็ไม่ต้องเสียดอกเบี้ยค่ะ แล้วดอกเบี้ยบัตรเครดิตจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่?
 
บริษัทผู้ออกบัตรจะสามารถเรียกเก็บดอกเบี้ย และค่าธรรมเนียม รวมกันได้ไม่เกิน 16% ต่อปี โดยดอกเบี้ยบัตรเครดิตจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อ
 
1. มีการชำระไม่เต็มจำนวนภายในวันที่กำหนดหรือชำระล่าช้า ผู้ออกบัตรสามารถคิดดอกเบี้ยตามการใช้จ่ายตั้งแต่วันที่ผู้ออกบัตรได้สำรองจ่ายให้ร้านค้า (วันที่บันทึกรายการ) หรือตั้งแต่วันที่สรุปยอดรายการใช้จ่าย หรือตั้งแต่วันที่ครบกำหนดชำระก็ได้ แต่โดยทั่วไปจะเริ่มคิดตั้งแต่วันที่ผู้ออกบัตรสำรองจ่ายเงินให้แก่ร้านค้า (วันที่บันทึกรายการ) ซึ่งจะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ
 
  • คิดเต็มจำนวนจาก "ยอดใช้จ่ายทั้งหมด" ตั้งแต่วันที่บันทึกรายการ จนถึงวันสรุปยอดค่าใช้จ่าย (ก่อนครบกำหนดชำระเงิน)
  • คิดจาก "ยอดคงค้าง" (หักส่วนที่ชำระแล้วออก) นับตั้งแต่วันที่ชำระขั้นต่ำ จนถึงวันสรุปยอดเดือนถัดไป
2. มีการเบิกถอนเงินสด โดยจะเริ่มคิดคำนวณดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่เบิกถอนเงินสดออกมา และมีค่าธรรมเนียมในการเบิกถอนเพิ่มเติมอีก 3% ของวงเงิน รวมถึงจะไม่มีระยะเวลาปลอดดอกเบี้ยเหมือนการรูดซื้อสินค้าค่ะ ดังนั้นดอกเบี้ยก็จะเริ่มคิดตั้งแต่วันที่เรากดเงินสดออกมานะคะ
 
3. การเลือกผ่อนชำระแบบมีดอกเบี้ย (ยกเว้นกรณีที่เป็นการผ่อนสินค้า 0%) เช่น เมื่อมีการรูดซื้อสินค้าใดๆ และต้องการทำเป็นยอดแบ่งชำระ สามารถเข้าไปเลือกทำรายการแบ่งชำระผ่านแอปพลิเคชันธนาคารได้ด้วยตนเอง หรืออาจจะโทรเข้าไปดำเนินการผ่าน Call Center โดยการแบ่งชำระดังกล่าว จะมีดอกเบี้ยเกิดขึ้น เช่น 0.59% หรือ 0.74% ต่อเดือน แล้วแต่เงื่อนไขของธนาคาร หรือบริษัทบัตรเครดิตกำหนด เป็นต้น 
 
ตัวอย่างการคำนวณดอกเบี้ยบัตรเครดิต 
 
1. การคิดดอกเบี้ยกรณีจ่ายขั้นต่ำ หรือจ่ายไม่เต็มจำนวน 
 
 
หากคุณใช้บัตรเครดิตรูดซื้อรองเท้าแบรนด์เนมราคา 30,000 บาท ในวันที่ 1 พฤษภาคม 2566 สรุปยอดใช้จ่ายทุกวันที่ 25 ของเดือน (25 พฤษภาคม) กำหนดชำระวันที่ 10 มิถุนายน 2566 โดยเมื่อถึงกำหนดชำระคุณจ่ายขั้นต่ำ 10% (3,000 บาท) 
 
ในรอบบิลถัดไปวันที่สรุปยอด 25 มิถุนายน 2566 จะถูกคิดดอกเบี้ย ดังนี้
 
(1.) จากยอดใช้จ่ายทั้งหมด (จำนวนที่รูดซื้อสินค้า 30,000 บาท)
 
คำนวณจากวันที่ 1 - 25 พ.ค. 66 (25 วัน) => (30,000 x 16% x 25 / 365) = 328.77 บาท
 
(2.) จากยอดคงค้าง (27,000 บาท)
 
คำนวณจากวันที่ 10 มิ.ย. - 25 มิ.ย. 66 (16 วัน) => (27,000 x 16% x 16 / 365) = 189.37 บาท
 
ดังนั้นยอดเรียกเก็บในวันที่ 10 ก.ค. 66 คือ 27,000 + 328.77 + 189.37 = 27,518.14 บาท
 
สรุปว่ามียอดดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายสำหรับรอบบิลนี้ (27,518.14 - 27,000 = 518.14 บาท)

2. การคิดดอกเบี้ยกรณีจ่ายล่าช้า
 
 
หากคุณใช้บัตรเครดิตรูดซื้อกระเป๋าแบรนด์เนมราคา 180,000 บาท ในวันที่ 2 พฤษภาคม 2566 ครบกำหนดชำระวันที่ 15 มิถุนายน 2566 แต่คุณไม่ได้ชำระหนี้ตามวันกำหนด แต่ไปชำระวันที่ 30 มิถุนายน 2566 แทน 
 
กรณีนี้ ธนาคาร หรือบริษัทบัตรเครดิตจะเริ่มคิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ 2 พฤษภาคม 2566 (วันที่ทำรายการซื้อสินค้า) ดังนั้น คุณจะต้องเสียดอกเบี้ยทั้งสิ้น 60 วัน 

(1.) ยอดเรียกเก็บ 180,000 บาท

(2.) ดอกเบี้ยจำนวน 60 วัน [180,000 x 16% x (60 / 365)] เท่ากับ 4,734 บาท
 
สรุปยอดที่ต้องชำระทั้งสิ้น (180,000 + 4,734) = 184,734 บาท

จากตัวอย่างการคำนวณข้างต้นเห็นได้ว่า ไม่ว่าคุณจะจ่ายบัตรเครดิตขั้นต่ำ หรือจ่ายล่าช้า ทั้ง 2 วิธีก็มีดอกเบี้ยเกิดขึ้นทั้งนั้นค่ะ และหากคุณไม่อยากติดกับดักวงจรหนี้ ควรหลีกเลี่ยงวิธีการที่จะก่อให้เกิดดอกเบี้ย คือ ควรมีวินัยในการชำระเงิน จ่ายชำระหนี้ให้ครบ และตรงตามระยะเวลาที่กำหนด เท่านี้ ก็จะช่วยให้คุณใช้บัตรเครดิตได้เกิดประโยชน์แล้วค่ะ 
 
อยากสอบถามข้อมูลความรู้เรื่องบัตรเครดิต หรือเรื่องการเงินอื่นๆ เพิ่มเติม ทักมาพูดคุยกับ GURU ได้ที่นี่!! https://page.line.me/uht3147t
แท็กที่เกี่ยวข้อง บทความบัตรเครดิต 2566 หนี้บัตรเครดิต เปรียบเทียบบัตรเครดิต สมัครบัตรเครดิต บัตรเครดิตแบงค์ไหนดี วงจรหนี้ ดอกเบี้ยบัตรเครดิต
Money Guru
เขียนโดย ชนานาถ จินตกสิกรรม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)